วุลเวอรีน
วุลเวอรีน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน–ปัจจุบัน, 2.588–0Ma [1] | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukaryota |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
อันดับย่อย: | Caniformia |
วงศ์: | Mustelidae |
วงศ์ย่อย: | Mustelinae |
สกุล: | Gulo Pallas, 1780 |
สปีชีส์: | G. gulo |
ชื่อทวินาม | |
Gulo gulo (Linnaeus, 1758) | |
ชนิดย่อย | |
| |
ถิ่นอาศัยของวุลเวอรีน |
วุลเวอรีน (อังกฤษ: wolverine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gulo gulo)[4] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในสกุล Gulo (หมายถึง "จอมตะกละ") สัตว์ชนิดนี้มีอยู่ 6 ชนิดย่อย วุลเวอรีนที่อาศัยอยู่ในโลกเก่า (เอเชีย ยุโรป และ ทวีปอเมริกา) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gulo gulo gulo แต่ชนิดย่อยในโลกใหม่ (ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้) ใช้ชื่อ G.g. luscus และยังมีชนิดพิเศษที่พบเฉพาะบนเกาะแวนคูเวอร์ของประเทศแคนาดาเท่านั้น คือชนิดย่อยแวนคูเวอร์ (G.g. vancouverensis) แต่มักถูกจัดให้รวมอยู่ในชนิดย่อยของโลกใหม่[3] นอกจากนี้ยังมีชื่อสามัญใช้เรียกอีก 2 ชื่อ ได้แก่ หมีกลัตตัน (glutton) และ คาร์คาจู (carcajou)
วุลเวอรีนพบในเขตหนาวของซีกโลกเหนือ ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย
กายวิภาคทั่วไป
แก้วุลเวอรีนเป็นสัตว์ที่มีร่างกายสันทัดและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนสีน้ำตาลปกคลุมร่างกาย และมีแถบสีเหลืองเข้มขนานความยาวร่างกาย ชั้นขนหนาแต่ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ตัวมันทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในเขตหนาว ขนที่ทนต่อความหนาวนี้จึงเป็นที่นิยมของนักล่าเขตหนาวโดยการนำมาทำเครื่องนุ่งห่ม
วุลเวอรีนที่โตเต็มวัยจะมีขนาดเท่าสุนัขขนาดกลาง ดูเหมือนหมีขนาดเล็กที่มีหางยาว ลำตัวยาวตั้งแต่ 65-87 เซนติเมตร (23-34 นิ้ว) หางยาว 17-26 เซนติเมตร และหนัก 10-25 กิโลกรัม (22-55 ปอนด์) วุลเวอรีนเพศผู้สามารถหนักได้ถึง 31 กิโลกรัม (70 ปอนด์)[5] เพศผู้กว่าร้อยละ 30 ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย
นอกจากพละกำลังที่น่ายำเกรงของมัน สัตว์ชนิดนี้ยังสามารถปล่อยกลิ่นที่เหม็นมาก ทำให้มันมีชื่อเล่นว่า "หมีนักตด" หรือ "แมวเหม็น" อีกด้วย
วุลเวอรีนและสัตว์ในวงศ์วีเซิลชนิดอื่น ๆ ต่างก็มีฟันกรามบนชนิดพิเศษในปากด้านในที่ทำมุมตั้งฉาก 90 องศา ลักษณะพิเศษนี้ทำให้วุลเวอรีนสามารถฉีกเนื้อของเหยื่อหรือซากสัตว์เย็น ๆ ได้โดยง่าย[6][7]
ลักษณะนิสัย
แก้วุลเวอรีนเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารที่ชื่นชอบของมันคือกระต่ายและสัตว์ฟันแทะ[8] แต่บางครั้งพวกมันก็กินพืชเป็นอาหาร[9] อย่างต้นไม้เตี้ย ๆ และเบอร์รี วุลเวอรีนจึงเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) แต่มีแนวโน้มกินเนื้อมากกว่า[8] ในฤดูหนาว เหยื่อของมันมักจะอ่อนแอ มันสามารถยขุดโพรงของเหยื่อและกินสัตว์ที่กำลังจำศีลอยู่ด้วย[8] บางครั้งก็จะกินซากที่สุนัขป่ากินเหลือ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของประชากรสุนัขป่าจึงมีผลกระทบต่อประชากรวุลเวอรีน[10]
