วันวาเลนไทน์
วันนักบุญวาเลนไทน์ (อังกฤษ: Saint Valentine's Day) หรือเรียก วันวาเลนไทน์ (อังกฤษ: Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวาเลนไทน์มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศทางตะวันตก แม้จะยังเป็นวันทำงานในทุกประเทศเหล่านั้นก็ตาม
วันนักบุญวาเลนไทน์ | |
---|---|
การ์ดวันวาเลนไทน์จาก ค.ศ. 1909 | |
ชื่ออื่น | วันวาเลนไทน์ |
จัดขึ้นโดย | คนในหลายประเทศ; แองกลิคันคอมมิวเนียน นิกายลูเทอแรน นิกายคาทอลิกดั้งเดิม |
ประเภท | ศาสนาคริสต์, วัฒนธรรม, เชิงพาณิชย์ |
ความสำคัญ | วันฉลองของนักบุญวาเลนไทน์; การเฉลิมฉลองเกี่ยวกับความรัก |
การถือปฏิบัติ | ให้การ์ดอวยพรและของขวัญ, การออกเดท, เข้าร่วมในพิธีรับศีล |
วันที่ |
|
ความถี่ | ทุกปี |
"วันนักบุญวาเลนไทน์" แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกหนึ่งหรือสองคนชื่อวาเลนตินัส ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่นั้นกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น มีการกำหนดวันวาเลนไทน์ขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนที่สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 จะให้ตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไป (General Roman Calendar) ในปี ค.ศ. 1969
วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ สมัยกลางตอนกลาง (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูนเฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนา มาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน[1][2]ในภายหลังประเพณีการแสดงออกความรักไม่ได้เป็นที่นิยมเพียงแค่ทางฝั่งตะวันตกหากแต่มีการแพร่กระจายความนิยมไปทั่วโลก โดยคนส่วนใหญ่ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันแห่งการแสดงความรักให้กันจนถึงปัจจุบัน โดยบางประเทศมีการฉลองในลักษณะที่คล้ายกันนี้ เช่น ประเทศบราซิลมีการเฉลิมฉลอง "Dia dos Namorados" ในวันที่ 12 มิถุนายน โดยจะมีการมอบของขวัญให้คนที่รัก เช่น ดอกไม้และช็อกโกแลต[3]
นักบุญวาเลนไทน์
แก้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
แก้มรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่าวาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือ วาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae)[3] วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไทน์จัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede)[4] ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์เออร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าเขาได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ศพเขาฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของเขาอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี[5]
สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวถึงนักบุญคนที่สามที่ชื่อวาเลนไทน์ ผู้ซึ่งมีการกล่าวขานถึงในบัญชีมรณสักขียุคต้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เขาพลีชีพเพื่อศาสนาในแอฟริการ่วมกับเพื่อนเดินทางจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับเขาอีก[6]
ไม่มีส่วนใดที่โรแมนติกปรากฏในชีวประวัติยุคกลางตอนต้นแต่เดิมของมรณสักขีทั้งสามคนนี้ ก่อนที่นักบุญวาเลนไทน์จะมาเชื่อมโยงกับเรื่องรักใคร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้ ระหว่างวาเลนไทน์แห่งโรมกับวาเลนไทน์แห่งเทอร์นีนั้นไม่มีความข้องเกี่ยวกันเลย
ศีรษะของนักบุญวาเลนไทน์เก็บรักษาไว้ในแอบบีย์นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ และเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่มีหลักฐานว่านักบุญวาเลนไทน์จะเป็นนักบุญที่ได้รับความนิยมก่อนบทกวีของเชาเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แม้แต่ในพื้นที่วินเชสเตอร์[7] การเฉลิมฉลองนักบุญวาเลนไทน์มิได้แตกต่างไปจากการเฉลิมฉลองนักบุญคนอื่นมาก และไม่มีโบสถ์ใดอุทิศถึงเขา[7]
