วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (อังกฤษ: Cuban Missile Crisis) คือการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตและประเทศคิวบาอีกฝ่ายหนึ่ง ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นอยู่ในช่วงความตึงเครียดจนเกือบจะกลายไปเป็นสงครามปรมาณู ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามเย็นนอกจากการปิดล้อมเบอร์ลิน[ต้องการอ้างอิง]

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น

ภาพอ้างอิงจากซีไอเอแสดงขีบนาวุธโซเวียตR-12 Dvina (ชื่อเรียกในนาโต SS-4) ในพิธีสวนสนามที่ จัตุรัสแดง, มอสโก ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1962
วันที่14 ตุลาคม – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962
(แต่การปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบาสิ้นสุดในวันที่ 20 พ.ย. 1962)
สถานที่
ผล
  • โซเวียตถอนขีปนาวุธนิวเคลียร์ออกจากคิวบา
  • สหรัฐถอนขีปนาวุธนิวเคลียร์ออกจากตุรกีและอิตาลี
  • เกิดข้อตกลงระหว่างโซเวียตและสหรัฐว่าจะไม่แทรกแทรงคิวบาอีก
  • เกิดโทรศัพท์สายตรงระหว่างมอสโก-วอชิงตัน ที่เรียกว่า "คู่สายนิวเคลียร์"
คู่สงคราม
 สหรัฐ
 ตุรกี
 อิตาลี
สนับสนุนโดย:
 เนโท
 สหภาพโซเวียต
 คิวบา
สนับสนุนโดย:
ภาคีสนธิสัญญาวอร์ซอ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ความสูญเสีย
เครื่องบินจารกรรม U-2 ถูกยิงตก 1 ลำ
อากาศยานเสียหาย 1 ลำ
ประธานาธิบดีเคนเนดี พบปะกับเอกอัครราชทูตโซเวียต อันเดรย์ โกรมืยโค ที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ก่อนเกิดการเผชิญหน้า
แผนที่แสดงรัศมีของการใช้ขีปนาวุธที่คิวบา

การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อภาพถ่ายจากเครื่องบินสังเกตการณ์ ยู-2 ของสหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นฐานปล่อยขีปนาวุธ กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา ภายใต้การปกครองของฟิเดล กัสโตร เพื่อตอบโต้การสร้างฐานขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต

ทางสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการกักกัน ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมคิวบา ห้ามเรือบรรทุกสินค้าทุกลำผ่านเข้ามาในน่านน้ำทะเลแคริบเบียน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1962 หลังจากการเผชิญหน้าผ่านการโต้ตอบทางการทูตอย่างดุเดือด ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี และนายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ ต่างตกลงยินยอมที่จะถอนอาวุธปรมาณูของตนออกจากตุรกีและคิวบาตามลำดับ จากการร้องขอของอู ถั่น ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้น

เบื้องหลัง

แก้

สหรัฐอเมริกาที่หวาดกลัวในการขยายคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต แต่สำหรับประเทศแถบละตินอเมริกา การเป็นมิตรกับสหภาพโซเวียตอย่างเปิดเผยนั้นถูกมองว่าไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ ทำให้สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเป็นศัตรูกันมานับตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 การเข้าไปเกี่ยวข้องเช่นนั้นยังเป็นการปฏิเสธลัทธิมอนโร ซึ่งป้องกันไม่ให้อำนาจในยุโรปเข้ามาแทรกแซงในเรื่องของทวีปอเมริกาใต้

ในปลายปี 1961 ประธานาธิบดีสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดีได้เริ่มปฏิบัติการมองกูซ เป็นหนึ่งในปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลของฟิเดล กัสโตร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[1] และสหรัฐอเมริกายังได้ออกมาตรการห้ามขนส่งสินค้าไปยังคิวบา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962[2]

สหรัฐอเมริกายังได้ทำปฏิบัติการลับและได้ส่งเจ้าหน้าที่ซีไอเอเข้าไป[3] นายพลเคอร์ติส เลอเมย์ได้แสดงแผนการทิ้งระเบิดให้กับเคนเนดีในเดือนกันยายน ในขณะที่การบินสอดแนมและการก่อกวนขนาดเล็กจากฐานทัพเรือกวนตานาโมของสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่คิวบากล่าวโทษต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1962 รัฐบาลคิวบาได้เห็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการรุกรานตน[4] ผลที่ตามมาคือ กัสโตร และนายกรัฐมนตรีของสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ ตกลงที่จะติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์อย่างลับ ๆ ในคิวบา ครุสชอฟรู้สึกว่าการรุกรานของสหรัฐอเมริกาต่อคิวบาเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า และการสูญเสียคิวบาจะส่งผลร้ายแรงของการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในละตินอเมริกา เขากล่าวว่าเขาต้องการเผชิญหน้ากับอเมริกาด้วยขีปนาวุธ[5]

ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ในวันที่ 14 ตุลาคม การลาดตระเวนของสหรัฐอเมริกาไปพบเข้ากับฐานปล่อยขีปนาวุธที่กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา

วิกฤตการณ์จบลงในอีกสองสัปดาห์ถัดมาในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และเลขาธิการสหประชาชาติ อู ถั่น ได้ทำข้อตกลงกับสหภาพโซเวียตเพื่อรื้อการติดตั้งขีปนาวุธเพื่อแลกกับการที่สหรัฐอเมริกาจะยกเลิกการบุกคิวบา ครุสชอฟขอร้องว่าขีปนาวุธจูปิเตอร์ และธอร์ ในตุรกีจะต้องถูกนำออก แต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้นำพวกมันออกจริง ๆ และการร้องขอของเขาถูกเพิกเฉยโดยคณะบริหารของเคนเนดี[6]

เคนเนดีได้สั่งการควบคุมดูแลที่เข้มงวด และอ้างการร่วมมือจากรัฐมนตรีต่างประเทศแห่งองค์การนานารัฐอเมริกัน เคนเนดีได้เรียกการประชุมฉุกเฉินขององค์กรนานารัฐอเมริกันและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว[7]

