สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ (อังกฤษ: Institute of Vocational education : Northeastern Region 3) เป็นสถาบันอุดมศึกษา ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่ม (จังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์) กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีศูนย์กลางที่อยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคมหาสาคาม จังหวัดมหาสารคาม

สถาบันการอาชีวศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
ชื่อย่อสอฉ.๓ / IVENE 3
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาปนา2557
นายกสภาฯดร.เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้
ที่ตั้ง
ศูนย์กลางเทคนิคมหาสารคาม
เลขที่ 460 ถนนนครสวรรค์
ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม 44000
วิทยาเขต
เว็บไซต์http://www.ivene3.ac.th/

ประวัติ

แก้

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ เดิมชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2478 มีชื่อว่า "โรงเรียนประถมอาชีพ" เปิดสอนช่างระดับต้นรับจากผู้จบหลักสูตรประถมบริบูรณ์ (ป. 4) มี 3 แผนก ได้แก่แผนกช่างไม้ แผนกช่างปั้นและแผนกช่างจักสานหลักสูตร 2 ปี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนช่างไม้ ช่างปั้น และ จักสานจังหวัดมหาสารคาม" ในปี พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนชื่ออีกเป็น "โรงเรียนการช่างมหาสารคาม" เมื่อปี พ.ศ. 2487 [1]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2516 กระทรวงศึกษาธิการประกาศรวม "โรงเรียนการช่างมหาสารคาม" และ "โรงเรียนการช่างสตรีมหาสารคาม" ขึ้นเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม โดยโรงเรียนการช่างมหาสารคามเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม วิทยาเขต 1" หลักจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศแยกวิทยาลัยอาชีวศึกษาเขต 1 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม" ในวันที่ 1 มกราคม 2522

ปี พ.ศ. 2556 วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม ได้รับประกาศให้จัดการเรียนการสอนนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการและให้รวมวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ จำนวน 9 แห่งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยอำศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ระบุว่า "สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษาสามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ... "[2]

จึงทำให้ วิทยาลัยเทคนิคมหาสาคาม วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น และวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด รวมควบตั้งขึ้นเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ตราสัญลักษณ์

แก้
 
ตราประจำสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ๓

หน่วยงานในสังกัด

แก้

หน่วยงาน

แก้
  • สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน
  • สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และและความร่วมมืออาชีวศึกษา
  • สำนักพัฒนากิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
  • อาชีวศึกษาบัณฑิต

วิทยาเขต

แก้

สาขาวิชา

แก้

หลักสูตร

แก้

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ เปิดสอนหลักสูตร 3 ระดับ โดยเปิดสอนทุกระดับในวิทยาเขต โดยมีหลักสูตรรวมทั้งหมดดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

แก้
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม                                          
  • ประเภทวิชาศิลปกรรม
  • ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร        
  • ประเภทวิชาคหกรรม
  • ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ                                          
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว    

หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง

แก้
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม                                          
  • ประเภทวิชาศิลปกรรม
  • ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร        
  • ประเภทวิชาคหกรรม
  • ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ                                          
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว    

หลักสูตรปริญญาตรี

แก้
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้

งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓

รุ่นที่ 1 ปี 2560 [3]นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยี จากสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้ง 23 แห่ง ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ถึง ปีการศึกษา 2559 รวมเป็นจำนวน 3,200 คน โดยแบ่งเป็นปีการศึกษา 2557 จำนวน 508 คน, ปีการศึกษา 2558 จำนวน 987 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,705 คน และผลสำเร็จในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาด้านวิชาชีพของอาชีวศึกษา ให้ดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่องได้ถึงระดับปริญญาตรี โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2551 ให้สถาบันการอาชีวศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีเป้าหมายหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นบัณฑิตนักเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของกำลังคนของประเทศ

สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูลกัน และทุกคนที่อยู่ร่วมกันย่อมเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ประโยชน์ บัณฑิตในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับในความรู้ความสารมารถ จึงควรประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมทุกเมื่อ

— พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2550
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สถานที่ หมายเหตุ
พ.ศ. 2560

(4 สิงหาคม พ.ศ. 2560)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี"สายเทคโนโลยี" จากสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้ง 23 แห่ง
พ.ศ. 2561 (รอข้อมูล) (รอข้อมูล)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.mtc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=73
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-07.
  3. "http://www.vec.go.th/%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)