รองศาสตราจารย์ วินัย ดะห์ลัน เป็น กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา[1] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ใน รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2] ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา พ.ศ. 2558 หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วินัย ดะห์ลัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกิด (1952-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1952 (72 ปี)
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพอาจารย์ นักวิจัย
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์www.drwinai.com

ประวัติ

แก้

วินัย ดะห์ลัน เกิดในครอบครัวเชื้อสายชวาที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่ออิรฟาน ดะห์ลัน และมารดาชื่อซาหระห์ [3] ปู่ของเขาคือ อะห์มัด ดะห์ลัน ผู้ก่อตั้งสมาคมมุฮัมมะดิยะฮ์ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย วินัย ดะห์ลัน เป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการตีพีมพ์มากกว่า 30 บทความทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงบทความทางวิทยาศาสตร์และโภชนาการ มากกว่า 2 พันชิ้น และงานเขียนในนิตยสารรายสัปดาห์ 3 ฉบับติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 วินัย ดะห์ลัน เป็นหนึ่งใน 500 มุสลิมจากทั่วโลกที่มีชื่อปรากฏในทำเนียบมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุด 14 ปีติดต่อกัน [4][5] และเป็นหนึ่งใน 16 มุสลิมจากทั่วโลกและมุสลิมไทยคนเดียวที่มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อโลก

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม

การศึกษา

แก้

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี วท.บ. (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1972-1976
ปริญญาโท วท.ม. (โภชนศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 1980-1982
ปริญญาเอก Docteur en Biologie Medicale Appliqué (grand distinction), Faculty of Medicine and Pharmacy, St-Pierre Hospital, Université Libre de Bruxelles, Brussels, Belgium, 1985-1989

วินัย ดะห์ลัน มีเชี่ยวชาญในด้านลิพิดวิทยา, ชีวเคมีทางการแพทย์, วิทยาศาสตร์ฮาลาล

ประสบการณ์

แก้
การบริหารและวิชาการ
ปัจจุบัน
  • ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ประธานสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย
  • กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
  • กรรมการสถาบันศึกษา
  • รองประธานอนุกรรมการด้านประชาสังคม สภาการศึกษา
  • หัวหน้า ศูนย์วิจัยวิทยาลิพิดและไขมัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสังคม พ.ศ. 2557
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการศึกษา พ.ศ. 2558 จนถึง ปัจจุบัน
  • ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559
  • ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560
  • ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565
อดีต
  • คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2543-2551)
  • ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเกษตร รองนายกรัฐมนตรี (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี) (2553-2554)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) (2552-2554)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (2553-2554)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์) (2540)
  • คณะกรรมการอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะกรรมการแผนและพัฒนาอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย กระทรวงสาธารณสุข
  • ที่ปรึกษาโภชนาการ เมนูอาหารพิเศษ การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 (2541), การแข่งขันกีฬาคนพิการเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 (2542), การชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (2546), กีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 (2548)
  • คณะทำงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฮาลาล กระทรวงพาณิชย์ (2553)
  • คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจและสินค้าฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2552-54)
  • คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล สำนักนายกรัฐมนตรี (2545-48)
  • คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร (2542-54)[6]
  • คณะกรรมการบริหารกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (2548-50)
  • คณะกรรมการอำนวยการ สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล (2548-50)
  • คณะกรรมการบริหาร สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (2551-53)
  • คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (2550-52)
  • นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติตามมติสภาผู้แทนราษฎร (2540-2543)
  • คณะอนุกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2552-54)
  • คณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (2547-48)
การสอน
  • อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ครัวการบินไทย ฯลฯ

งานประพันธ์

แก้

รางวัล

แก้
  • หนึ่งในห้าร้อยมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุดปรากฏในหนังสือ The Muslim 500: The World’s Most Influential Muslims ประจำปี 2010, 2011, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016,2017,2018,2019,2020,2021,2022 จัดทำโดย The Royal Islamic Strategic Studies Centre ประเทศจอร์แดน
  • พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
  • พ.ศ. 2556 - รางวัลนวัตกรรมบริการภาครัฐระดับดีเด่น, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • พ.ศ. 2555 เมษายน - รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
  • พ.ศ. 2554 เมษายน - รับรางวัลวิจัยชนะเลิศและรางวัลที่ 3 ในงาน World Halal Research Summit ประเทศมาเลเซีย
  • พ.ศ. 2552 มีนาคม - จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี รับผิดชอบงานในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ IMT-GT
  • พ.ศ. 2552 IDCP’s Recognition Award for Halal Achievement จากสภาเผยแพร่ศาสนาอิสลามแห่งฟิลิปปินส์[7]
  • พ.ศ. 2552 ศิษย์เก่าดีเด่นด้านบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล[8]
  • พ.ศ. 2551 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2548 นิสิตเก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2549 Halal Journal Award of Best Innovation in Halal Industry ณ ประเทศมาเลเซีย รับจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
  • พ.ศ. 2544 อาจารย์ดีเด่น ระดับหน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา
  2. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
  3. Winai Dahlan: Advancing Halal science, Yuliasri Perdani, 8 March 2013, The Jakarta Post
  4. "Winai Dahlan". สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  5. "Winai Dahlan, Founding Director of HSC-CU named in the world's 500 most influential Muslims in 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  6. "ตำแหน่งกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-21.
  7. "ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับรางวัลจากฟิลิปปินส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-21.
  8. อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๕๑[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๒๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