เครื่องยู-2 ขึ้นบิน

แก้
 
ภายถ่ายจากการบินสอดแนมของยู-2 แสดงให้เห็นขีปนาวุธนิวเคลียร์ในคิวบา ในภาพจะมีรถขนส่งและเต็นท์เชื้อเพลิง

ขีปนาวุธพิสัยกลางเอสเอส-3 ลูกแรกมาถึงในคืนของวันที่ 8 กันยายนและตามมาด้วยลูกที่สองในวันที่ 16 กันยายน ทางโซเวียตได้สร้างฐานยิงขีปนาวุธขึ้นมาเก้าแห่ง หกแห่งสำหรับขีปนาวุธเอสเอส-4 และอีกสามฐานสำหรับขีปนาวุธเอสเอส-5 ซึ่งมีพิสัยการยิงที่ 4,000 กิโลเมตร ตามแผนแล้วจะมีฐานยิงทั้งสิ้น 40 แห่งซึ่งเพิ่มขึ้นจากการโจมตีครั้งแรกถึง 70% ประชาชนของคิวบาได้รับรู้ถึงการมาของขีปนาวุธ โดยมีการรายงานกว่าพันครั้งที่ส่งไปถึงไมอามี่ซึ่งหน่วยข่าวกรองของสหรัฐคิดว่ามันเป็นเรื่องหลอกลวง[8]

ในวันที่ 7 ตุลาคมประธานาธิบดีของคิวบาออสวัลโด ดอร์ติกอสได้กล่าวในการประชุมว่า "หากพวกเราถูกโจมตี เราก็จะทำการป้องกันตนเอง ข้าพเจ้าขอย้ำว่าเราจะป้องกันตัวเองด้วยอาวุธหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาวุธที่เรานั้นไม่อยากจะมีและไม่อยากจะใช้มัน" ปัญหามากมายนั้นแปลว่าสหรัฐยังหาขีปนาวุธเหล่านั้นไม่เจอจนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อเครื่องล็อกฮีด ยู-2 ได้ทำการบินสอดแนมและถ่ายภาพบริเวณก่อสร้างฐานยิงเอสเอส-4 ได้จากซาน คริสโตบัลทางตะวันตกของคิวบา

อเมริกาวางแผนโต้ตอบ

แก้

เคนเนดีได้เห็นภาพถ่ายในวันที่ 16 ตุลาคม[9] เขาได้จัดการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูง 14 คนและน้องชายของเขาโรเบิร์ต เมื่อเวลา 9.00 สหรัฐไม่มีแผนที่จะจัดการกับภัยคุกคามในคิวบา เพราะว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐนั้นเชื่อว่าโซเวียตไม่ได้ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในคิวบา ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รวมกันหาทางออกอย่างเร่งด่วนขึ้นมา 5 วิธี ได้แก่

  1. ไม่ทำอะไรเลย
  2. ใช้การเจรจาทางการทูตเพื่อกดดันให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธ
  3. ใช้การโจมตีทางอากาศต่อขีปนาวุธ
  4. ใช้กองทัพเข้าบุก
  5. ทำการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบา ซึ่งจัดว่าเป็นการปิดกันประเทศอย่างจำกัด[10]

ด้วยความเต็มใจหัวหน้าเจ้าหน้าที่ได้ตกลงที่จะทำการเข้าโจมตีเต็มกำลังและเป็นการแก้ไขปัญหาเพียงทางเดียว พวกเขาเห็นพ้องกันว่าโซเวียตจะไม่ขัดขวางอเมริกาจากการเข้ายึดครองคิวบา เคนเนดีนั้นสงสัยในเรื่องนี้ เขาจึงกล่าวว่า

พวกเขาสามารถปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ตามที่พวกเขากล่าว พวกเขาไม่สามารถยอมให้พวกเราจัดการกับขีปนาวุธของพวกเขา สังหารชาวรัสเซีย และไม่ทำอะไรเลย หากพวกเขาไม่ทำอะไรสักอย่างในคิวบา พวกเขาจะต้องทำอะไรสักอย่างในเบอร์ลินแน่นอน[11]

เคนเนดีสรุปว่าการโจมตีทางอากาศจะเป็นการให้ "ไฟเขียว" กับโซเวียตในการเข้ายึดครองเบอร์ลิน เขาเสริมด้วยว่าในการทำเช่นนั้นพันธมิตรของสหรัฐจะคิดว่าสหรัฐเป็นคนจุดชนวนในการสูญเสียเบอร์ลิน เพราะพวกเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาในคิวบาด้วยสันติวิธีได้[ต้องการอ้างอิง]

 
ประธานาธิบดีเคนเนดีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมแมคนามาร่าในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ

จากนั้นในการประชุมได้มีการหารือถึงผลที่จะกระทบความสมดุลทางยุทธศาสตร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่เชื่อว่าขีปนาวุธจะเป็นตัวถ่วงสมดุลอย่างมาก แต่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโรเบิร์ต แมคนามาร่าไม่เห็นด้วยในเรื่องนั้น เขาเชื่อว่าขีปนาวุธจะไม่ส่งผลใด ๆ ในด้านยุททธศาสตร์ ส่วนฐานยิงอีก 40 ฐานนั้นจะสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในภาพรวมของความสมดุลด้านยุทธศาสตร์ สหรัฐนั้นมีหัวรบมากกว่า 5,000 หัวรบอยู่แล้วในขณะที่โซเวียตมีเพียง 300 เท่านั้น เขาสรุปว่าการที่โซเวียตมีเพิ่มขึ้นอีก 40 เป็น 340 ลูกนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงสมดุลด้านยุทธศาสตร์เลยแม้แต่น้อย ในปีค.ศ. 1990 เขาพูดซ้ำอีกว่า "มันจะไม่สร้างความแตกต่างใด ๆ กองทัพจะไม่เสียสมดุล ผมไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปได้ทั้งเมื่อก่อนและในตอนนี้"[12]

