วิโรจน์ กมลพันธ์
วิโรจน์ กมลพันธ์ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2522) อดีตรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง 3 สมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 1 สมัย ในรัฐบาลของถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากคุรุสภาว่า "คนดีศรีอยุธยาทางด้านพัฒนาการศึกษา"[1]
วิโรจน์ กมลพันธ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 (81 ปี) |
ประวัติ
แก้วิโรจน์ กมลพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ที่ตำบลหัวรอ อำเภอกรุงเก่า เมืองกรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เป็นบุตรของนายสอน กับนางเหนย กมลพันธ์ เข้าเรียนชั้นประมที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า จากนั้นได้เข้าเรียนต่อวิชาครูประถม ที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ เมื่อจบการศึกษาแล้วเขาได้บรรจุเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า เมื่อปี พ.ศ. 2464 ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นธรรมการจังหวัดปทุมธานี และปี พ.ศ. 2478 เป็นธรรมการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและได้รับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิตด้วย
วิโรน์ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ในปี พ.ศ. 2484 โดยใช้สถานที่ตั้งเดิมของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยหลังจากที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังที่ตั้งแห่งใหม่
ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการภาค 2 (ปราจีนบุรี) ในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองโรงเรียน กรมอาชีวศึกษา และในปี พ.ศ. 2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย[2]
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นายปรีดี พนมยงค์ ได้ชักชวนนายวิโรจน์ เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยด้วย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหลังจากการเลือกตั้งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง (รัฐมนตรีลอย) ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ 2 สมัย[3][4] และเป็นรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5] ในรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
เขาสมรสกับนางทองแถม กมลพันธ์ มีบุตร 5 คน นายวิโรจน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[6]
- พ.ศ. 2480 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[7]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[8]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือประวัติครู 2523. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา. 2523
- ↑ "ประวัติความเป็นมาอุเทนถวาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๔๔, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๙๑, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๖๗, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