วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม)
วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม) เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
วัดเทวสุนทร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดเทวสุนทร, วัดสี่แยก, วัดแครายเหนือ, วัดสุนทริการาม |
ที่ตั้ง | ซอยงามวงศ์วาน 59 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูโฆสิตบุญญากร โฆสกาโร |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2412 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสี่แยก ด้วยเพราะอยู่ตรงสี่แยกคลองเปรมประชากรตัดกับคลองบางเขน[2] หนังสือ ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ ระบุว่าวัดนี้เดิมมีชื่อว่า วัดแครายเหนือ (คู่กับวัดแครายใต้คือ วัดเสมียนนารี)[3] โดยนายนาดได้อุทิศที่นาของตนประมาณ 10 ไร่ ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และได้มีขุนนางผู้ใหญ่คือ พระเทพประชุม (พุ่ม) กับภรรยาชื่อคุณหญิงสุ่น สร้างพระอุโบสถ์ขึ้น จากนั้นเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดสุนทริการาม จนในปี พ.ศ. 2445 ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งมาเป็น "วัดเทวสุนทร"[4]
ครั้งหนึ่งกบฎบวรเดชได้นำทัพและทหารมาตั้งอยู่ที่วัด ได้ถูกรัฐบาลยิงขับไล่จึงได้เกิดการต่อสู้กัน ทำให้วัดได้รับความเสียหาย โดยกระสุนปืนใหญ่ยิงมาถูกที่ผนังอุโบสถป็นช่องโหว่และมีรอยร้าว ส่วนกุฏิถูกกระสุนปืนกลปืนเล็ก ปืนยาว และยังมีพระภิกษุถูกกระสุนปืนมรณภาพ 1 รูป และมีศิษย์วัดบาดเจ็บอีกหลายคน จากนั้นกระทรวงกลาโหมเข้ามาปฏิสังขรณ์วัด[5] แต่ยังคงเห็นร่องรอยกระสุนอยู่ที่แทงก์น้ำ
อาคารเสนาสนะ
แก้พระอุโบสถวัดเทวสุนทร (สุนทริการาม)ได้สร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2426 ได้รับการบูรณะอีกสองครั้งคือปี พ.ศ. 2461 และ 2522 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องพุทธประวัติ
รายนามเจ้าอาวาส
แก้- หลวงพ่อทอง
- หลวงพ่อปั๊ว
- หลวงปู่นาค
- พระครูพิศาลวิริยะกิจ (หลวงปู่ลอย)
- พระครูคุณสารโสภณ (หลวงปู่นวล)
- พระครูศรีกิตยาภรณ์ (หลวงปู่มหาแหวน)
- พระครูโฆสิตบุญญากร โฆสกาโร (หลวงพ่อหล่ำ)
ระเบียงภาพ
แก้-
มณฑปพระพุทธบาท
-
ศาลาการเปรียญ
-
พระประธานในอุโบสถ
-
รอยพระพุทธบาท
-
คลองเปรมประชากร
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "หลักสี่-กองทท.นำท่องเที่ยวคลองเปรมฯ สายน้ำประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรม". แนวหน้า. 29 ตุลาคม 2562.
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. "ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ". p. 342.
- ↑ "วัดเทวสุนทร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร". ทัวร์วัดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "บทบาทพลเมืองสยามปราบกบฏบวรเดช ลางาน 7 วันพิทักษ์รธน. ถึงรวมกันบู๊ไล่ทหารได้". ศิลปวัฒนธรรม.