อย่างไรก็ตามสภาความมั่นคงแห่งชาติก็เห็นด้วยว่าขีปนาวุธจะส่งผลกระทบในด้านสมดุลการเมือง อย่างแรกเคนเนดีได้ให้สัญญากับประชาชนอเมริกันไม่นานก่อนหน้านี้ว่า "หากคิวบานั้นมีความสามารถพอที่จะทำการโจมตีสหรัฐ สหรัฐก็จะทำการตอบโต้"[13] ประการที่สองความน่าเชื่อถือของสหรัฐท่ามกลางเหล่าพันธมิตรและประชาชนอเมริกันจะได้รับผลกระทบในด้านลบหากพวกเขายอมให้สหภาพโซเวียตมาเปลี่ยนแปลงสมดุลด้านยุทธศาสตร์ด้วยการติดตั้งขีปนาวุธในคิวบา เคนเนดีได้ชี้แจงหลังจากวิกฤตการณ์ว่า "มันอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมดุลการเมือง มันอาจส่งผลให้เห็นในทางความเป็นจริง"[14]

ดังนั้นการบุกเต็มรูปแบบจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี แต่ต้องมีใครลงมือทำอะไรสักอย่าง โรเบิร์ต แมคนามาร่าได้สนับสนุนการปิดกั้นทางทะเลด้วยการที่มันเป็นทางเลือกที่มีกำลังแต่ก็จำกัดทางกองทัพให้อยู่ในการควบคุม ตามกฎหมายนานาชาติแล้วการปิดกั้นนั้นเป็นการกระทำของสงคราม แต่เคนเนดีไม่คิดว่ามันมีข้อจำกัดเพียงเท่านั้น เขาคิดว่าสหภาพโซเวียตจะไม่ถูกกระตุ้นให้ทำการโจมตีเพราะเพียงแค่มีการปิดกั้นเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ในวันที่ 19 ตุลาคม การบินสอดแนมของยู-2 แสดงให้เห็นฐานยิงขีปนาวุธสี่แห่ง ในส่วนหนึ่งของการปิดกั้นกองทัพสหรัฐได้เตรียมตัวพร้อมอย่างมากในการใช้กำลังบังคับในการปิดกั้นและพร้อมสำหรับการเข้าบุกคิวบา กองพลยานเกราะที่ 1 ถูกส่งไปที่จอร์เจียและกองทัพบกห้ากองพลเตรียมพร้อมที่จะเข้าบุก ฝ่ายศูนบ์บัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศได้ส่งเครื่องบินทิ้งขนาดกลางบี-47 สตราโตเจ็ทไปยังสนามบินพลเรือนและเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักบี-52 สตราโตฟอร์เทรสเข้าสู่การเตรียมพร้อม

การกักประเทศ

แก้

ตามธรรมเนียมในทางปฏิบัติแล้วการปิดกั้นนั้นเป็นการขัดขวางเรือทุกประเภทไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ที่ถูกปิดกั้น และจัดว่าเป็นการกระทำของสงคราม การกักประเทศนั้นดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ในกรณีนี้จะมีการใช้อาวุธอย่างจำกัด

เคนเนดีได้จัดการปราศรัยขึ้นซึ่งเขาได้กล่าวว่า "เพื่อหยุดการโจมตีเหล่านี้ การกักเรืออย่างเข้มงวดจึงจะเริ่มขึ้นในคิวบา" "1962 Year In Review: Cuban Missile Crisis"

ในเอกสารของนายพลเรือแอนเดอร์สันได้แสดงความแตกต่างระหว่างการจำกัดการใช้อาวุธและการจำกัดทุกอย่าง โดยแสดงให้เห็นว่าการปิดกั้นแบบทั่วไปนั้นไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาตั้งใจจะทำ ด้วยการที่มันเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในน่านน้ำสากล ประธานาธิบดีเคนเนดีจึงทำการอนุญาตกองทัพให้ปฏิบัติการภายใต้สนธิสัญญาการป้องกันของสหรัฐ เมื่อเวลา 19.00 ของวันที่ 22 ตุลาคม ประธานาธิบดีเคนเนดีได้ปราศรัยทางวิทยุโดยประกาศถึงการค้นพบตำแหน่งของขีปนาวุธ

วิกฤติทวีความรุนแรง

แก้

เพียงหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นเมื่อเวลา 11:24 มีการส่งโทรเลขโดยจอร์จ บอลไปยังสถานทูตอเมริกาในตุรกีและสถานทูตอเมริกาส่งต่อให้กับนาโต้โดยระบุว่าพวกเขาต้องการยื่นข้อเสนอที่จะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีเพื่อแลกกับการที่อีกฝ่ายถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา ต่อมาในเช้าของวันที่ 25 ตุลาคมนักข่าวชื่อวอลเตอร์ ลิปป์แมนได้เสนอทางออกเดียวกันในหนังสือพิมพ์ของเขา

ในช่วงที่วิกฤติยังดำเนินต่อไป ในค่ำนั้นโซเวียตได้รายงานถึงการแลกเปลี่ยนข้อตกลงผ่านทางโทรเลขระหว่างครุสชอฟและเบิร์ตแรนด์ รัสเซล ซึ่งครุสชอฟได้เตือนว่าการกระทำเยื่ยงโจรสลัดของสหรัฐจะนำไปสู่สงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 21:24 มีโทรเลขจากครุชเชฟถึงเคนเนดีซึ่งได้รับเมื่อเวลา 22:52 ซึ่งครุสชอฟได้บอกถึงการที่สหภาพโซเวียตจะปฏิเสธทุกการกระทำตามอำเภอใจของสหรัฐ และมองว่าการปิดกั้นทางทะเลเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวและเรือของพวกเขาจะได้รับคำสั่งให้เพิกเฉย

