วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1] และประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)[3] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | รศ. คิม ไชยแสนสุข |
ถัดไป | รศ. ปรีชา พหลเทพ (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | รศ. ปรีชา พหลเทพ (รักษาการ) |
ถัดไป | ผศ. บุญชาล ทองประยูร (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2492 |
คู่สมรส | ตวงทอง ลาภเจริญทรัพย์ (มังคะลี) |
ประวัติ
แก้ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เป็นชาวตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มรับราชการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ปี 2517 เป็นอาจารย์ตรี ปี พ.ศ. 2529 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 ปี พ.ศ. 2534 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 7 พ.ศ. 2539 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 8 ในปี พ.ศ. 2541-2543 ทำหน้าที่หัวหน้าภาควิชาการปกครอง และในปี 2548-2554 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[4] และได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554[5] ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2554 และวันที่ 25 ตุลาคม 2554 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2554 [6]โดยดำรงตำแหน่งในวาระแรกจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2558
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]
ต่อมา วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกสมัย ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2559[8]และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563
ตำแหน่งหน้าที่ในอดีต - ปัจจุบัน
แก้- กรรมการบริหารศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกคณะรัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2541)
- กรรมการวิชาการคณะรัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2541)
- กรรมการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) (พ.ศ. 2541)
- กรรมการบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2541)
- ประธานกรรมการบริหารโครงการรัฐศาสตรมหาบัณฑิตสำหรับนักบริหาร (พ.ศ. 2541)
- ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2545)
- ประธานกรรมการบริหารโครงการรัฐศาสตรมหาบัณฑิต โครงการการจัดการทางการเมือง (พ.ศ. 2546)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2547)
- ประธานกรรมการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2548)
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ (พ.ศ. 2548 - 2554)
- รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2550, 10 กุมภาพันธ์ - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554, กันยายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
- รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา (พ.ศ. 2551)
- ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2544)
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการตำรวจสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2545)
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2548)
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2548)
- คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง (พ.ศ. 2549)
- คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ (พ.ศ. 2549)
- ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง (พ.ศ. 2550)
- กรรมการสภาที่ปรึกษาพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2550)
- ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2550)
- ประธานกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พ.ศ. 2551)
- กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2552)
- ประธานกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2552)
- กรรมการบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด กระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2553)
- รองประธานกรรมการพัฒนาการบริหารท่าอากาศยาน (พ.ศ. 2554)
- กรรมการในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2554)
- กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ (24 เมษายน พ.ศ. 2555)
- อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมและการพัฒนาคุณธรรม (พ.ศ. 2555)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (14 กันยายน พ.ศ. 2555-ไม่ทราบปี)[9]
- ที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการศึกษาและส่งเสริมมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ (พ.ศ. 2555)
- ประธานคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบและปรับปรุงประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง (พ.ศ. 2555)
- กรรมการบริหารกิจการระหว่างประเทศของการท่าอากาศยาน (พ.ศ. 2556)
- กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2557-2558)
- กรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2557)
- กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท เจพีมอเตอร์เวิร์ค จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2557)
- อาจารย์บัณฑิตพิเศษ คณะรัฐศาสตร์ (ปัจจุบัน)
- กรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- อนุกรรมาธิการด้านองค์กรตามรัฐธรรมนูญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน)
- กรรมการกิตติมศักดิ์มูลนิธิอัศนี พลจันทร (นายผี) (ปัจจุบัน)[10]
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 วาระ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2563)
- ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง (9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[13]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ตำแหน่ง ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ↑ ข่าวรามคำแหง ปีที่ 50 ฉบับที่ 10 วันที่ 15-21 มิถุนายน 2563
- ↑ "รายชื่อกรรมการอิสระ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-09-04.
- ↑ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 145 ง หน้า 8,20 กันยายน 2555
- ↑ ข่าวรามคำแหง ปีที่ 45 ฉบับที่ 34 วันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2558, งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,7 ธันวาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เก็บถาวร 2016-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน