วัดประตูสาร

วัดในจังหวัดสุพรรณบุรี

วัดประตูสาร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 83 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา

วัดประตูสาร
แผนที่
ที่ตั้งตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ที่มาของชื่อ "ประตูสาร" ในอดีตพื้นที่เหนือวัดประตูสารขึ้นไปประมาณ 100 เมตรเศษเป็นคู เคยเป็นเพนียดคล้องช้างแต่โบราณ คาดว่าเป็นเพนียดคล้องช้างสมัยอู่ทอง จนล่วงเข้ามาอยู่สมัยอยุธยา เมื่อควาญช้างไปไล่ต้อนช้างจากป่าสูงเข้ามาเพนียด ควาญช้างจะค่อย ๆ คัดเลือกช้างที่มีลักษณะดีไว้ใช้งาน หรือเพื่อเป็นช้างศึกต่อไป ประตูสาร จึงหมายถึงประตูของช้าง

วัดประตูสารสร้างราว พ.ศ. พ.ศ. 2223 (หลักฐานไม่แน่ชัด) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2280 สุนทรภู่ได้แต่งนิราศสุพรรณโดยกล่าวถึงวัดประตูสาร ในอดีตศาลาของวัดเคยใช้เป็นศาลตัดสินคดีความ พอตัดสินเสร็จ ศาลก็ยกเลิกไปแล้วกลับมาเป็นศาลาวัดตามเดิม[1]

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถเก่าฐานแอ่นโค้งท้องสำเภา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง เขียนในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนสำคัญ ทศชาติชาดกโดยแทรกเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในสมัยเข้าไปด้วย เช่น ชาวกะเหรี่ยง ชาวจีน ชาวลาว ส่วนวิหารประดิษฐาน หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่ประดิษฐานคู่วัดมานาน มณฑป เป็นที่ประดิษฐานรูปจำลองพระครูวิธุรสุตาคมพระเกจิชื่อดัง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และยังมีธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ฯลฯ[2]

รายนามเจ้าอาวาส

แก้
  • พระง่อย
  • พระดี
  • พระครูวิบูลย์เมธาจารย์ พ.ศ. ? –2465
  • พระครูวิธุรสุตาคม พ.ศ. 2471–2506
  • พระครูพิศิษฐสมณการ พ.ศ. 2508–2545
  • พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. "วัดประตูสาร". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. "วัดประตูสาร". สำนักงานคณะสงฆ์ภาค ๑๔.