ในคืนของวันที่ 23 ตุลาคมเหล่าหัวหน้าเจ้าหน้าที่ได้สั่งการฝ่ายบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศให้ไปยังเดฟคอน 2 (DEFCON 2) เพื่อเพียงยืนยันเวลา ข้อความและการโต้ตอบถูกส่งแบบถอดรหัสเพื่อทำให้หน่วยข่าวกรองของโซเวียตได้รับมัน[1] เรดาร์เตรียมพร้อม แต่ละฐานต่อสายตรงสู่ศูนย์บัญชาการการป้องกันทางอากาศในอเมริกาเหนือ

เมื่อเวลา 01:45 ของวันที่ 25 ตุลาคมเคนเนดีได้ตอบโทรเลขของครุสชอฟด้วยการกล่าวว่าสหรัฐถูกบังคับให้ทำการหลังจากที่ได้รับการยืนยันว่าไม่มีขีปนาวุธที่พร้อมโจมตีใด ๆ ในคิวบา และเมื่อการยืนยันเหล่านั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิดพลาดเขาหวังว่ารัฐบาลของโซเวียตจะกระทำการที่จำเป็นเพื่อทำให้สถานการณ์กลับไปเป็นปกติ

 
แผนที่ที่ใช้โดยกองทัพเรือสหรัฐในแอตแลนติก มันแสดงให้เห็นตำแหน่งเรือของฝ่ายอเมริกาและโซเวียตที่ช่วงที่วิกฤตการณ์ถึงจุดเดือด

เมื่อเวลา 07:15 เรือยูเอสเอส เอสเซ็กซ์และยูเอสเอส เกียร์ริ่งได้พยายามเข้าสกัดกั้นเรือชื่อบูชาเรสท์แต่ล้มเหลว เรือบรรทุกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารจะสามารถผ่านการปิดกั้นไปได้ หลังจากวันนั้นเมื่อเวลา 17:43 ผู้บัญชาการการปิดกั้นได้สั่งการให้เรือยูเอสเอส เคนเนดีเข้าสกัดกั้นและเข้ายึดเรือของเลบานอน หลังจากที่เรือลำดังกล่าวถูกตรวจก็ผ่านไปได้

เมื่อเวลา 17:00 นายวิลเลียม คลีเมนท์ได้ประกาศว่าขีปนาวุธในคิวบายังคงทำงานอยู่ ต่อมารายงานนี้ได้รับการตรวจสอบโดยซีไอเอที่แนะว่าขีปนาวุธนั้นไม่เคยหยุดทำงานเลย เคนเนดีตอบโต้ด้วยการสั่งการให้เครื่องบินทุกลำติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์

เช้าวันต่อมาเคนเนดีได้รายงานต่อคณะกรรมการบริหารว่าเขาเชื่อว่าเพียงแค่การบุกก็เพียงพอแล้วในถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา อย่างไรก็ตามเขาถูกโน้มน้าวให้ใช้เวลาและใช้การเจรจาทางการทูต เขาเห็นด้วยและสั่งการให้การบินที่ระดับต่ำเหนือเกาะมีทุก ๆ สองชั่วโมง เขายังวางแผนให้มีการตั้งรัฐบาลใหม่ของคิวบาขึ้นมาหากเกิดการบุก

เมื่อมาถึงจุดนี้วิกฤตการณ์ยังคงเป็นการคุมเชิงอยู่ สหภาพโซเวียตไม่แสดงสัญญาณใด ๆ ที่ว่าพวกเขาจะยอมจำนนและยังเข้าการขัดขวางอีกด้วย สหรัฐไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อในทางตรงกันข้ามและยังอยู่ในช่วงแรกของการเตรียมเข้าบุก พร้อมกับการใช้นิวเคลียร์โจมตีโซเวียตในกรณีโซเวียตใช้กำลังทางทหารเข้าโต้ตอบ[15]

วิกฤติดำเนินต่อ

แก้
การโจมตีคิวบาโดยตรงจะทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ อเมริกาพูดถึงการโจมตีดังกล่าวอย่างไม่รับรู้ความจริง สำหรับผมแล้วพวกเขาจะแพ้สงครามอย่างไม่ต้องสงสัย
 
เช เกบารา ตุลาคม 1962[16]
 
เอส-75 ดวิน่ากับขีปนาวุธวี-750วี 1ดีบนแท่นยิง มันเป็นขีปนาวุธที่คล้ายกับลูกที่ยิงเครื่องบินยู-2 ของผู้พันแอนเดอร์สันตกในคิวบา

ในอีกทางหนึ่งกัสโตรเชื่อว่าการบุกจะเริ่มขึ้นในไม่ช้า และได้ส่งจดหมายไปยังครุสชอฟซึ่งดูเหมือนว่าให้มีการเข้าโจมตีสหรัฐ เขายังได้สั่งการให้อาวุธต่อต้านอากาศยานทุกชิ้นในคิวบายิงใส่เครื่องบินของสหรัฐทุกลำที่ผ่านเข้ามา เมื่อเวลา 06:00 ของวันที่ 27 ตุลาคม ซีไอเอได้ส่งรายงานว่ามีที่ตั้งของขีปนาวุธสี่แห่งที่ซาน คริสโตบัลและอีกสองแห่งที่ซากู ลา กรองซึ่งดูเหมือนว่าจะพร้อมสำหรับการใช้งาน พวกเขายังแนะว่ากองทัพของคิวบานั้นยังคงเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับคำสั่งให้นิ่งเฉยหากไม่ได้ถูกโจมตีก่อน