วุลเวอรีนเป็นสัตว์ที่แข็งแรงกว่าที่เห็นมาก สามารถเข้าโจมตีสัตว์ที่ตัวใหญ่กว่าอย่างกวาง กวางมูส กวางเอลก์ และกวางแคริบู (เรนเดียร์)[8] อย่างไรก็ตาม มันจะอ่อนแอลงเมื่อติดอยู่ในชั้นหิมะหรือหาอาหารไม่ได้ในฤดูหนาว วุลเวอรีนที่อาศัยอยู่ในโลกเก่า โดยเฉพาะคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มักจะล่าสัตว์ได้เก่งกว่าญาติ ๆ ของมันที่อยู่อีกทวีปหนึ่ง[11] อาจเป็นเพราะในยูเรเชียไม่ค่อยมีสัตว์นักล่าที่ตัวใหญ่กว่า ทำให้วุลเวอรีนมีโอกาสฝึกทักษะการล่าเพื่อตนเองมากกว่าที่จะฉกฉวยเหยื่อของสัตว์อื่นมากินเสียเอง
วุลเวอรีนมีขากรรไกรที่แข็งแกร่ง กรงเล็บที่แหลมคม และมีผิวหนังหนา[12] มันชอบไปรบกวนความเป็นอยู่ของสุนัขป่าและเสือภูเขา มันยังสามารถสังหารสัตว์นักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่ามันได้[13] เคยพบว่ามีวุลเวอรีนหนัก 27 ปอนด์พยายามขโมยอาหารจากหมีดำซึ่งเพศผู้หนักได้ถึง 400-500 ปอนด์ แต่โชคร้ายที่หมีเป็นฝ่ายชนะ[14]
วุลเวอรีนเป็นสัตว์ที่รักสันโดษ ต้องการอาณาเขตใหญ่ ๆ เป็นของตนเอง ในวันหนึ่ง ๆ วุลเวอรีนแต่ละตัวอาจออกหาอาหารได้ไกลถึง 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) วุลเวอรีนเพศผู้จะปล่อยกลิ่นไปทั่วอาณาเขตเพื่อทำเครื่องหมาย แต่ก็แบ่งพื้นที่ให้วุลเวอรีนเพศเมียอยู่ด้วย วุลเวอรีนเพศผู้จึงมีคู่หลายตัว[8]
วุลเวอรีนเริ่มหาคู่และผสมพันธุ์ในฤดูร้อน แต่กระบวนการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูกจะหยุดนิ่งจนถึงต้นฤดูหนาวเพื่อไม่ให้ลูกของมันไม่ต้องทรมานจากความหนาวเย็น เพศเมียจะไม่ออกลูกถ้าอาหารขาดแคลน วุลเวอรีนเพศเมียตั้งครรภ์ประมาณ 30-50 วันจึงจะออกลูกคราวละสองถึงสามตัวในฤดูใบไม้ผลิ ลูกหมีเจริญเติบโตเร็วมาก เพียงปีแรกก็กลายเป็นตัวเต็มวัย และเมื่ออายุครบ 2 ปีก็สามารถออกหาคู่ได้[8] วุลเวอรีนมีอายุขัยเฉลี่ย 7-12 ปี[8]
วุลเวอรีนตัวเต็มวัยไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ แต่ชอบเข้าต่อสู้กับนักล่าที่ใหญ่กว่าจนส่วนมากถูกฆ่าตาย เนื่องจากสาเหตุการแย่งอาหารและแย่งอาณาเขต วุลเวอรีนที่ยังเด็กอยู่มีความเปราะบาง จึงมักถูกสัตว์ปีกนักล่าอย่างนกอินทรีคาบไปกิน[15]
สายพันธุ์
แก้วุลเวอรีนอาศัยอยู่ในแดนเหนืออันหนาวเหน็บ อย่างในเขตอาร์กติก เทือกเขาในรัฐอะแลสกา แคนาคาตอนเหนือ ไซบีเรีย คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย รัสเซีย ประเทศแถบทะเลบอลติก และไปไกลถึงมองโกเลียและตอนเหนือของจีน อย่างมณฑลเฮย์หลงเจียงและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[3] ในปี 2008-09 พบว่าวุลเวอรีนรอนแรมไปถึงเทือกเขาเนวาดา ใกล้กับทะเลสาบทาโฮเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มสำรวจในปี 1992[16] [17] และยังพบวุลเวอรีนจำนวนไม่มากบนเทือกเขาร็อกกี และเทือกเขาแคสเคดในสหรัฐอเมริกา แต่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแคนาดา[9]
จำนวนประชากรวุลเวอรีนไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีต่ำมากและอาศัยอยู่เปราะบาง จำเป็นต้องหาพื้นที่อาศัยขนาดใหญ่ให้อยู่โดยเร็ว[10] อาณาเขตของวุลเวอรีนเพศผู้ใหญ่ราว 620 ตารางกิโลเมตร (240 ตารางไมล์) ล้อมรอบอาณาเขตของเพศเมียเอาไว้ (ซึ่งใหญ่ประมาณ 130-260 ตารางกิโลเมตร) วุลเวอรีนที่โตเต็มวัยจะสร้างอาณาเขตโดยไม่ให้ทับซ้อนกับของตัวอื่น ๆ[7] การติดตามด้วยวิทยุพบว่าพวกมันสามารถสร้างอาณาเขตได้หลายร้อยไมล์ภายในสองสามเดือน
ประเทศ | จำนวนประชากร (ตัว) | พื้นที่อาศัย | ปีที่อาศัย (ค.ศ.) |
สถานะ |
---|---|---|---|---|
สวีเดน | 265+[18] | นอร์บอทเทิน[18] | 1995-97[18] | คงที่[18] |
นอร์เวย์ | 150+[18] | ที่ราบสูงสเนอเฮททาและเหนือขึ้นไป[18] | 1995-97[18] | ต่ำ[18] |
ฟินแลนด์ | 115[18] | ภูมิภาคคารีเลียและเหนือขึ้นไป[18] | 1997[18] | คงที่[18] |
รัสเซีย | 1,500[18] | แถบป่าไทกา[18] | 1970, 1990 [18] | ต่ำ[18] |
สาธารณรัฐโคมิ - ประเทศรัสเซีย |
885[18] | ภายในสาธารณรัฐ[18] | 1990[18] | ไม่มีข้อมูล[18] |
อาร์คันเกลสค์ - ประเทศรัสเซีย |
410[18] | เขตปกครองตนเองเนเนตส์[18] | 1990[18] | จำกัด[18] |
คาบสมุทรโคล่า - ประเทศรัสเซีย |
160[18] | เขตฮันติง[18] | 1990[18] | ต่ำ[18] |
อะแลสกาเขต 1 - สหรัฐฯ[19] | 10000000 | อุทยานแห่งชาติโคบุก[19] และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเซลาวิก[19] |
1998[19] | ต่ำ[19] |
อะแลสกาเขต 2 - สหรัฐฯ[20] | 3 (± 0.4 เพิ่มเติม) ตัวต่อ 1,000 ตารางกิโลเมตร[20] |
ทางน้ำเทิร์นอะเกนและเทือกเขาคีไน[20] | 2004[20] | ไม่มีข้อมูล[20] |
แคลิฟอร์เนีย - สหรัฐฯ[10] | 20030 | ป่าสงวนทาโฮ[10] | 2008[10] | ไม่มีข้อมูล[10] |
ดินแดนยูคอน - แคนาดา | 9.7 (± 0.6 เพิ่มเติม) ตัวต่อ 1,000 ตารางกิโลเมตร[20] |
ที่ราบโอลด์โครว์[20] | 2004[20] | ไม่มีข้อมูล[20] |
รัฐออนแทรีโอ - แคนาดา[21] | 300000,23[21] | ทะเลสาบเรด เมืองซูลุกเอาต์ ป้อมเซเวิร์น และเขตพีวานัก[21] |
2004[21] | กำลังขยายตัว[21] |
แคนาดาทั้งประเทศ[22] | 15,000 ถึง 19,000[22] | ทั้งประเทศ[22] | 2019[22] | คงที่[22] |
ความต้องการขยายอาณาเขตทำให้วุลเวอรีนต้องเผชิญหน้ากับการขยายตัวของสังคมมนุษย์ และตามมาด้วยการถูกล่าและถูกจับขัง ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลงและค่อย ๆ สูญหายไปจากอาณาเขตดั้งเดิมของมัน มันจึงถูกเรียกร้องให้เป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะอันตราย ซึ่งการพิจารณากำลังค่อยเป็นค่อยไป[10]
ที่มาของชื่อ
