ศาสนาชาวบ้านจีน

ขนบทางศาสนาของชาวฮั่น
(เปลี่ยนทางจาก ศาสนาพื้นเมืองจีน)

ศาสนาชาวบ้านจีน หรือ ศาสนาเฉิน (อังกฤษ: Shenism มาจาก จีน: ; พินอิน: Shén แปลว่า เทพเจ้า) หรือ เทวนิยมแบบจีน เป็นขนบทางศาสนาของชาวฮั่น ที่มาจากการบูชาบรรพชนและพลังธรรมชาติ การไล่ผี รวมถึงความเชื่อในระบบธรรมชาติที่เป็นไปตามอิทธิพลของมนุษย์และอมนุษย์[1] ตามที่ปรากฏในเรื่องปรัมปราจีน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ราชวงศ์ซ่ง) คติเหล่านี้เริ่มผสมผสานกับความเชื่อเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของศาสนาพุทธ และลำดับชั้นเทพเจ้าของศาสนาเต๋า จนก่อให้เกิดระบบศาสนาที่แพร่หลายดังปัจจุบัน[2]

กระดาษสีแดงเขียนคำอธิษฐานที่ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ศาลเจ้าจีน บนเกาะสีชัง

ศาสนาพื้นบ้านจีนมีที่มา รูปแบบ ภูมิหลัง พิธีกรรม และปรัชญา ที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีแนวคิดหลักร่วมกันคือ สวรรค์เป็นที่มาของศีลธรรม เอกภพมีพลังงานชีวิต และบรรพชนเป็นผู้ควรเคารพนับถือ[3]

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ราชสำนักยินยอมให้แต่ละชุมชนนับถือศาสนาชาวบ้านของตนได้หากทำให้สังคมมีระเบียบ แต่จะปราบปรามทันทีที่พบว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของราชสำนัก[4] หลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลง รัฐบาลและชนชั้นนำเริ่มมองว่าศาสนาพื้นบ้านเป็นเรื่องงมงายและล้าสมัยของพวกศักดินา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศไต้หวันและคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในประเทศจีน ปัญญาชนจึงเริ่มยอมรับศาสนาชาวบ้านมากขึ้น[5]

เชิงอรรถ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Teiser (1995), p. 378.
  2. Overmyer (1986), p. 51.
  3. Fan, Chen 2013. p. 5-6
  4. Madsen, Richard (October 2010). "The Upsurge of Religion in China" (PDF). Journal of Democracy. 21 (4): 64–65. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 2018-09-25.
  5. Gaenssbauer (2015), p. 28-37.

บรรณานุกรม

แก้
บทความ