เมื่อเวลา 09:00 ที่มอสโคว์เริ่มมีการประกาศกระจายเสียงทางวิทยุซึ่งเป็นข้อความจากครุสชอฟ ตรงกันข้ามกับจดหมายเมื่อคืนก่อน ข้อความนั้นได้เสนอการแลกเปลี่ยนแบบใหม่ ว่าด้วยการที่ขีปนาวุธในคิวบาจะถูกถอนออกเพื่อแลกกับการที่อเมริกาถอนขีปนาวุธจูปิเตอร์ออกจากตุรกี ตลอดช่วงวิกฤตการณ์ตุรกีได้แถลงการซ้ำหลายครั้งว่ามันอาจเป็นการพ่ายแพ้หากขีปนาวุธจูปิเตอร์ถูกถอนออกจาประเทศของพวกเขา เมื่อเวลา 10:00 คณะกรรมการบริการทำการประชุมอีกครั้งเพื่อหารือสถานการณ์และได้ข้อสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของข้อความนั้นเกิดขึ้นจากการขัดแย้งกันภายในระหว่างครุสชอฟกับสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในเครมลิน[17] แมคนามาร่าได้เตือนว่ามีเรือบรรทุกอีกลำอยู่ห่างไปประมาณ 970 กิโลเมตรที่ควรถูกสกัดกั้น เขายังบอกด้วยว่าพวกเขาไม่ได้ทำให้สหภาพโซเวียตตื่นตระหนกถึงเส้นกักกันและแนะว่าให้ส่งข้อมูลเหล่านี้ผ่านทางอู ถั่นที่ยูเอ็น

 
เครื่องบินสอดแนมยู-2 ของกองทัพอากาศสหรัฐเป็นเครื่องบินที่ถูกยิงตกในคิวบา เครื่องบินในปี 1962 นั้นจะทำสีเป็นสีเทาทั้งลำ

ในขณะที่การประชุมดำเนินต่อไป เมื่อเวลา 11:03 ได้มีข้อความใหม่จากครุสชอฟเข้ามา ในส่วนหนึ่งของข้อความกล่าวไว้ว่า "ท่านกำลังสร้างความรบกวนเหนือคิวบา ท่านกล่าวว่าสิ่งนี้รบกวนท่านเพราะมันอยู่ห่างจากชายฝั่งของสหรัฐเพียง 90 ไมล์ แต่ท่านกลับติดตั้งขีปนาวุธพลังทำลายล้างสูงของท่านไว้ในตุรกี ใกล้กับเรา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอทำการต่อรองดังนี้ เราเต็มใจที่จะถอนขีปนาวุธที่ท่านมองว่าเป็นการคุกคามออกจากคิวบา ตัวแทนของท่านจะทำการประกาศว่าสหรัฐจะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีเช่นกัน และหลังจากนั้นบุคลากรที่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเชื่อถือจะสามารถตรวจสอบข้อตกลงเหล่านี้ได้" กระนั้นคณะกรรมการบริหารก็ยังคงดำเนินการประชุมต่อไปตลอดทั้งวัน

 
เครื่องยนต์ของล็อกฮีด ยู-2 ที่ถูกยิงตกในคิวบา มันถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติในอาบานา

เช้าวันนั้นเครื่องยู-2 ที่บินโดยผู้พันรูดอล์ฟ แอนเดอร์สันบินออกจากฐานบินแมคคอยในฟลอริดา และเมื่อเวลา 12:00 ตามเวลามาตรฐานตะวันออก เครื่องบินก็ถูกยิงตกโดยมิสไซล์ผิวพื้นสู่อากาศเอส-75 ดวิน่าที่ยิงจากฐานในคิวบา ความตึงเครียดในการต่อรองระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐเริ่มมีมากขึ้น และต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่าคำสั่งให้ยิงเกิดขึ้นโดยผู้บัญชาการของโซเวียตที่อยู่ในท้องที่ ต่อมาเมื่อเวลา 15:41 เอฟ-8 ครูเซเดอร์ของกองทัพเรือสหรัฐหลายลำถูกส่งไปทำภารสอดแนมและถ่ายรูป และมีหนึ่งลำที่ถูกยิงโดยกระสุนขนาด 37 ม.ม.แต่สามารถบินกลับฐานได้ เมื่อเวลา 16:00 เคนเนดีได้เรียกคณะกรรมการบริหารมาที่ทำเนียบขาวและได้สั่งการให้ส่งข้อความไปยังอู ถั่นทันที โดยให้ถามว่าโซเวียตจะระงับงานขีปนาวุธไว้ขณะทำการต่อรองได้หรือไม่ ขณะมีการประชุมนายแมกซ์เวลล์ เทย์เลอร์ได้ส่งข่าวว่าเครื่องยู-2 ถูกยิงตก ก่อนหน้านั้นเคนเนดีตั้งใจว่าหากมีการยิงเกิดขึ้นเขาจะเปิดฉากการโจมตีทันที แต่เขาตัดสินใจที่จะไม่ทำการใด ๆ ยกเว้นจะมีการยิงอีกครั้งเกิดขึ้น ในการสัมภาษณ์อีก 40 ปีต่อมา แมคนามาร่าให้การว่า:

เราต้องส่งยู-2 ออกไปเพื่อหาข้อมูล ไม่ว่าขีปนาวุธของโซเวียตนั้นจะพร้อมใช้งานหรือไม่ เราเชื่อว่าหามันถูกยิงตกก็คงไม่ใช่ฝีมือของคิวบาแต่เป็นโซเวียตมากกว่า มันถูกยิงตกโดยมิสไซล์ผิวพื้นสู่อากาศของโซเวียต และมันจะถูกมองโดยโซเวียตว่าเป็นการเพิ่มความขัดแย้ง ดังนั้นก่อนที่เราจะส่งยู-2 ออกไปเราตกลงกันว่าหากมันถูกยิงตกเราจะไม่ทำการประชุมใด ๆ เราจะเข้าโจมตีเลย มันถูกยิงตกในวันศุกร์ [...] โชคดีที่เราเปลี่ยนใจ เราคิดว่ามันอาจเป็นอุบัติเหตุก็ได้ เราจะไม่โจมตี ต่อมาเราได้รู้ว่าครุสชอฟให้เหตุผลเหมือนกับที่เราคิดเอาไว้ เราส่งยู-2 ออกไป หากมันถูกยิงตก เขาให้เหตุผลว่าเราจะเชื่อว่ามันเป็นการจงใจ ดังนั้นเขาจึงสั่งให้ปลิเยฟ ผู้บัญชาการที่อยู่ในคิวบา ว่าห้ามยิงยู-2[18]