แก้ผู้คนมักรู้จักวุลเวอรีนในนามของสัตว์ที่ไม่รู้จักอิ่ม อาจเกิดจากการตีความหมายที่ต่างกันไปตามแต่ละภาษา เพราะชื่อของมันในภาษาสวีเดนคือ Fjellfräs ซึ่งแปลว่า "แมวภูเขา" กลับกลายเป็น Vielfraß ที่แปลว่า "กินไม่รู้หยุด" ในภาษาเยอรมัน ในภาษาตระกูลเจอร์แมนิกตะวันตกล้วนมีความหมายคล้ายกัน (อย่างเช่นในภาษาดัตช์ Veelvraat) ชื่อของมันในภาษานอร์สโบราณ Jarfr กลายเป็น jarfi ในภาษาไอซ์แลนด์ เป็น jerv ในภาษานอร์เวย์ เป็น järv และกลายเป็น jærv ในภาษาเดนมาร์ก ในภาษาฟินแลนด์ Anma มาจากคำว่า ahmatti ซึ่งแปลว่า "ตะกละ" ในภาษารัสเซีย เรียกวุลเวอรีนว่า rosomakha และเรียก rosomak ในภาษาโปแลนด์และเช็ก คำเหล่านี้น่าจะยืมคำมาจากคำว่า rasvamaha (เจ้าพุงโต) ในภาษาฟินแลนด์ ที่คล้ายกันก็มี rozsomák หรือ torkosborz ในภาษาฮังการีที่แปลว่า "แบดเจอร์จอมสวาปาม" ในภาษาจีนมันมีชื่อว่า "เตียวสยฺง (貂熊)" แปลว่า "Mink bear" หรือหมีตัวเล็ก
การนำไปใช้
แก้รัฐมิชิแกนในสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "รัฐวุลเวอรีน" ที่มาของสมญานามนี้ยังไม่ชัดเจน แต่น่าจะมาจากการค้าขนวุลเวอรีนในเมืองซูเซนต์มารี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรืออาจเป็นชื่อที่มาจากการเปรียบเทียบผู้ตั้งรกรากในมิชิแกนกับสัตว์ร้าย
วูลฟ์เวอรีนเป็นตัวนำโชคประจำมหาวิทยาลัยมิชิแกน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีกมาก เช่น โรงเรียนบรองซ์ไฮ และมหาวิทยาลัยยูทาห์แวลลีย์ ทีมเบสบอลระดับเมเจอร์ลีกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1880 รู้จักกันดีในชื่อของทีม "ดีทรอยต์วุลเวอรีน" และเหตุการณ์ที่น่าจดจำของเมืองดีทรอยต์ เป็นการที่ชาวเมืองหลายคนเข้าอาสาร่วมรบในสงครามกลางเมืองอเมริกา จนจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ ผู้นำกองพลน้อยแห่งมิชิแกน ถึงกับเรียกพวกเขาว่า "ชาววุลเวอรีน" วุลเวอรีนปรากฏอยู่ในรัฐนี้ได้ไม่นานนัก แต่ไม่นานมานี้ มีการพบวุลเวอรีนเมื่อปี 2004 โดยกลุ่มนักล่าและนักชีววิทยา ณ บริเวณที่ใกล้กับเมืองอับบลี เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบเพื่อนขนยาวเหล่านี้ในมิชิแกนหลังจากที่ไม่ได้พบมานานกว่า 200 ปี[23]
ถึงแม้รัฐมิชิแกนจะไม่ได้ใช้วุลเวอรีนในตราประจำรัฐ แต่วุลเวอรีนนั้นกลับกลายเป็นสัตว์สัญลักษณ์บนตราประจำเขตเทศบาลบาร์ดู ในประเทศนอร์เวย์ และเขตเทศบาลกิตตีแล ประเทศฟินแลนด์
ในยูโรเปียนฟุตบอลลีก (การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลในยุโรป) มีทีม "เฮลซิงกิวุลเวอรีน" ซึ่งก่อตั้งในปี 1995 รวมอยู่ด้วย,[24] ทีมนี้เป็นทีมอันดับหนึ่งในเมเปิลลีก ในเซ็นทรัลอินเทอเรอร์ฮอกกี้ลีก ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1996[25] ในบริติชโคลัมเบีย ทีม "เฮเซลตันวุลเวอรีน" ได้ก่อตั้งขึ้นในเมืองเฮเซลตัน[26]
วูลฟ์เวอรีนยังปรากฏอยู่ในเทวตำนานของชาวอินนู ชาวพื้นเมืองในรัฐเกแบ็ก และแลบราดอร์ โดยพวกเขาเชื่อว่าตัววุลเวอรีนนั้นเป็นผู้สร้างโลก[27]
ในปี 1984 ภาพยนตร์สงคราม "Red Dawn" เป็นภาพยนตร์นวนิยายเกี่ยวกับการรุกรานของสหภาพโซเวียตในสหรัฐฯ กลุ่มนักเรียนมัธยมปลายที่ลี้ภัยสงครามโดยขึ้นไปบนภูเขา ตั้งชื่อให้กลุ่มตนเองว่า "วุลเวอรีน" ตามตัวนำโชคของโรงเรียน
