สงครามคาบสมุทร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สงครามคาบสมุทร (โปรตุเกสและสเปน: Guerra Peninsular) หรือ สงครามเอกราชสเปน (สเปน: Guerra de la Independencia Española) เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียนกับฝ่ายพันธมิตรอันประกอบด้วยสหราชอาณาจักร, สเปน และโปรตุเกส เพื่อแย่งชิงคาบสมุทรไอบีเรียในช่วงสงครามนโปเลียน สงครามเริ่มขึ้นเมื่อนายพลฌ็อง-อ็องด็อชแห่งฝรั่งเศสและกองทหารในบัญชาที่ยืมมาจากสเปน อาศัยช่วงที่โปรตุเกสขาดแคลนกำลัง เข้ารุกรานและยึดครองโปรตุเกสในปลายปี ค.ศ. 1807 อย่างง่ายดาย แต่เมื่อยกทัพไปถึงยังกรุงลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน ก็ต้องพบว่า เจ้าชายฌูเอาแห่งบรากังซา ผู้สำเร็จราชการ และพระนางเจ้ามารีอาแห่งโปรตุเกส ได้ทรงพาพระราชวงศ์ ขุนนาง กองเรือรบโปรตุเกส และกองเรือสินค้าทั้งหมดอพยพไปยังอาณานิคมบราซิลก่อนแล้วเพียงหนึ่งวันภายใต้การคุ้มครองของราชนาวีอังกฤษ เหลือเพียงประชาชนไว้ในกรุงลิสบอนเท่านั้น
สงครามคาบสมุทร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียน | |||||||
ประชาชนลุกฮือในสเปน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฝรั่งเศสยึดครองโปรตุเกสได้ไม่นานก็ต้องถอนกำลังออกจากโปรตุเกสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1808 และหันไปโจมตีสเปนแทน โดยสามารถยึดบาร์เซโลนาได้ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม กองทัพสเปนที่มีทหารกว่าแสนนายยังอยู่ในภาวะอัมพาต เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งการเมืองภายในประเทศทำให้ทหารอยู่ในภาวะขาดผู้นำ สามสัปดาห์ต่อมา การลุกฮือของประชาชนทำให้ในวันที่ 19 มีนาคม พระเจ้าการ์โลสที่ 4 ทรงยินยอมมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ พระราชโอรสของพระองค์ ความวุ่นวายในสเปนถูกระงับลงโดยกองพลของจ๊อคชิม มูรัท พร้อม ๆ กับการถอดพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ออกจากราชสมบัติ
อังกฤษซึ่งต่อต้านนโปเลียนอยู่เดิมแล้วนั้น เมื่อเห็นว่าชาวสเปนไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของนโปเลียน อังกฤษจึงคิดว่าตัวเองนั้นยืนอยู่ฝ่ายถูกต้องและมีความชอบธรรมและเริ่มที่จะแสวงหาพันธมิตร จึงเข้ามามีส่วนในสงครามครั้งนี้โดยการประกาศสงครามกับนโปเลียน โดยในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1808 กองทหารอังกฤษภายใต้บัญชาของพลโท เซอร์ อาร์เธอร์ เวลสลีย์ เริ่มตั้งมั่นในโปรตุเกส และผนึกกำลังกับสเปนและโปรตุเกส สงครามคาบสมุทรดำเนินไปจนกระทั่งสามารถเอาชนะนโปเลียนได้ในสงครามประสานมิตรครั้งที่หก นับเป็นการอุบัติขึ้นครั้งแรกของสงครามกองโจรขนาดใหญ่
สารานุกรม
แก้- Esdaile, Charles J. (1988). The Spanish Army in the Peninsular War. Manchester University Press. ISBN 0-7190-2538-9.
- Esdaile, Charles J. (2004). Fighting Napoleon: Guerrillas, Bandits & Adventurers in Spain, 1808–1814. Yale University Press. ISBN 0-300-10112-0.
- Fletcher, Ian (2003). Peninsular War; Aspects of the Struggle for the Iberian Peninsula. Spellmount Publishers. ISBN 1-873376-82-0.
- Fletcher, Ian, บ.ก. (2007). The Campaigns of Wellington, (3 vols) Vol 1. The Peninsular War 1808–1811; Vol. 2. The Peninsular War 1812–1814. The Folio Society.
- Fraser, Ronald (2008). Napoleon's Cursed War: Spanish Popular Resistance in the Peninsular War, 1808–1814. Brooklyn: Verso Books. p. 624. ISBN 978-1-84467-082-6.
- Gay, Susan E. (1903). Old Falmouth. London. p. 231.
- Goya, Francisco (1967). The Disasters of War. Dover Publications. ISBN 0-486-21872-4.
- Griffith, Paddy (1999). A History of the Peninsular War: Modern Studies of the War in Spain and Portugal, 1808–14. Vol. 9. Greenhill Books. ISBN 1-85367-348-X.
- Henty, G.A. (1898). With Moore at Corunna: A Tale of the Peninsular War. ISBN 979-8574537800. – historical fiction