ร่างการโต้ตอบ

แก้

ตัวแทนจากทั้งเคนเนดีและครุสชอฟได้ตกลงที่จะพบกันในร้านอาหารจีนชื่อเยนฉิงในคลีฟแลนด์พาร์คใกล้กับกรุงวอชิงตัน[19] เคนเนดีแนะว่าพวกเขาจะยอมรับข้อเสนอของครุสชอฟเพื่อแลกเปลี่ยนขีปนาวุธ สมาชิกส่วนมากของเอ็กซ์คอมม์ (EXCOMM) ไม่รู้ว่าโรเบิร์ต เคนเนดีได้ประชุมกับสถานทูตของสหภาพโซเวียตในวอชิงตันเพื่อค้นหาว่าความตั้งใจเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่ เอ็กซ์คอมม์นั้นมักไม่เห็นด้วยกับการยื่นข้อเสนอเพราะว่ามันจะเป็นการทำให้นาโต้เสื่อมลง และรัฐบาลตุรกีได้แถลงการซ้ำหลายครั้งว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนดังกล่าว

เมื่อการประชุมดำเนินไปก็ได้มีแผนใหม่เกิดขึ้นและเคนเนดีก็ถูกโน้มน้าวอย่างช้า ๆ แผนใหม่นี้เป็นการเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเพิกเฉยต่อข้อความล่าสุดและตอบข้อความก่อนหน้าของครุสชอฟแทน เคนเนดีลังเลใจในตอนแรก เขารู้สึกว่าครุสชอฟจะไม่ยอมรับข้อเสนออีกต่อไปเพราะว่ามีข้อตกลงใหม่เกิดขึ้น แต่เลิลเวลลีน ทอมป์สันเถียงว่ายังไงครุสชอฟก็ต้องตกลงอยู่ดี ที่ปรึกษาพิเศษของทำเนียบขาวธีโอดอร์ ซอร์เรนเซ่นและโรเบิร์ต เคนเนดีออกจากการประชุมและกลับมาหลังจาก 45 นาทีผ่านไปพร้อมกับร่างจดหมาย ประธานาธิบดีทำการเปลี่ยนแปลงมากมาย พิมพ์ และส่งมันออกไป หลังจากการประชุมของเอ็กซ์คอมม์ก็มีการประชุมที่เล็กกว่าดำเนินต่อในห้องประชุม กลุ่มถกเถียงว่าจดหมายควรได้รับการเน้นคำพูดให้กับสถานทูตดอบรีนินที่กล่าวว่าหากขีปนาวุธไม่ถูกถอนออก จะมีการใช้กำลังทางทหารเพื่อนำมันออกแทน ดีน รัสก์ได้เพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกด้วยว่าไม่มีส่วนใดในการตกลงที่พูดถึงตุรกี แต่จงเข้าใจด้วยว่าขีปนาวุธจะถูกถอนออกอย่างเต็มใจทันทีที่วิกฤตการณ์จบสิ้นแล้ว ประธานาธิบดีเห็นด้วยและส่งข้อความดังกล่าวออกไป

 
การประชุมของเอ็กซ์คอมม์ในช่วงวิกฤตการณ์คิวบา ในภาพมีประธานาธิบดีเคนเนดี รัฐมนตรีต่างประเทศรัสก์ และรัฐมนตรีกลาโหมแมคนามาร่าในห้องประชุมที่ทำเนียบขาว

ตามการร้องขอ ฟอมินและสกาลีได้มาพบกันอีกครั้ง สกาลีถามว่าทำไมจดหมายทั้งสองฉบับจากครุสชอฟจึงแตกต่างกันนัก ฟอมินอ้างว่ามันเป็นเพราะ"การสื่อสารที่แย่" สกาลีตอบกลับว่าคำอ้างนั้นไม่น่าเชื่อถือและตะโกนว่ามันคือการหักหลัง เขาอ้างว่าการบุกจะเริ่มภายในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งจุดนั้นเองฟอมินได้กล่าวว่าการตอบข้อความของสหรัฐถูกคาดการณ์โดยครุสชอฟไม่นานนัก และเขาผลักดันให้สกาลีบอกกับกระทรวงการต่างประเทศว่าไม่มีการทรยศใด ๆ ทั้งสิ้น สกาลีกล่าวว่าเขาไม่คิดว่าจะมีใครเชื่อเขา แต่เขาก็ตกลงที่จะส่งข้อความดังกล่าว ทั้งสองแยกทางกันไป สกาลีรีบเขียนบันทึกส่งให้กับเอ็กซ์คอมม์ทันที

ภายในสหรัฐเป็นที่เข้าใจกันดีว่าการเพิกเฉยข้อเสนอครั้งที่สองและกลับไปใช่ข้อเสนอแรกจะทำให้ครุสชอฟต้องตกที่นั่งลำบาก การเตรียมการทางทหารยังคงดำเนินต่อไปและนายทหารอากาศถูกเรียกกลับฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการ ต่อมาโรเบิร์ต เคนเนดีได้แสดงความคิดของเขาว่า "เราไม่ได้ละทิ้งความหวังเสียหมด แต่ความหวังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใหม่ของครุสชอฟในอีกไม่กี่ชั่วโมง มันคือความหวังไม่ใช่การคาดหมาย การคาดหมายคือการเผชิญหน้าทางทหารในวันอังคาร และอาจเป็นพรุ่งนี้"

เมื่อเวลา 20:05 จดหมายถูกร่างขึ้นมาก่อนที่จะถูกส่ง ในจดหมายมีข้อความดังนี้ "เมื่อข้าพเจ้าได้จดหมายของท่าน ตามข้อเสนอของท่าน ซึ่งดูเหมือนเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นดังนี้ 1) ท่านจะต้องยินยอมที่จะถอนระบบอาวุธออกจากคิวบาภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ และสัญญาว่าจะไม่นำเอาอาวุธเช่นนั้นเข้ามาในคิวบาอีก 2) ในทางเราจะยินยอมตามข้อตกลงผ่านทางสหประชาชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการรับผิดชอบการกระทำต่อไปนี้ (a) เพื่อที่จะยกเลิกการกักกัน และ (b) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการบุกคิวบา"

