ศิริ ทิวะพันธุ์

พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 3

ศิริ ทิวะพันธุ์
แม่ทัพภาคที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2533
ก่อนหน้าพลโท ชัยชนะ ธารีฉัตร
ถัดไปพลโท ไพโรจน์ จันทร์อุไร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม
คู่สมรสประนอม ทิวะพันธุ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2500 – พ.ศ. ไม่ปรากฏ
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองพลทหารราบที่ 4
กองทัพภาคที่ 3
ผ่านศึกการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
สงครามกลางเมืองลาว
สงครามเวียดนาม

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว[1]

แก้

พล.อ. ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เป็นบุตรของนายสวัสดิ์ และนางแก้วตา ทิวะพันธุ์ ณ บ้านป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เวลาต่อมาได้ย้ายไปที่ บ้านโคกศาลเจ้า หมู่ที่ 6 ตำบลกุ่มหัก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

พล.อ. ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ได้สมรสกับนางประนอม ทิวะพันธุ์ มีบุตรทั้งหมด 3 คน

การศึกษา

แก้

พล.อ. ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ได้เริ่มศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนวัดกุ่มหัก (อินทโชติประสิทธิ์) จังหวัดสระบุรี ระดับมัธยมได้ศึกษาที่โรงเรียนวิบูลวิทยาลัย และโรงเรียนไพศาลศิลป์ ที่กรุงเทพฯ ต่อมาศึกษาระดับวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รุ่นที่ 4) พ.ศ. 2500 และยังได้ปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีพ.ศ. 2530

ลำดับการศึกษาวิชาทหาร และการผ่านหลักสูตร

แก้
  • หลักสูตรผู้บังคับหมวดทหารราบ
  • หลักสูตรผู้บังคับกองร้อยทหารราบ รุ่นที่ 22
  • หลักสูตรนายพันทหารราบ รุ่นที่ 16
  • หลักสูตรเสนาธิการทหาร หลักสูตรประจำ รุ่นที่ 47
  • หลักสูตรกระโดดร่ม รุ่นที่ 68
  • หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 26
  • หลักสูตรนายทหารอำนวยการสื่อสาร (ทหารราบ) - ค่ายเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

ราชการสงคราม[1]

แก้

พระราชอาณาจักรลาว

แก้

เมื่อครั้งยศ"ร้อยเอก"ได้ปฏิบัติราชการพิเศษโดยเป็นหัวหน้าทีมปฏิบัติการ ดับพลิว ทีมเค และทีมโฮเต็ล ได้ปฏิบัติด้วยความสามารถจนได้ประเกียรติคุณชมเชยจากกองทัพพระราชอาณาจักรลาว ในปีพ.ศ. 2511

สาธารณรัฐเวียดนาม

แก้

ในปีพ.ศ. 2512 ได้เข้าร่วมสงครามเวียดนามในตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการอากาศ กองพลทหารอาสาสมัคร และมีวีรกรรม คือ ได้นำเฮลิคอปเตอร์ซึ่งถูกยิงจากพื้นที่ปะทะไปยังที่ปลอดภัยได้สำเร็จ ซึ่งในเฮลิคอปเตอร์มี พล.ต. สวัสดิ์ มักการุณ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารอาสาสมัคร ได้รับบาดเจ็บสาหัส ในขณะนั้นยศ "พันตรี"

ภายในประเทศ

แก้

พล.อ. ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ได้ผ่านการรบมาหลายสมรภูมิภายในประเทศ เช่น ยุทธการพื้นที่ดอยยาว - ดอยผาหม่น, ยุทธการเกรียงไกร 17, ยุทธการเสนีย์, ยุทธการขุนห้วยโป่ง, ยุทธการอิทธิชัย, ยุทธการพื้นที่ดอยผาจิ, ฯลฯ

ตำแหน่งทหารที่สำคัญ

แก้
  • พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 : เสนาธิการ กองพลที่ 4
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2524 : ผู้บัญชาการกองพลที่ 4
  • 23 มีนาคม พ.ศ. 2530 : แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3

ราชการพิเศษ

แก้

ตำแหน่งพิเศษ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[1]

แก้
  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 –   แกลแลนทรี่ครอส ประดับดาวบรอนซ์
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2513 –   ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •   สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ วี
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวิตและผลงาน พลโท ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  3. สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม. อดีตผู้บังคับบัญชา
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๐๒๔, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา และเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประการสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๙๖, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