ในการ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง "My Gym Partner's a Monkey" (ชื่อไทย: เพื่อนของผมเป็นลิงครับ) วุลเวอรีนได้ปรากฏอยู่ในฤดูกาลที่ 2 ตอนที่ 8 โดยมีบทบาทเป็นอาจารย์ใหญ่วุลเวอรีน อาจารย์ที่มาแทนอาจารย์ใหญ่พิกซี่ฟร็อกซึ่งถูกสั่งพักงาน คอยออกกฎระเบียบและต่อว่านักเรียน ถ้าไม่ทำตามก็จะถูกกัดก้น อดัมและเจค (ตัวเอกของเรื่อง) จึงหาทางนำพิกซี่ฟร็อกกลับมา
และวุลเวอรีนที่ชาวโลกรู้จักกันดีที่สุด ก็คือวุลเวอรีนที่เป็นยอดมนุษย์ในการ์ตูนของมาร์เวล วุลเวอรีนปรากฏตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 และเริ่มโด่งดังในการ์ตูนฉายเดี่ยวของตนเองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 จนถูกรวมเข้ากับเอ็กซ์เมนในที่สุด ตั้งแต่ฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ วิดีโอเกม และภาพยนตร์ โดยมีฮิว แจ็กแมน เป็นผู้รับบท[28]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Gulo gulo Linnaeus 1758 (wolverine)-". PBDB.
- ↑ Abramov A, Belant J & Wozencraft C (2008). Gulo gulo. 2008 IUCN Red List of Threatened Species IUCN 2008. Retrieved on 2008-10-13
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Mammal Species of the World - Browse:gulo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-08. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
- ↑ Wozencraft, W. C. (16 November 2005). Wilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds). ed. Mammal Species of the World (3rd edition ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-8221-4. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=14001166 เก็บถาวร 2011-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ [1]
- ↑ Pratt, Philip. "Dentition of the Wolverine". The Wolverine Foundation, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
- ↑ 7.0 7.1 Taylor, Ken (1994). "Wolverine" (HTML Public). Wildlife Notebook Series. Alaska Department of Fish & Game. สืบค้นเมื่อ 2007-01-21.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 http://animals.nationalgeographic.com/animals/mammals/wolverine.html
- ↑ 9.0 9.1 Rickert, Eve (28 June 2007). "The perils of secrecy". High Country News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2007.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 Glenn Hurowitz (5 March 2008). "First wolverine in 30 years spotted in California เก็บถาวร 11 สิงหาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Grist.org; also US Forest Service (6 March 2008). "Camera Spots Wolverine in Sierra Nevada". physorg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 21 February 2010.