ในการตรวจชำระปฏิทินนักบุญโรมันคาทอลิก วันฉลองนักบุญวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไปและลดขั้นไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ (particular calendar, ท้องถิ่นหรือประจำชาติ) ด้วยเหตุผล "แม้ความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์จะเก่าแก่ แต่ชื่อของเขาก็ถูกลดไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ เพราะนอกเหนือไปจากชื่อของเขาแล้ว ไม่มีข้อมูลอื่นใดทราบกันเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์ เว้นแต่ว่า ศพเขาฝังที่เวียฟลามิเนียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์"[8] วันฉลองนี้ยังมีการเฉลิมฉลองอยู่ในบัลซาน (ประเทศมอลตา) ที่ซึ่งมีการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญวาเลนไทน์ที่นั่น และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยผู้นับถือนิกายคาทอลิกดั้งเดิมที่ถือตามปฏิทินที่เก่ากว่าก่อนหน้าของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังมีการเฉลิมฉลองเป็นวันวาเลนไทน์ในนิกายอื่นของศาสนาคริสต์ ตัวอย่างเช่น วันวาเลนไทน์มีระดับระดับ "พิธีฉลอง" (commemoration) ในปฏิทินของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และส่วนอื่นของแองกลิคันคอมมิวเนียน[9]
ตำนาน
แก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ผลงานชื่อ Passio Marii et Marthae ได้กุเรื่องราวการพลีชีพเพื่อศาสนาแก่นักบุญวาเลนไทน์แห่งโรม ซึ่งปรากฏว่ามิได้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใด ๆ เลย[10] ผลงานนี้อ้างว่า นักบุญวาเลนไทน์ถูกเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์ และถูกสอบสวนโดยจักรพรรดิคลอเดียส กอธิคัส เป็นการส่วนตัว วาเลนไทน์จักรพรรดิคลอเดียสประทับใจและได้สนทนากับเขา โดยพยายามให้เขาเปลี่ยนไปนับถือลัทธิเพเกินโรมันเพื่อรักษาชีวิตของเขา วาเลนไทน์ปฏิเสธและพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิคลอเดียสหันมานับถือศาสนาคริสต์แทน ด้วยเหตุนี้ เขาจึงถูกประหารชีวิต ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตนั้น มีรายงานวาเขาได้แสดงปาฏิหาริย์โดยรักษาลูกสาวตาบอดของผู้คุมของเขา แอสเตอเรียส (Asterius) Passio สมัยหลังย้ำตำนานนี้ โดยเสริมเรื่องกุว่าสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ได้ทรงสร้างโบสถ์ครอบสุสานของเขา (เป็นความเข้าใจผิดกับผู้พิทักษ์ประชากร [tribune] ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชื่อ วาเลนติโน ซึ่งบริจาคที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์ในขณะที่จูเลียสเป็นพระสันตะปาปา)[10] ตำนานได้หยิบยกขึ้นเป็นข้อเท็จจริงโดยบันทึกมรณสักขีในภายหลัง เริ่มจากบันทึกมรณสักขีของบีดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และมีย้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ใน ตำนานทอง[11] หนังสือนี้อธิบายคร่าว ๆ ถึงกิจการของนักบุญ (Acta Sanctorum) ต้นสมัยกลางว่ามีนักบุญวาเลนไทน์หลายคน และตำนานนี้จัดเข้ากับวาเลนไทน์ใต้วันที่ 14 กุมภาพันธ์
อ้างอิง
แก้- ↑ The History of Valentine's Day – History.com, A&E Television Networks. Retrieved February 2, 2010.
- ↑ HowStuffWorks "How Valentine's Day works" – HowStuffWorks. Retrieved February 2, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Oxford Dictionary of Saints, s.v. "Valentine": "The Acts of both are unreliable, and the Bollandists assert that these two Valentines were in fact one and the same."
- ↑ "Saint Valentine's Day: Legend of the Saint". novareinna.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ "Basilica of Saint Valentine in Terni". virtualmuseum.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ "Catholic Encyclopedia: St. Valentine". newadvent.org.
- ↑ 7.0 7.1 Henry Ansgar Kelly (1986), "The Valentines of February", Chaucer and the cult of Saint Valentine, Davis medieval texts and studies, vol. 5, BRILL, pp. 58–63, ISBN 9789004078499
- ↑ Calendarium Romanum ex Decreto Sacrosancti Œcumenici Concilii Vaticani II Instauratum Auctoritate Pauli PP. VI Promulgatum (Typis Polyglottis Vaticanis, MCMLXIX), p. 117.
- ↑ "Holy Days". The Church of England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
- ↑ 10.0 10.1 Ansgar, 1986, pp. 49-50
- ↑ Legenda Aurea, "Saint Valentine" เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, catholic-forum.com.