เมื่อจดหมายถูกส่งออกไปก็มีข้อตกลงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามตามที่โรเบิร์ต เคนเนดีบันทึกเอาไว้ ว่ามีการคาดหวังเล็กน้อยที่ว่าจดหมายนั้นจะได้การตอบรับ เมื่อเวลา 21:00 เอ็กซ์คอมม์ทำการประชุมอีกครั้งเพื่อทบทวนการกระทำสำหรับวันต่อไป มีการร่างแผนสำหรับการโจมตีทางอากาศเข้าใส่ฐานขีปนาวุธและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่คลังปิโตรเลียม แมคนามาร่ากล่าวว่าพวกเขาต้องมี 2 สิ่งที่พร้อมเสมอ นั่นคือรัฐบาลสำหรับคิวบาและแผนสำหรับการโต้ตอบสหภาพโซเวียตในยุโรป เพราะว่าพวกโซเวียตต้องทำอะไรสักอย่างในยุโรปแน่นอน

เมื่อเวลา 24:00 ของวันที่ 27 ตุลาคม สหรัฐได้รายงานต่อนาโต้ว่าสถานการณ์กำลังสั่นลง สหรัฐอาจพบว่ามันจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในตะวันตกให้ใช้กำลังทางทหารหากจำเป็น เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เมื่อเวลา 06:00 ซีไอเอได้รายงานว่าขีปนาวุธทุกลูกในคิวบาพร้อมใช้งานแล้ว

ในวันที่ 27 ตุลาคม กองทัพเรือสหรัฐได้หย่อนระเบิดน้ำลึกหลายชุดเข้าใส่เรือดำน้ำของโซเวียตในเขตกักกัน โดยไม่ระวังว่ามันจะติดตั้งตอร์ปิโดหัวรบนิวเคลียร์ที่พร้อมได้รับคำสั่งให้โจมตีเมื่อถูกระเบิดน้ำลึก[20]

จุดจบของวิกฤติในปี 1962

แก้

หลังจากไตร่ตรองอย่างหนักระหว่างสหภาพโซเวียตและคณะรัฐมนตรีของเคนเนดี เคนเนดีเห็นด้วยอย่างลับ ๆ ที่จะถอนขีปนาวุธทั้งหมดในตุรกีตามแนวชายแดนโซเวียตเพื่อแลกกับการที่ครุสชอฟนำขีปนาวุธออกจากคิวบา

เมื่อเวลา 09:00 ของวันที่ 28 ตุลาคม มีข้อความใหม่จากครุสชอฟถูกกระจายเสียงทางวิทยุของมอสโคว์ ครุสชอฟได้กล่าวว่า "รัฐบาลของโซเวียตได้ตกลงที่จะหยุดการสร้างฐานยิงอาวุธ และได้ประกาศคำสั่งใหม่ให้รื้อถอนอาวุธที่พวกท่านมองว่าเป็นภัยคุกคามและส่งพวกมันกลับสหภาพโซเวียต"

เคนเนดีตอบรับในทันทีด้วยการแถลงการทางจดหมายว่ามันเป็นการช่วยรักษาความสงบ เขายังว่าต่อด้วยว่าจดหมายฉบับก่อน ๆ ที่ว่า "ข้าพเจ้าตัดสินใจส่งจดหมายให้ท่านในวันที่ 27 ตุลาคมและการตอบรับของท่านในวันนี้เป็นการยืนยันสัญญาของรัฐบาลทั้งสองซึ่งควรจะคงอยู่ต่อไป... สหรัฐจะทำการแถลงในขอบข่ายงานของสภาความมั่นคงเพื่ออ้างอิงถึงคิวบา มันจะเป็นที่ชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่รุกล้ำเขตแดนและอำนาจของคิวบา ซึ่งจะไม่ก้าวก่ายงานภายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการรุกรานและไม่ใช่เพื่ออนุญาตให้ใช้อาณาเขตของสหรัฐเป็นหัวหอกในการโจมตีคิวบา และจะยับยั้งผู้ที่วางแผนจะโจมตีคิวบา"[21]

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากข้อตกลงของเคนเนดีและคุรสชอฟคือมันได้ทำให้ตำแหน่งของกัสโตรแข็งแกร่งขึ้นอย่างมากในคิวบา ซึ่งเขาจะไม่ถูกรุกล้ำโดยสหรัฐ มันเป็นไปได้ที่ครุสชอฟนำขีปนาวุธเข้าคิวบาเพียงเพื่อที่จะทำให้เคนเนดีถอนขีปนาวุธออกจากตุรกี และโซเวียตนั้นไม่มีเจตนาในการเริ่มสงครามนิวเคลียร์หาพวกเขามีอาวุธน้อยกว่าฝ่ายอเมริกา อย่างไรก็ตามเนื่องมาจากการถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะในเวลานั้น ครุสชอฟจึงดูเหมือนว่าพ่ายแพ้และกลายเป็นคนอ่อนแอ แนวคิดคือเคนเนดีมีชัยในการแข่งขันทางอำนาจและครุสชอฟก็ต้องอับอาย อย่างไรก็ดีครุสชอฟก็ยังครองอำนาจไปอีก 2 ปี[21]

ผลสืบเนื่อง

แก้

การประนีประนอมเป็นสิ่งที่น่าอายอย่างมากสำหรับครุสชอฟและสหภาพโซเวียต เพราะว่าการถอนขีปนาวุธของสหรัฐออกจากตุรกีนั้นไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ—มันเป็นเพียงการตกลงอย่างลับ ๆ ระหว่างครุสชอฟกับเคนเนดีเท่านั้น ชาวรัสเซียมองว่ามันเป็นการถอยออกจากสถานการณ์ที่พวกเขาได้เริ่มเอาไว้—แม้ว่าหากพวกเขาทำตามแผนได้ดี ผลที่ออกมาอาจตรงกันข้าม การสิ้นสุดอำนาจของครุสชอฟอีก 2 ปีต่อมาสามารถโยงไปถึงความน่าอับอายของคณะกรรมการโพลิทบูโรเพราะการยอมแพ้ต่อสหรัฐของครุสชอฟและการที่เขาไม่มีคุณสมบัติในการรับมือกับวิกฤติได้ทันท่วงที อย่างไรก็ดีวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาไม่ใช้เพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้คุรสชอฟสิ้นอำนาจ เหตุผลหลักมากจากนักการเมืองคู่แข่งอย่างเลโอนิด เบรจเนฟที่เชื่อว่าครุสชอฟมีอำนาจไม่มากพอที่จะรับมือกับปัญหาข้ามชาติ[ต้องการอ้างอิง].

