วาโย อัศวรุ่งเรือง
นายแพทย์ วาโย อัศวรุ่งเรือง (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530) ชื่อเล่น เก่ง เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อรวมทั้งรองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายกฎหมาย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอีกทั้งยังเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย และประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อการติดตามพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล
วาโย อัศวรุ่งเรือง | |
---|---|
วาโยใน พ.ศ. 2566 | |
ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [a] | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 91 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฐากร ตัณฑสิทธิ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 240 วัน) | |
รองหัวหน้าพรรคประชาชน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 58 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) |
คู่สมรส | เกวลิน พูลภีไกร (สมรส 2564) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.บ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (น.บ.) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วท.ม.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (น.ม.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (บธ.ม.) |
อาชีพ |
|
ประวัติ
แก้วาโยเกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ในระดับประถมศึกษาจบจาก โรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 36 ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจบจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า รุ่น 17 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 66 (โควต้านักดนตรี) [1] ในระดับอุดมศึกษา วาโยสำเร็จการศึกษาหลายหลักสูตร ได้แก่ แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง (วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก) มหาวิทยาลัยมหิดล[2]
เมื่อปี 2552 วาโยเข้าประกวดรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 โดยเป็นตัวแทนจากภาคกลาง และผ่านเข้ารอบเป็น 8 คนสุดท้าย แต่ออกจากการแข่งขันในสัปดาห์แรก จบอันดับที่ 8[3] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ น.ส.เกวลิน พูลภีไกร (เกรซ The Star 11)
งานการเมือง
แก้วาโยเข้าสู่การเมืองครั้งแรกโดยร่วมงานกับพรรคอนาคตใหม่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกพรรคเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม[4] จากนั้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พรรคอนาคตใหม่ได้ประกาศรายชื่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค โดยวาโยเป็นผู้สมัครลำดับที่ 28[5] ภายหลังการการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้รับการจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 50 ที่นั่ง วาโยได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 แบบบัญชีรายชื่อ[6] และทำหน้าที่จนกระทั่งมีคำตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ และยังติดตาม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มายังพรรคก้าวไกล โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์มาตรการโควิดของรัฐบาลโดยเฉพาะความรู้เรื่องหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่รัฐฯไม่ได้อธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนจนเกิดความนิยมในตัวหมอวาโยว่ามีความสามารถ โดยเฉพาะการแนะนำ และอธิบายสิ่งต่างๆแก่ประชาชนได้อย่างชัดเจน อีกทั้งในปีพ.ศ.2567 หมอวาโยได้กลับมามีบทบาทที่เป็นที่จับตามองอีกครั้งในการอภิปรายการแก้ปัญหาเรื่องปลาหมอคางดำ
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)
ผลงานในวงการบันเทิง
แก้ละคร/ซิตคอม
แก้ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2554 | บ้านนี้มีรัก | หมอโอ (รับเชิญ) |
คนเถื่อน | สรวิทย์ | |
2556 | แผนรักแผนร้าย | หมอวิชาญ |
สุดสายป่าน | ทวิช | |
2557 | เล่ห์นางฟ้า | รอน(รับเชิญ) |
สงครามนางงาม | ทัศนา บูรพา (หมอทัช) | |
2558 | ผู้กองเจ้าเสน่ห์ | โก้(รับเชิญ) |
จุดนัดฝัน | บูม | |
2559 | เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ | แพทย์เจ้าของไข้มุกดา |
2560 | รักชั้นนัย | นัท |
แต่ปางก่อน | อภัย | |
เธอคือพรหมลิขิต | หมอแผนกสูติ-นารีเวชที่โรงพยาบาลเกาะสีชัง(รับเชิญ) | |
2561 | กาหลมหรทึก | หมอสมิต |
เพลง
แก้- เพื่อดาวดวงนั้น - The Star 6
- ยังไงก็รัก - The Star 6
- ปากเก่ง
- รักของฉันนั้นคือเธอ - รวม The Star 1 - 10
- ไม่หลง...คงไม่ได้ - หมอเก่ง วาโย
พิธีกร
แก้- รายการ Entertainment Update
- รายการ Dawn of Gaia
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ""Triam Talk 2018" หมอเก่ง นพ. วาโย อัศวรุ่งเรือง (คลิปเต็ม)". youtube.com. youtube. 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-02-01.
- ↑ "โปรไฟล์ หมอเก่ง จาก "เดอะสตาร์" รักเรียนสู่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อนาคตใหม่". thairath.co.th. Thairath. 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
- ↑ "เศร้า-ซึม-ซึ้ง เก่งอำลาเวที The Star คนแรก!!". music.thaiza.com. Thaiza. 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
- ↑ "อนาคตใหม่เปิดตัว 'หมอเก่ง เดอะสตาร์' รับตำแหน่งรองโฆษกพรรค เตรียมลงชิง ส.ส. เขต กทม". thestandard.co. The Standard. 2018-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-07-26.
- ↑ "เผยรายชื่อ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่". thairath.co.th. Thairath. 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน