ศาลแรงงาน (ประเทศไทย)
ศาลแรงงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522[1] เปิดทำการเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2523[2] โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากอรรถคดีทั่วไป
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน จะใช้วิธีไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาทเป็นหลัก หากคู่กรณี (นายจ้าง-ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อย
เขตอำนาจศาล
แก้ศาลแรงงานกลางมีฐานะเป็นศาลชั้นต้น สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ และในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดตั้งศาลแรงงานภาคหรือศาลแรงงานจังหวัดนั้น ศาลแรงงานกลางมีอำนาจครอบคลุมพี้นที่ทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันศาลแรงงานกลาง มีสาขาจำนวน 4 สาขา และมีศาลแรงงานภาค จำนวน 9 ภาค ทั่วประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 76 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
- ↑ พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลแรงงานกลาง พ.ศ. 2523ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2523