ลูกครึ่ง หมายถึงลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน[1] คำว่าลูกครึ่งในประเทศไทย ไม่แน่ชัดว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ ไม่พบในกฎหมายตราสามดวง และคาดว่าคงเริ่มใช้หลังรัชกาลที่ 4[2] ในสมัยอยุธยา ลูกครึ่งเกิดจากพ่อค้าฝรั่งในเมืองไทย และที่อพยพมาจากต่างประเทศ มีลูกหลานที่เป็นไพร่ในกรม เช่น กรมฝรั่งแม่นปืน เป็นต้น คนไทยสมัยนั้นไม่รู้สึกว่าลูกครึ่งแตกต่างจากไพร่ฟ้าทั่วไป จึงยังไม่เรียกคนเหล่านั้นว่าลูกครึ่ง จนเมื่อลูกครึ่งฝรั่งมีความแตกต่างขึ้นมา คือไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือไม่ใช่ไพร่เพราะมีกฎหมายฝรั่งคุ้มครองตามสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อีกทั้งยังแต่งกายและมีวิถีชีวิตแบบฝรั่ง แต่จำนวนลูกครึ่งก็ยังมีไม่มากนัก ส่วนลูกครึ่งไทยจีนจะเรียกเป็นลูกชิ้นเสียมากกว่า[3][4]

ในยุคใหม่ ลูกครึ่งโดยมากเกิดจากพ่อหรือแม่ชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทย หรือเมื่อพวกเขาไปศึกษาต่อในต่างประเทศ[5] มีรายงานว่าในปี พ.ศ. 2528 มีจำนวนลูกครึ่งในประเทศไทยประมาณ 7,000 คน[6] คนรุ่นหลังนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นในสังคม จนลูกครึ่งกลับมาเป็นที่นิยม เพราะอุตสาหกรรมบันเทิง[2] ที่พวกเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว กับหน้าตาที่มีส่วนผสมแบบตะวันตก เช่น สีผิวอ่อน/ขาว ตาใหญ่และมีสีแตกต่าง รูปร่างสูง โดยเป็นที่สนใจสำหรับสังคมไทย โดยเฉพาะในสังคมวัยรุ่นที่เป็นที่นิยม[7] ศิลปินลูกครึ่ง ที่โด่งดังอาทิเช่น วิโอเลต วอเทียร์, นาตาลี เดวิส, มาช่า วัฒนพานิช, ทาทา ยัง, คัทลียา แมคอินทอช, แอน ทองประสม, อารยา เอ ฮาร์เก็ต, ศรีริต้า เจนเซ่น, พอลล่า เทเลอร์, มาริโอ้ เมาเร่อ, อุรัสยา เสปอร์บันด์, ณเดชน์ คูกิมิยะ, อเล็กซ์ เรนเดลล์, ราณี แคมเปน เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-09.
  2. 2.0 2.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ลูกครึ่ง เก็บถาวร 2009-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1527
  3. Mydans, Seth (2002-08-29). "Bangkok Journal; Thais With a Different Look, Flaunt Your Genes!". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  4. "Restaurant: Luk khrueng 混血兒泰義餐廳". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  5. Maurizio Peleggi (2007-05-30). Thailand: The Worldly Kingdom. Google Books. Reaktion Books. ISBN 9781861893147. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  6. หนังสือบางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2528
  7. Williams-León, Teresa; Nakashima, Cynthia L. (2001). The sum of our parts: mixed-heritage Asian Americans - Teresa Williams-León, Cynthia L. Nakashima - Google Books. ISBN 9781566398473. สืบค้นเมื่อ 2012-03-28.