วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565)
ในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ประเทศรัสเซียได้ระดมกำลังทหารประมาณ 100,000 นาย ไปไว้ที่บริเวณพรมแดนของประเทศยูเครน ถือเป็นการระดมกำลังที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ไครเมีย เมื่อปี พ.ศ. 2557 เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ระดับนานาชาติ และมีความกังวลว่าอาจนำไปสู่การยึดครองยูเครน ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนกำลังพล ขีปนาวุธ และอาวุธหุ้มเกราะต่าง ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 รัสเซียได้ทำการถอนกำลังทหารบางส่วนออกไป [5] แต่ในเดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคมก็มีการระดมกำลังทหารประมาณ 100,000 นาย ทำให้มีความตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง[6] มีการวิเคราะห์ว่าวิกฤตินี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีความตึงเครียดมากที่สุดตั้งแต่สงครามเย็น[7][8][9]
วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ยูเครน | |||||||
ภาพการเคลื่อนกำลังทหารของรัสเซีย ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ยูเครน | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
|
ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เกิดการโจมตีโรงเรียนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านสตานิตเซียลูฮานสกาในเขตประเทศยูเครน ด้วยอาวุธปืนใหญ่ คาดว่าผู้ก่อเหตุอาจเป็นกบฎแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนประเทศรัสเซีย[10] มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ 3 ราย[11]
ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ประกาศรับรองความเป็นรัฐเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ พร้อมกับเคลื่อนกำลังทหารไปยังบริเวณดอนบัส ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐทั้งสอง[12][13]
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัสเซียประกาศเริ่มต้นปฏิบัติการทางทหารในยูเครนตะวันออก และทำการบุกครองยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Erdogan Warns Russia Against Invading Ukraine". The Moscow Times. 18 January 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 The Military Balance 2021//International Institute for Strategic Studies
- ↑ Fox, Greg (10 December 2021). "165 members of Florida National Guard in Ukraine". WESH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "Russia Positioning Helicopters, in Possible Sign of Ukraine Plans". The New York Times. 10 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ "The Russian and Ukrainian Spring 2021 War Scare" (ภาษาอังกฤษ). Center for Strategic and International Studies. 21 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- ↑ Anton Troianovski and David E. Sanger, Russia Issues Subtle Threats More Far-Reaching Than a Ukraine Invasion เก็บถาวร 22 มกราคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, New York Times (January 16, 2022).
- ↑ Sanger, David E. (2022-01-10). "In U.S.-Russia Talks, How Far Can Putin Turn Back the Clock?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
- ↑ "Putin to mull options if West refuses guarantees on Ukraine". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
- ↑ Gongloff, Mark (2022-01-13). "Putin Launches an Unwelcome Cold War Reboot". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
- ↑ Ukraine tensions: Three people injured after shell strikes nursery school
- ↑ ยูเครนตะวันออกระอุหนัก 'ปูติน'สุมไฟสั่งทดสอบมิสไซล์
- ↑ Rainford, Sarah (21 February 2022). "Russia recognises Ukraine separatist regions as independent states". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ Roth, Andrew; Borger, Julian (21 February 2022). "Ukraine: Putin orders troops into Donetsk and Luhansk on 'peacekeeping duties'". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Ukraine says Russia has launched 'full scale invasion' — live updates | DW | 24.02.2022". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).