สำหรับคิวบามันคือการหักหลังของโซเวียต ด้วยวิธีการที่โซเวียตตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหานั้นมาจากเคนเนดีและครุสชอฟ สิ่งนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตและคิวบาเสื่อมลงในอีกหลายปีต่อมา[22] ในอีกทางหนึ่งคิวบาก็ยังคงได้รับการป้องกันจากการเข้าบุก

ผู้บัญชาการของสหรัฐนายหนึ่งไม่ยินดีกับผลที่ออกมาเช่นกัน นายพลเลอร์เมย์บอกกับประธานาธิบดีว่ามันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐ และเขาว่าสหรัฐน่าจะเข้าโจมตีทันที

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาเป็นการกระตุ้นให้เกิดการต่อรองสายด่วน ซึ่งทำให้เกิดสายด่วนจากวอชิงตันถึงมอสโคว์ เป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างวอชิงตันกับมอสโคว์ จุดประสงค์คือการที่ผู้นำจากสองประเทศแห่งสงครามเย็นสามารถสื่อสารกันได้โดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหา

นักวิจารณ์มากมายยังแนะว่าวิกฤตการณ์นี้ได้กระตุ้นให้สหรัฐใช้กำลังทางทหารมากขึ้น อย่างในสงครามเวียดนาม

การเผชิญหน้าระหว่างอเมริกาและรัสเซียครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับสงครามจีน-อินเดีย นักประวัติศาสตร์มองว่าการที่จีนโจมตีอินเดียด้วยเหตุกผลความขัดแย้งเรื่องพื้นที่นั้น ตรงกับวิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบา[23]

วัฒนธรรมอื่น

แก้

จากเหตุการณ์ในวิกฤตการณ์ดังกล่าว ต่อมามีการสร้างภาพยนตร์ที่กล่าวถึงวิกฤตการณ์นี้ในปี พ.ศ. 2543 ชื่อเรื่อง Thirteen Days ตั้งชื่อตามชื่อหนังสือ Thirteen Days: A Memoir of the Cuban Missile Crisis ที่เขียนโดย โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี เมื่อ พ.ศ. 2512

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Franklin, Jane, [excerpts from] The Cuban Missile Crisis - An In-Depth Chronology, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-11, สืบค้นเมื่อ 2009-06-23
  2. The American Presidency Project. "Proclamation 3447—Embargo on all trade with Cuba".
  3. Shadow Warrior: The CIA Hero of 100 unknown battles, Felix Rodriguez and John Weisman, Publisher: Simon & Schuster, October 1989, ISBN 978-0-671-66721-4
  4. Cuban resolution,october U.S. Public Law 87-733, S.J. Res. 230
  5. quote in Weldes, J. - "Constructing National Interests: The United States and the Cuban Missile Crisis" University of Minnesota Press, 1999 p.29
  6. Mark J. White, The Cuban Missile Crisis (London: Macmillan Press Ltd, 1996), p. 228
  7. Schlesinger, Arthur Jr (1965), A Thousand days: John F Kennedy in the White House
  8. Interview with Sidney Graybeal - 29.1.98, vol. George Washington University National Security Archive
  9. Revelations from the Russian Archives
  10. Allison, Graham (1999). Essence of Decision. Pearson Education. pp. 111–116. ISBN 0-321-01349-2.
  11. Kennedy, Robert (1971). Thirteen Days: A memoir of the Cuban Missile Crisis. W.W. Norton & Company. p. 14. ISBN 0-393-09896-6.
  12. Blight, J. & Welch, D. - 'On the Brink: Americans and Soviets Reexamine the Cuban Missile Crisis' Noonday Press, 1990
  13. Kennedy, J. - 'The President's News Conference of September 13, 1962', In 'Public Papers of the Presidents: John F Kennedy, 1962' pp. 674-681. Washington, DC. Government Printing Office, 1963
  14. Kennedy, J. - 'After Two Years: A conversation with the president' Television and radio interview, December 17 1962. In 'Public Papers of the Presidents: John F. Kennedy, 1962' pp.889-904. Washington, DC. Government Printing Office 1963
  15. Helms, Richard (Deputy Director for Plans, CIA) (19 January 1962), Memorandum for the Director of Central Intelligence: Meeting with the Attorney General of the United States concerning Cuba (PDF), George Washington University National Security Archives{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Attack us at your Peril, Cocky Cuba Warns US เก็บถาวร 2011-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Henry Brandon, The Sunday Times, October 28, 1962
  17. For the President's Eyes Only, pg. 300
  18. Interview with Robert McNamara by Columbia Tristar Home Entertainment, bundled as a DVD special feature of Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb
  19. Frey, Jennifer (January 14, 2007). "At Yenching Palace, Five Decades of History to Go". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  20. "The Cuban Missile Crisis, 1962: Press Release, 11 October 2002, 5:00 PM". George Washington University. 2002-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  21. 21.0 21.1 Faria p. 103 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Faria" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  22. Ramonet, Ignacio, Fidel Castro: My Life. Penguin Books: 2007, p. 278. ISBN 978-0-14-102626-8
  23. Frontier India India-China Section เก็บถาวร 2007-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Note alleged connections to Cuban Missile Crisis

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้