- ↑ World Wildlife Fund–Sweden: 1st International Symposium on Wolverine Research and Management เก็บถาวร 2007-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF)
- ↑ World Biomes: Wolverine
- ↑ YouTube: Wolverine challenges bear to leave
- ↑ "When Predators Attack (Each Other): Researchers Document First-known Killing of a Wolverine by a Black Bear in Yellowstone" (Press release). Science Daily. 6 May 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2007. สืบค้นเมื่อ 16 January 2007.
- ↑ "Hinterland Who's who: Wolverine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
- ↑ Knudson, Tom (April 5, 2008), "Sighting prompts California to expand search for elusive wolverine", Sacramento Bee, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-18, สืบค้นเมื่อ 2009-05-03
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Griffith, Martin (March 22, 2009), "A year later, wolverine spotted again in Sierra", San Francisco Chronicle, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-26, สืบค้นเมื่อ 2009-05-03
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 18.12 18.13 18.14 18.15 18.16 18.17 18.18 18.19 18.20 18.21 18.22 18.23 18.24 18.25 18.26 18.27 Arild Landa, Mats Lindén and Ilpo Kojola (2000). "Action Plan for the conservation of Wolverines (Gulo gulo) in Europe" (PDF). Nature and environment, No. 115. Convention on the Conservation of European Wildlife and Natural Habitats (Bern Convention). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-27. สืบค้นเมื่อ 2008-01-25.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 Shults, Brad; Peltola, Gene; Belant, Jerrold & Kunkel, Kyran (1998). "population ecology of wolverines within Kobuk valley national park and Selawik national wildlife refuge". Rocky Mountain Research Station, US Department of Agriculture – Forest Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2010. สืบค้นเมื่อ 26 January 2008.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 20.7 20.8 Golden, Howard N.; Henry, J. David; Becker, Earl F.; Goldstein, Michael I.; Morton, John M.; Frost, Dennis; Poe, Aaron J. (2007). "Estimating wolverine Gulo gulo population size using quadrat sampling of tracks in snow". Wildlife Biology. 13 (sp2): 52. doi:10.2981/0909-6396(2007)13[52:EWGGPS]2.0.CO;2. S2CID 54021734.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Dr. Audrey Magoun, Neil Dawson, Dr. Geoff Lipsett-Moore, Dr. Justina C. Ray (2004). "Boreal Wolverine: A Focal Species for Land Use planning in Ontario's Northern Boreal Forest - Project Report" (PDF). The Wolverine Foundation, Inc., Ontario Ministry of Natural Resources, Ontario Parks, Wildlife Conservation Society (WCS)/University of Toronto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Brian Slough; และคณะ (May 2003). "COSEWIC Assessment and Update Status Report on the Wolverine (Gulo gulo) - Eastern Population Western Population in Canada" (PDF). COSEWIC (committee on the status of endangered wildlife in Canada) 2003. COSEWIC assessment and update status report on the wolverine Gulo gulo in Canada. Committee on the Status of Endangered Wildlife in Canada. Ottawa. vi + 41 pp. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
- ↑ Runk, David (25 February 2004). "First Michigan wolverine spotted in 200 years". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 December 2008.
- ↑ Helsinki Wolverines
- ↑ CIHL
- ↑ "Hazelton Wolverines". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
- ↑ Armitage, Peter (1992). "Religious ideology among the Innu of eastern Quebec and Labrador" (PDF). Religiologiques. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2004-10-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-29. (PDF)
- ↑ "X-Men IMDb". สืบค้นเมื่อ 2007-05-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วุลเวอรีน เก็บถาวร 2013-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในหนัง X-men
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gulo gulo ที่วิกิสปีชีส์