วิชัย แชจอหอ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเอก วิชัย แชจอหอ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม[1] อดีตรองเสนาธิการทหาร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ [2]อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[3]
วิชัย แชจอหอ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จังหวัดนครราชสีมา |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงรัตนาภรณ์ แชจอหอ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 17 (ตท. 17) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร. 28) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย (พ.ศ. 2524 - 2560) กองบัญชาการกองทัพไทย (พ.ศ. 2560 - 2561) กระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2561 - 2562) |
ประจำการ | พ.ศ. 2524 - 2562 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 2 |
พลเอกวิชัยเกิดที่ จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 17 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 28 ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงรัตนาภรณ์ แชจอหอ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ
พลเอกวิชัยเริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2524 มียศ ร้อยตรี [4] ก่อนจะก้าวหน้าทางราชการมาตามลำดับจนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลโทวิชัยขณะมียศเป็น พลตรี และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 2 ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 [5]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลตรีวิชัยซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 ได้ถูกโยกไปดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ 2 [6] พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลโท ในวันเดียวกัน [7]
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 พลโทวิชัยได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 สืบต่อจากพลโทธวัช สุกปลั่งที่ได้ขยับขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกในอัตราพลเอก [8]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พลโทวิชัยได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหาร พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลเอก ในวันเดียวกัน [9]
จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลเอกวิชัยได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 6 เหรียญรามมาลา (ร.ม.)[12]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๑-๕๔ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 62 ง พิเศษ หน้า 15 15 มีนาคม พ.ศ, 2559
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 186 ง พิเศษ หน้า 1 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 176 ง พิเศษ หน้า 1 8 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 831 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 198 ง พิเศษ หน้า 1 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (จำนวน 558 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 22 ข หน้า 1 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 251 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 67 ง พิเศษ หน้า 1 21 มีนาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 990 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 217 ง 1 กันยายน พ.ศ. 2560
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๖๑, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๗๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