วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ เนื่องจากขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2459 ซึ่งพระสุวรรณมุณี (หลวงพ่อชิด ชิตรัตน์) เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันเจ้าอาวาส คือ พระครูวาทีวรวัฒน์ (กล้า วีรรตโน)
วัดมหาธาตุวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดมหาธาตุ |
ที่ตั้ง | ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
พระประธาน | พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ |
เจ้าอาวาส | พระวชิรวาที (กล้า วีรรตโน) |
ความพิเศษ | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหารหลวงของวัดประดิษฐานพระพุทธรุปสำคัญ คือ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ด้านหลังพระวิหารหลวง คือ พระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัด เป็นที่รวมรวมศิลปะ ความเป็นมาต่าง ๆ ของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม
สถานที่สำคัญ
แก้พระวิหารหลวง
แก้พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ภายในพระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ ยังมี หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ เป็นพุทธรุปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ ภายในพระวิหารหลวงผนังทุกด้านมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ทั้งภาพชาดก และเทพชุมนุมที่หน้าบันประดับด้วยลาย ปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มีพญาวานรแบกครุฑอยู่อีกชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโต เป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ
หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ตามประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นำมาจากวัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดมหาธาตุวรวิหารเพชรบุรีเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงผนวชอยู่
พระวิหารน้อย
แก้พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้น ประดับกระจกสวยสดงดงาม เช่น รูป หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานพระเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง
พระปรางค์ 5 ยอด
แก้วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์ สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถมองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมาแต่อดีตกาล มีระเบียงคตรอบพระปรางค์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้องทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก
พิพิธภัณฑ์
แก้ศาลา น.ส.อัมพร บุญประคอง เป็นศาลาที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี ภายใน รวบรวมเครื่องลายคราม พระพุทธรูปรูป แผ่นภาพพระบทและสิ่งของมีค่าที่หายาก ตั้งแสดงไว้ และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม
ภาพวัด
แก้-
ภาพจิตรกรรมผจญมารในพระวิหารหลวง
-
พระประธานในพระวิหารหลวง
-
หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์
-
ลายปูนปั้นฐานพระในพระวิหารหลวง
-
พระปรางค์
-
ลายปูนปั้นศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง
-
ลายปูนปั้นหน้าบัน
-
ใบระกาและหางหงส์ปูนปั้น
-
วัดมหาธาตุยามค่ำ