ศูนย์กีฬาหัวหมาก

ศูนย์กีฬาในประเทศไทย

ศูนย์กีฬาหัวหมาก (อังกฤษ: Hua Mak Sports Complex) เป็นศูนย์กีฬาหลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย ภายในประกอบด้วยอาคารหลายหลัง และสนามที่สำคัญในสนามกีฬานี้มีอยู่ 2 แห่ง คือราชมังคลากีฬาสถาน และอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ตั้งอยู่เลขที่ 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ติดกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และใกล้กับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก

ศูนย์กีฬาหัวหมาก
ภาพถ่ายทางอากาศของศูนย์กีฬาหัวหมากและมหาวิทยาลัยรามคำแหง สังเกตเห็นราชมังคลากีฬาสถานและอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
แผนที่
ที่อยู่286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร
 ไทย
สนามกีฬาหลักราชมังคลากีฬาสถาน
ความจุ: 51,552 ที่นั่ง
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
ระบบขนส่งมวลชน สถานี กกท. (กำลังก่อสร้าง)
เจ้าของการกีฬาแห่งประเทศไทย
เปิดใช้งานพ.ศ. 2509 (อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก)
พ.ศ. 2541 (ราชมังคลากีฬาสถาน)
ผู้เช่า

อาคารสถานที่ภายในบริเวณ

แก้

ราชมังคลากีฬาสถาน

แก้

ราชมังคลากีฬาสถาน (Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ

ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ภายหลังจากติดตั้งเก้าอี้เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 และกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ปัจจุบันมีเก้าอี้ทั้งสิ้น 49,722 ที่นั่ง (เป็นเก้าอี้ VIP จำนวน 172 ที่นั่ง) ทำให้ความจุสนามลดลงจากเดิม 65,000 คน และมีเก้าอี้เพียง 18,527 ที่นั่ง และภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานขนาด 105×68 เมตร, ลู่วิ่ง, ลานกรีฑา, มีจอวิดีโอสกอร์บอร์ด 1 ตัว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย และเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้ง และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น[1]

อินดอร์สเตเดียม

แก้

อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬากิตติขจร เป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[2] ความจุของผู้เข้าชมภายในอาคารได้จำนวน 10,000 – 15,000 คน แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงอาคาร ทำให้ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ลดลงเหลือจำนวน 6,000 ที่นั่ง

อาคารอื่น ๆ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ""สนามราชมังคลากีฬาสถาน" 8 เรื่องที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้". ฐานเศรษฐกิจ. 24 กรกฎาคม 2023.
  2. "อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ซ่อมก่อน แล้วสร้างใหม่". ไทยรัฐ. 27 กันยายน 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′24″N 100°37′24″E / 13.75653°N 100.62339°E / 13.75653; 100.62339