สตอปโมชัน
การถ่ายสต็อปโมชัน (อังกฤษ: stop motion) เป็นเทคนิคแอนิเมชันที่อาศัยการขยับวัตถุทีละเล็กน้อยระหว่างการถ่ายภาพ เพื่อแสดงการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงเมื่อภาพถูกแสดงติดต่อกันหลายๆ เฟรม โดยวัตถุหลายอย่างที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการถ่ายได้ แต่หุ่นหรือฟิกเกอร์ที่มีข้อต่อที่สามารถขยับได้ หรือหุ่นดินปั้น จะเป็นที่นิยมมากในการถ่ายสต็อปโมชัน โดยนอกเหนือจากนี้ยังมีเทคนิคการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล
เทคนิค
แก้การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
- เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
- คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
- กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
- โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง
- แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
- พิกซิลเลชัน (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ
- O/She Stop Motion Film
อ้างอิง
แก้- Lord, Peter and Brian Sibley. Creating 3-D Animation. Harry N. Abrams, New York, 1998. ISBN 0-8109-1996-6