วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์เพื่อรองรับการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับนานาชาติซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ทั้งนี้ชื่อวิทยาลัยตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบ 100 ปี ชาตกาล

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Pridi Banomyong International College,
Thammasat University
สถาปนา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์www.pbic.tu.ac.th

ประวัติ

แก้

พ.ศ. 2551 วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งเพื่อเป็นเกียรติและเป็นการระลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในวาระองค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญระดับนานาชาติ[2] โดยจุดประสงค์หลักเพื่อสนองนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานเทียบได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และขยายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ

โดยในระยะแรกวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รับโอนหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมาจากสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2552 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) โดยเป็นหลักสูตรการศึกษาแบบสหวิทยาการพร้อมทั้งเน้นความเชี่ยวชาญทางภาษา ขอบข่ายการศึกษาของหลักสูตรอาทิ การศึกษาภาษา สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจจีน โดยใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน[3]

นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังมีหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานของหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

ทำเนียบคณบดี

แก้
  • รศ.ดร.พิมพันธุ์ เวสสะโกศล (พ.ศ 2551–2557)
  • รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต (พ.ศ. 2557–2560)
  • ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (พ.ศ. 2560–2563)
  • ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ (พ.ศ. 2563–2566)
  • รศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม (พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน)

ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา (กนศ.ป. , กน.ป.)

แก้

ประธานคณะกรรมการนักศึกษาคณะ หรือ ประธานนักศึกษา ได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ มีอำนาจบริหารกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ

ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1. นางสาวธัญพร แซ่กัง พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2560
2. นางสาวอสมา ผิวละออ พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561
3. นายสุทธิโชค จิตศรีสมบัติ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562
4. นางสาวนันทิพร นาคราช พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563
5. นายพชร จงเจริญจิตเกษม พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2563
6. นางสาวอภิชญา แซ่โค้ว พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2566
7. นายชณัฐส์ อัญพันธุ์ผล พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2567

งานกิจการนักศึกษา (Student Affairs)

แก้

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดระบบกิจกรรมนักศึกษา โดยให้นักศึกษามีอิสระในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเสรี ซึ่งมี "คณะกรรมการนักศึกษา" เป็นหน่วยงานหลักที่บริหารงานกิจกรรมและงบประมาณโดยนักศึกษาเอง ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2567 ฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษาภายในวิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษาใหม่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กรรมการนักศึกษา มีจำนวนไม่เกิน 13 ตำแหน่ง และส่วนที่ 2 ประธานรุ่นแต่ละชั้นปี จำนวน 4 ชั้นปี รวมเป็นจำนวนไม่เกิน 17 ตำแหน่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงสมัยใหม่, การรับฟังข้อเสนอแนะของนักศึกษาทุกภาคส่วน รวมถึงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาจากทุกชั้นปีอย่างเสมอภาค

ทั้งนี้ ยังประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษาต่างๆ ภายในวิทยาลัยฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการนักศึกษาฯ อีกด้วย

กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาภายในคณะ

แก้

กลุ่มกิจกรรมหลักของนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ เป็นต้น

  • กลุ่มกิจกรรมคฑากร แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กลุ่มกิจกรรมผู้นำเชียร์ แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักสูตร

แก้

ปริญญาตรี

แก้
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Thai Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยศึกษา ณ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ตลอดจนจบการศึกษา นอกจากนั้นหลักสูตรไทยศึกษามีโครงการสองปริญญาที่นักศึกษาสามารถเข้าร่วม โดยร่วมกับ School of Oriental and African StudiesUniversity of London สหราชอาณาจักร (2 ปี ศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และอีก 2 ปี ศึกษา ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Chinese Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา (มหาวิทยาลัยคู่สัญญา อาทิ Peking University และ Fudan University)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Indian Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐอินเดีย อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา

อ้างอิง

แก้
  1. DMNEWS บล็อกข่าวส่งเสริมคนดี. (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552). วิทยาลัยนานาชาติ"ปรีดี พนมยงค์" มิติใหม่ธรรมศาสตร์ สร้างนักศึกษาสู่ตลาดโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
  2. สถาบันปรีดี พนมยงค์. (2543). ๑๐๐ ปี ปรีดี พนมยงค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
  3. วิชาการ.คอม. (2552). บทสัมภาษณ์คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).