สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นองค์การมหาชน[3] ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พุทธศักราช 2540[4] ให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระ อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจสำคัญคือ การพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่กิจกรรมการวัดต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย
National Institute of Metrology (Thailand) | |
ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน | |
ภาพรวมสถาบัน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2541 |
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | 3/4-5 หมู่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 14°02′36″N 100°42′50″E / 14.043285°N 100.713891°E |
บุคลากร | 245 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 417,346,500 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสถาบัน |
|
ต้นสังกัดสถาบัน | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสถาบัน |
สถาบันเริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2541 โดยมีที่ทำการชั่วคราว ณ อาคารมาตรวิทยาและศูนย์สารนิเทศวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 6 ปัจจุบันมีสำนักงานและห้องปฏิบัติการ ตั้งอยู่ ณ เทคโนธานี คลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอาคารห้องปฏิบัติการเสียงและการสั่นสะเทือน ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร
ผู้บริหาร
แก้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พลตำรวจโท พรชัย สุธีรคุณ[5]ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โดยมี ดร.จรัญ ยะฝา และ ร้อยโท อุทัย นรนิ่ม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และมีผู้จัดการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติสองราย ได้แก่นาย เจนณิพัฒน์ ยะอนันต์ และนางสาว พริมา เกิดอุดม
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานประจำปี 2566 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
- ↑ พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ [1] เก็บถาวร 2019-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 28 ก.พ. 2566