แมวเบอร์มีส

(เปลี่ยนทางจาก ศุภลักษณ์)

แมวเบอร์มีส, ทองแดง เป็นพันธุ์แมวบ้านซึ่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการพัฒนาในสหรัฐอเมริกา

แมวเบอร์มีส

แมวเบอร์มีสสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของแมวเพศเมียตัวหนึ่งชื่อ วงแมว (Wong Mau) ซึ่งซื้อจากพม่าไปอเมริกาใน ค.ศ. 1930 แล้วผสมพันธุ์กับแมววิเชียรมาศ

เดิมแมวเบอร์มีสทุกตัวมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ปัจจุบันมีได้หลายสี การรับรองสีอย่างเป็นทางการยังแตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐาน ทั้งสองสายพันธุ์ต่างเป็นทราบกันว่ามีพื้นฐานอารมณ์ชอบเข้าสังคม ขี้เล่นเป็นเอกลักษณ์และเปล่งเสียงอย่างต่อเนื่อง[1][2][3]

แมวเบอร์มิสมักจะเป็นที่สับสนกับแมวศุภลักษณ์ เพราะมีลักษณะของสีขนคล้ายกันมาก ความแตกต่างหลัก ๆ ก็คือแมวเบอร์มิสจะมีหย่อมของสีขนของสีเป็นสีดำหรือสีเข้มอยู่บ้าง ส่วนแมวศุภลักษณ์จะมีสีขนเป็นสีน้ำตาลออกแดงทั่วทั้งลำตัวอย่างสม่ำเสมอ จุดที่สังเกตได้ง่ายที่สุดก็คือ  อุ้งเท้าแมวศุภลักษณ์เมื่อล้างให้สะอาดจะมีสีส้มอมชมพูเท่านั้น  ส่วนอุ้งเท้าแมวศุภโชคจะมีสีคล้ำเข้มกว่าอย่างชัดเจนไม่มีสีส้มอมชมพูเลย [4]

ลักษณะโดยทั่วไป

แก้

ประวัติความเป็นมาของแมวเบอร์มีส

แก้

แมวเบอร์มีสสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดย Dr.Joseph Thompson ท่านเป็นหมอประจำการทหารเรือในอเมริกา โดยส่วนตัวท่านชอบเลี้ยงสัตว์และรักแมวมาก จึงได้ทำฟาร์มแมววิเชียรมาศ ในปี 1926 ซึ่งนำเข้าแมววิเชียรมาศมาจากประเทศไทยในขณะนั้น และในปี 1930 ท่านได้มามาท่องเที่ยวทั่วทวีปเอเซียกับทหารเรือ และได้ไปท่องเที่ยวที่ประเทศพม่า ท่านพบเห็นแมวจรตัวหนึ่งเห็นว่าสวยดี แมวตัวนี้มีสีน้ำตาลเข้ม และมีแต้มเข้มเหมือนกับแมววิเชียรมาศของท่าน จึงนำกลับประเทศอเมริกาและตั้งชื่อว่า วงแมว หรือ วงเมา (Wong Mau) ไม่ทราบที่มาว่าชื่อมาจากไหน เนื่องจากท่านมีพื้นฐานความรู้ เรื่องแมวอยู่แล้ว จึงเริ่มทำการค้นคว้าหาข้อมูลว่า แมวตัวนี้ เป็นแมวสายพันธุ์อะไร เหตุนี้เองจึงเริ่มผสมแมวสายพันธุ์นี้ขึ้น โดยใช้หลักการผสมคือ แมวเบอร์มีส เพศเมีย จากประเทศพม่า ชื่อ วงแมว (Wong Mau) กับแมววิเชียรมาศของไทย เพศผู้ ชื่อ ไทยแมว Taimau และได้ลูกแมวมาเป็นหลากหลายสายพันธุ์และหนึ่งในนั้นเป็นแมวเบอร์มีสสายพันธุ์ใหม่ จึงนำมาผสมกับแมววิเชียรมาศเรื่อยมา จนได้แมวตามสายพันธุ์ที่ต้องการ[5][6] แต่การนำแมวสายพันธุ์นี้จดทะเบียน ไม่ใช่ตัวท่าน เป็นผู้นำไปจด แต่จะเป็นกลุ่มผู้เพาะพันธุ์แมวเหมือนกันที่เห็นความสำคัญของแมวสายพันธุ์นี้ เป็นผู้นำแมวเบอร์มีสไปจดทะเบียนได้สำเร็จในปี 1953 กับ สถาบัน CFA และสร้างชื่อเสียงให้คนรู้จักแมวสายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงชาวอเมริกันและชาวยุโรปที่นิยมเลี้ยงแมวสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง[7][8]

ในช่วงปี 1980 สมาคมแมวของสหราชอาณาจักร Governing Council of the Cat Fancy (GCCF) ได้สั่งห้ามการลงทะเบียนแมวเบอร์มีสสายพันธุ์ใหม่ที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะรักษาสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้[9]

ลักษณะที่เป็นข้อเด่น

แก้
  • ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีน้ำตาลเข้มคล้ายสีสนิม (สีทองแดง) บริเวณส่วนหู ใบหน้า ปลายขา หาง จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆ ไป
  • ลักษณะของส่วนหัว : ค่อนข้างกลมและกว้าง หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง หูใหญ่
  • ลักษณะของนัยน์ตา : แมวชนิดนี้จะมีดวงตาออกเป็นลักษณะเหลืองๆ หรือออกสีอำพัน
  • ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว

ลักษณะที่เป็นข้อด้อย

แก้

ขนยาวเกินไป สีอ่อนเกินไป มีแต้มสีขาวปน เช่น ที่บริเวณหน้าอก หรือช่องท้อง มีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีลายเห็นเป็นทางตามลำตัว โดยเฉพาะตามใบหน้า ขาและหาง นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี บางตัวตาสีฟ้า

บทกวีที่กล่าวถึงแมวศุภลักษณ์หรือเบอร์มีส

แก้
 
ภาพแมวเบอร์มีสจากสมุดข่อยโบราณ
วิลาศุภลักษณ์ล้ำ วิลาวรรณ
ศรีดั่งทองแดงฉัน เพริศแพร้ว
แสงเนตรเฉกแสงพรรณ โณภาษ
กรรษสรรพโทษแล้ว สิ่งร้ายคืนเกษม

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 2015-12-06.
  2. http://www.catsofaustralia.com/burmese-cat-description.htm
  3. http://www.cat-world.com.au/burmese-cat-breed-profile
  4. "แมวศุภลักษณ์ เจ้าเหมียวทองแดงสายพันธุ์ไทยแท้". 2023-03-06.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 2015-12-06.
  6. The Burmese Cat by: Rosemond S. Peltz, MD
  7. http://www.burmesecatsociety.org.uk/the-history-of-the-burmese-cat/
  8. http://messybeast.com/colourpoints.htm
  9. "Regpol" (PDF). The Governing Council of the Cat Fancy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.