ศรีเรศ โกฏคำลือ
ศรีเรศ โกฏคำลือ (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นนักธุรกิจด้านการกำจัดขยะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่[1]
ศรีเรศ โกฏคำลือ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 9 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม 2562 – 20 มีนาคม 2566 | |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ศรีโสภา โกฏคำลือ |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอแม่แจ่ม, อำเภอฮอด, อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | สุรพล เกียรติไชยากร นรพล ตันติมนตรี |
ถัดไป | ตนเอง |
เขตเลือกตั้ง | อำเภออมก๋อย, อำเภอดอยเต่า, อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม (ยกเว้นตำบลแม่นาจร) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2498 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | วาสนา โกฏคำลือ |
ประวัติ
แก้ศรีเรศ โกฎคำลือ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายก๋อง และนางบัวแก้ว โกฎคำลือ มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา สมรสกับนางวาสนา มีบุตร 3 คน และบุตรนอกสมรสอีก 1 คน
งานการเมือง
แก้ศรีเรศ เป็นอดีตกำนันและเจ้าของธุรกิจบ่อกำจัดขยะในพื้นที่อำเภอดอยเต่า-อำเภอฮอด[2][3] เป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยแรก โดยเอาชนะนายนรพล ตันติมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อแผ่นดิน ซึ่งย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งครั้งนั้น
ศรีเรศ โกฎคำลือ เป็นนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ช่วงก่อนเลือกตั้งปี 2562 มีการกล่าวถึงว่าศรีเรศ จะย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[4] แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาก็ยังคงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทยและได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง
แต่ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เขาให้การสนับสนุนนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ศรีเรศ โกฎคำลือ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดราม่าแม่เกิบ'ศรีเรศ' ส.ส.อมก๋อย
- ↑ 'พท.'ชนะแน่'เยาวภา'ต้องแข่งกับตัวจาก คมชัดลึก
- ↑ ตามส่องโรงฝังกลบ-โรงไฟฟ้าขยะบ้านตาลเชียงใหม่ พบผลิตไฟฟ้าขายวันละ 1.2 แสนบาท
- ↑ ดราม่าแม่เกิบ'ศรีเรศ' ส.ส.อมก๋อย
- ↑ เอ็กซเรย์ ตัวเต็งนายก อบจ. เครือข่ายการเมือง-ธุรกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายศรีเรศ โกฎคำลือ เก็บถาวร 2018-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายศรีเรศ โกฎคำลือ), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง