วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (หัวเรื่องท้องถิ่น)

หัวเรื่องท้องถิ่น หมายถึง เรื่องที่น่าจะมีผู้รู้จักในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่จำกัด เช่น นคร เมือง หมู่บ้าน มหานคร หรือพื้นที่จำกัดอื่นที่คล้ายกัน ซ้ำเป็นที่สนใจเฉพาะของผู้ที่อยู่ในพื้นที่อันจำกัดนั้นด้วย วิกิพีเดียให้มีบทความว่าด้วยหัวเรื่องท้องถิ่นได้ แต่บทความเหล่านั้นจะต้องผ่านแนวปฏิบัติว่าด้วยความโดดเด่นทั่วไปของวิกิพีเดีย คือ มีการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ การกล่าวถึงนั้นจะต้องมีความสำคัญ (significant coverage) และไม่ใช่เกร็ด (trivia)

หัวเรื่องท้องถิ่น เช่น บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (เช่น นายกเทศมนตรี) ธุรกิจที่มีลูกค้าในท้องถิ่นเป็นหลัก (เช่น ร้านค้าหัวมุมถนนหรือร้านอาหารครอบครัว) โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่สักการะ สุสาน สวนสาธารณะหรือโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

สำหรับหัวเรื่องที่อยู่ในพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นที่รู้จักกันในระดับชาติหรือนานาชาตินั้น ไม่ถือว่าเป็นหัวเรื่องท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ทัชมาฮาล ซึ่งตั้งอยู่ในอักรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แต่เป็นสัญลักษณ์ทั่วโลก นอกเหนือไปจากอักราที่เดียว

บทนิยาม

แก้

หัวเรื่องท้องถิ่น

แก้

ถือว่าหัวเรื่องหนึ่งเป็น "หัวเรื่องท้องถิ่น" หากแหล่งข้อมูลทั้งหมดของบทความเป็น "แหล่งข้อมูลท้องถิ่น"

หลายพื้นที่มีหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อของที่นั้น ๆ อยู่แล้ว สื่อเหล่านี้มักลอกเรื่องราวของกันและกัน จึงเป็นไปได้ที่หัวเรื่องท้องถิ่นจำนวนมากจะมีสื่อกล่าวถึงมากกว่าหนึ่งสำนัก ในกรณีนี้จะต้องใช้แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของบทความทั่วไปแทน

มิใช่ว่าหัวเรื่องที่ไม่มีความพิเศษในตัวเองทั้งหมดจะมีความโดดเด่นขึ้นมาได้ การจะทำให้หัวเรื่องท้องถิ่นมีความโดดเด่นขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลายแหล่งที่ไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่อง ที่ให้ข้อมูลครอบคลุมในเชิงลึกและมิใช่เกร็ดเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น เป็นมาตรฐานระดับสูง

แหล่งข้อมูลท้องถิ่น

แก้

แหล่งข้อมูลท้องถิ่น หมายถึง แหล่งที่มาของข้อมูลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชมในภูมิศาสตร์ที่จำกัด แหล่งข้อมูลท้องถิ่น เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ชุมชน นิตยสารและวารสารที่เป็นของนคร เมืองหรือภูมิภาคท้องถิ่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ท้องถิ่น (และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง) ตลอดจนเว็บไซต์ที่ให้สื่อแก่พื้นที่

แหล่งข้อมูลท้องถิ่นจะถือเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หากเป็นไปตามเกณฑ์แนวปฏิบัติว่าด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งแหล่งข้อมูลเหล่านี้จะสมเหตุสมผลในการสร้างความโดดเด่น หากมีการครอบคลุมหัวเรื่องในเชิงลึก มิใช่กิจวัตรซ้ำซาก และมิใช่เกร็ด

เงื่อนไขเฉพาะ

แก้
  1. สถานที่ท้องถิ่น (วัด โรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ตลาด ฯลฯ) ซึ่งไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรรวมเนื้อหาเข้ากับพื้นที่ที่ตั้ง
  2. เขตการปกครองขนาดเล็ก (ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ) ควรรวมกับส่วนที่ใหญ่กว่า เช่น ตำบลให้รวมกับบทความอำเภอ
  3. บทความเส้นทางคมนาคมที่มีเนื้อหาเฉพาะ ป้าย สถานี หรือ แยก (รถไฟ/รถไฟฟ้า) ควรรวมเข้ากับบทความสายทางนั้น ๆ
    1. ตัวอย่างบทความสถานี (รถไฟ) ที่ดี เช่น Edmonds station
    2. บทความสถานีซึ่งมีเพียงเนื้อหาที่ไม่ใช่สาระที่สำคัญของตัวสถานี อย่าง สถานที่ใกล้เคียง ตารางเวลาเดินรถ รถประจำทางสายที่ผ่าน แผนผังสถานี ให้รวมกับบทความโครงการหรือลบบทความนั้นหากไม่สามารถรวมกับบทความอื่นได้
  4. บทความเส้นทางเดินรถไฟ/รถไฟฟ้า สายเดียวกันที่สั้นมากให้รวบรวมหลาย ๆ สายเขียนเป็นบทความเดียว
  5. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วตามกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายประจำรัฐ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ให้ถือว่ามีความโดดเด่นไว้ก่อนตามแนวปฏิบัตินี้
    • สำหรับประเทศไทยถือการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเป็นเกณฑ์

ข้อควรปฏิบัติ

แก้

หากบทความหัวเรื่องท้องถิ่นไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่องท้องถิ่นนั้น ๆ ให้แจ้งลบ หรือ แจ้งรวมบทความ ตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ หน้า "ความโดดเด่นของบทความ"