สนสามใบ
สปีชีส์ของพืช
สนสามใบ หรือ เกี๊ยะแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pinus kesiya; ภาษากะเหรี่ยงเรียก โชบอ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลแดง หลุดออกเป็นเกล็ด ใบเดี่ยวเป็นกระจุก สีเขียวอ่อนกระจุกละสามใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกลุ่ม เมื่ออ่อนเป็นสีเหลืองซีด แก่แล้วเป็นสีม่วง โคนตัวเมียสีม่วงอมเขียว เป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเวียน แต่ละเกล็ดมีกาบรองรับ แต่ละกาบมี 2 โอวุลโคยตัวเมียที่เจริญเต็มที่เป็นรูปกรวย เมล็ดมีครีบสีขาวบางเป็นปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน
สนสามใบ | |
---|---|
สนสามใบที่ Benguet ประเทศฟิลิปปินส์ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | Gymnosperms Gymnosperms |
หมวด: | Pinophyta Pinophyta |
ชั้น: | Pinopsida Pinopsida |
อันดับ: | Pinales Pinales |
วงศ์: | วงศ์สนเขา Pinaceae |
สกุล: | Pinus Pinus |
สกุลย่อย: | P. subg. Pinus Pinus subg. Pinus |
ส่วน: | P. sect. Pinus Pinus sect. Pinus |
ส่วนย่อย: | P. subsect. Pinus Pinus subsect. Pinus Royle ex Gordon |
สปีชีส์: | Pinus kesiya |
ชื่อทวินาม | |
Pinus kesiya Royle ex Gordon |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Farjon, A. (2013). "Pinus kesiya". IUCN Red List of Threatened Species. 2013: e.T42372A2975925. doi:10.2305/IUCN.UK.2013-1.RLTS.T42372A2975925.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ. 2551. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 271 หน้า. ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สนสามใบ
- Gymnosperm Database: Pinus kesiya
- Suitability of Pinus kesiya for tree-ring analyses
- "Luzon Tropical Forests". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund.