ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] รวม 6 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอลงกรณ์ พลบุตร
ถัดไปณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–2547)
มหาชน (2547–2550)
ชาติไทย (2550–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2552–2561)
ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสิชา ขจรประศาสน์

ประวัติ

แก้

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ มีชื่อเล่นว่า "ยอด" หรือ "ลูกยอด"[2] เกิดวันที่ 8 สิงหาคม 2516 เป็นบุตรของ "เสธ.หนั่น" พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ กับ นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ เป็นลูกคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้อง 4 คน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ สิชา อัญชนานันท์[3]

นายศิริวัฒน์ เป็นประธานบริหาร บริษัท วี-วัน กอล์ฟ ผู้บริหารงาน "บูรพากอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท" บนพื้นที่กว่า 900 ไร่ ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

การศึกษา

แก้

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชั้นมัธยมปลายจากออตั้น ไฮสคูล รัฐอีลีนอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้ศึกษาสำเร็จในระดับระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแมริวิลล์ รัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2541 และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณทิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2546

งานการเมือง

แก้

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เริ่มเข้าสู่งานการเมือง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีอายุเพียง 28 ปี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ย้ายลงสมัครในสังกัดพรรคมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม เดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[4] จึงเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคมหาชนที่ชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2551 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ภายหลังการยุบพรรคชาติไทย

ใน การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] นับเป็นรัฐมนตรีชายที่มีอายุน้อยที่สุดในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ของไทย ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้พ้นจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[6]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[7] ต่อมาในปี 2561 นายศิริวัฒน์พร้อมทีมงานได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย[8] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 10[9]

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตรเป็นสมัยที่ 5 รวม 6 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. พักยก รบธุรกิจ
  3. "ลูกเสธ.หนั่น"ถือฤกษ์ 11/11/11จดทะเบียนแต่งงาน"ดีไซเนอร์สาว"บรรยากาศชื่นมื่น ไร้เงาแกนนำพท.[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์)
  5. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  7. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  8. ได้ออกมายืนยันว่านายศิริวัฒน์พร้อมทีมงานได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  9. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