วงศ์แร็กคูน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 20–0Ma ไมโอซีน - ปัจจุบัน[1]
แร็กคูน (Procyon lotor)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Caniformia
วงศ์ใหญ่: Musteloidea
วงศ์: Procyonidae
Gray, 1825
สกุล
ชื่อพ้อง[2]

วงศ์แร็กคูน (อังกฤษ: Procyonid)[2] เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyonidae (/โพร-ไซ-โอ-นิ-เด/)

ลักษณะโดยร่วมของสัตว์ในวงศ์นี้คือ มีลำตัวสั้น มีหางยาว มีลวดลายตามลำตัวหรือใบหน้า[3]หรือไม่มีในบางชนิด[4] หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ มักออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่กินพืชหรือละอองเกสรดอกไม้หรือน้ำผึ้งเป็นอาหารหลัก[5] มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า

ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่พบได้ในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ แร็กคูน, คิงคาจู, โคอาที, โอลิงโก เป็นต้น[1]

เดิมสัตว์ในวงศ์นี้เคยครอบคลุมถึงแพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงที่พบในทวีปเอเชียด้วย ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันและมีพฤติกรรมการหากินใกล้เคียงกัน แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแร็กคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแร็กคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30-40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะของตนเองคือ วงศ์ Ailuridae และในส่วนของแพนด้ายักษ์ก็ถือว่าก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแร็กคูน, หมี และแพนด้าแดง แต่เมื่อศึกษาถึงคาริโอไทป์พบว่าแพนด้ายักษ์มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีมากกว่า จึงจัดให้แพนด้าอยู่ในวงศ์ Ailuridae

การจำแนก

แก้

วงศ์แร็กคูนแบ่งออกเป็น 6 สกุล 20 ชนิด (โดยมีชนิดใหม่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้[6])[7]

Procyonidae
Potos

Potos flavus (kinkajou)

Procyon

Procyon cancrivorus (crab eating raccoon)

Procyon lotor (common raccoon)  

(raccoons)
Bassariscus
Bassaricyon

Bassaricyon medius (western lowland olingo)  

Bassaricyon alleni (eastern lowland olingo)  

Bassaricyon gabbii (northern olingo)  

Bassaricyon neblina (olinguito)  

(olingos)
Nasuina

Nasua nasua (ring-tailed coati)

Nasua narica (white-nosed coati)

Nasuella

Nasuella olivacea (western mountain coati)

Nasuella meridensis (eastern mountain coati)

(coatis)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Russell, James (1984). Macdonald, D., ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 98–99. ISBN 0-87196-871-1.
  2. 2.0 2.1 จาก itis
  3. "แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงจัดเป็นหมีหรือไม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  4. ไนท์ซาฟารีโชว์ลูกคินคาจู-หมีขอสัตว์ป่าหายาก จากคมชัดลึก[ลิงก์เสีย]
  5. เขาดินเปิดตัว "คินคาจู" สัตว์ป่าหายาก จากสำนักข่าวไทย[ลิงก์เสีย]
  6. Landau, Elizabeth (August 15, 2013). "New cute furry mammal species discovered". CNN. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
  7. วงศ์ Procyonidae

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้