วีระศักดิ์ ฟูตระกูล
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็น สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[1] และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อดีตผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[2] ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนนาดา และในอีกหลายประเทศ
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล | |
---|---|
วีระศักดิ์ ใน พ.ศ. 2561 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (2 ปี 144 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | ดอน ปรมัตถ์วินัย |
ก่อนหน้า | ดอน ปรมัตถ์วินัย |
ถัดไป | จักรพงษ์ แสงมณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2494 |
คู่สมรส | อุมาพร ฟูตระกูล |
ประวัติ
แก้วีระศักดิ์ ฟูตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี B.A. (Political Science) จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท M.A. (Foreign Affairs) มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)
การทำงาน
แก้นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เริ่มเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2517 ในตำแหน่งเลขานุการตรี กองเอเชียตะวันตกและใต้ กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาเป็นเลขานุการโท ในปี พ.ศ. 2520 และเลขานุการเอก ในปี พ.ศ. 2525
ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา (เศรษฐกิจ) สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และเป็นผู้อำนวยการกองอเมริกา ในปี พ.ศ. 2530 เป็นรองอธิบดีกรมการเมือง ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง ในปีต่อมา
ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. 2537 ประจำ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 กลับมารับตำแหน่งอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และไปเป็นเอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ในปี พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ไปเป็นผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และเป็นผู้แทนไทยใน Governing Board ของศูนย์พัฒนา องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 จึงได้ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2550 ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็น เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. 2555
นอกจากนั้น นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ยังเคยเป็นที่ปรึกษาบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และเป็นเจ้าของโรงเรียนธำรงวิทย์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร[3]
งานการเมือง
แก้วีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในปี พ.ศ. 2557 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 - 2559 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้วีระศักดิ์ ฟูตระกูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก[ลิงก์เสีย], เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
- ↑ ตามดู รมต.หน้าใหม่ บิ๊กตู่ 4 “วีระศักดิ์ ฟูตระกูล” รมช.บัวแก้ว เคยยื่น ป.ป.ช.รวย 68 ล้าน-ส่วน 8 รมต.หน้าเก่ารวยกว่าร้อยล้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘วีระศักดิ์ ฟูตระกูล’ ลาออก สนช. เผย ยังบอกไม่ได้ ปมไปเป็นรัฐมนตรี รอความชัดเจน
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๑๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
ก่อนหน้า | วีระศักดิ์ ฟูตระกูล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ดอน ปรมัตถ์วินัย | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
จักรพงษ์ แสงมณี |