เลโอนาร์โด ดา วินชี
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
เลโอนาร์โด ดี แซร์ ปีเอโร ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo di ser Piero da Vinci; 15 เมษายน ค.ศ. 1452 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นผู้รอบรู้ชาวอิตาลีแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชั้นสูงที่มีบทบาทเป็นทั้งจิตรกร, นักวาด, วิศวกร, นักวิทยาศาสตร์, นักทฤษฎี, ประติมากร และสถาปนิก[3] ในขณะที่ชื่อเสียงของเขาโดยทั่วไปขึ้นกับความสำเร็จในฐานะจิตรกร เขาเป็นที่รู้จักจากสมุดบันทึกของเขา ซึ่งเขาได้วาดภาพและจดบันทึกในหัวข้อต่างๆ มากมาย รวมถึงกายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ การทำแผนที่ ภาพวาด และซากดึกดำบรรพ์ ความอัจฉริยะเลโอนาร์โดแสดงให้เห็นถึงอุดมคติของมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[4]
เลโอนาร์โด ดา วินชี | |
---|---|
ภาพเหมือนบุคคลที่คาดว่าฟรันเซสโก เมลซีเป็นผู้วาดใน ป. ค.ศ. 1515–1518 เป็นภาพเดียวในหลาย ๆ ภาพที่เชื่อได้ว่าเป็นภาพเลโอนาร์โด[1][2] | |
เกิด | เลโอนาร์โด ดี แซร์ ปีเอโร ดา วินชี 15 เมษายน ค.ศ. 1452 (Anchiano?)[a] วินชี สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519 Clos Lucé อ็องบวซ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส | (67 ปี)
การศึกษา | ห้องศิลปะของอันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ |
มีชื่อเสียงจาก |
|
ผลงานเด่น |
|
ขบวนการ | High Renaissance |
ลายมือชื่อ | |
เขาเป็นลูกนอกสมรสของทนายความที่ประสบความสำเร็จและแต่งงานกับผู้หญิงชั้นต่ำใน วินชี เขาได้รับการศึกษาในฟลอเรนซ์โดยจิตรกรและประติมากรชาวอิตาลีชื่อ อันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ เขาเริ่มอาชีพของเขาในเมือง แต่จากนั้นก็ใช้เวลามากในการรับใช้ ลูโดวีโก สฟอร์ซา ในมิลาน ต่อมาเขาทำงานในฟลอเรนซ์และกลับไปทมิลานอีกครั้ง เช่นเดียวกับช่วงสั้น ๆ ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้ลอกเลียนแบบและนักเรียนจำนวนมาก ตามคำเชิญของฟรานซิสที่ 1 เขาจึงได้ใช้เวลาสามปีสุดท้ายในฝรั่งเศสก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1519 นับตั้งแต่เขาเสียชีวิต ไม่เคยมีครั้งไหนที่ความสำเร็จ ความสนใจที่หลากหลาย ชีวิตส่วนตัว และความคิดเชิงประจักษ์ของเขาล้มเหลวในการปลุกเร้าความสนใจและความชื่นชม[3][4] ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่นิยมในการตั้งชื่อในยุคนั้นและกลายเป็นหัวข้อทางวัฒนธรรม
เลโอนาร์โดเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะและมักได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้ง ยุครุ่งเรื่องของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[3] แม้จะมีผลงานที่สูญหายไปมากมายและมีผลงานสำคัญไม่ถึง 25 ชิ้น รวมถึงผลงานที่ยังไม่เสร็จจำนวนมาก แต่เขาก็ได้สร้างภาพเขียนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศิลปะตะวันตก[3] ผลงานชิ้นที่มีชื่อเสียงของเขา ประกอบด้วย โมนาลิซา เป็นผลงานที่รู้จักกันดีที่สุดของเขาและมักถูกมองว่าเป็นภาพวาดที่โด่งดังที่สุดในโลก พระกระยาหารมื้อสุดท้ายเป็นภาพวาดทางศาสนาที่มีการทำซ้ำมากที่สุดตลอดกาล รวมถึงภาพวาด วิทรูเวียนแมน ของเขาถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วย ในปี 2560 ซัลวาตอร์มุนดี ซึ่งเป็นรูปที่อาจวาดโดยเลโอนาร์โดทั้งรูปหรือเพียงบางส่วน
ประวัติ
แก้ชีวิตตอนต้น (ค.ศ. 1452 - 1472)
แก้ถือกำเนิดและภูมิหลัง
แก้เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี[5][6] ที่แปลว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 ในบริเวณเมือง วินชี บนเนินเขาทัซแคน ที่แคว้นคอสตานา ตอนล่างของแม่น้ำอาร์โน ซึ่งอยู่ห่างจากฟลอเรนซ์ออกไป 20 ไมล์[7][8] เขาเป็นลูกนอกสมรสของ เมสแซร์ ปีเอโร ฟรูโอซีโน ดี อันโตนีโอ ดา วินชี (ค.ศ. 1426–1504)[9] ทนายความผู้ร่ำรวย[7]ในฟลอเรนซ์ กับสาวชาวนาชื่อ กาเตรีนา (ป. ค.ศ. 1434 – 1494)[10][11]
โดยมีการระบุชื่อว่าในตอนแรกว่า กาเตรีนา บูตี เดล วักกา และล่าสุดระบุชื่อว่า กาเตรีนา ดี เมโอ ลิปปี โดยมาร์ติน เคมป์ นักประวัติศาสตร์ ยังคงไม่แน่ใจว่าเลโอนาร์โดเกิดที่ใด บันทึกดั้งเดิมจากคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่น โดยนักประวัติศาสตร์เอ็มมานูเอล เรเป็ตตี[12] กล่าวว่าเขาเกิดที่ แอนชิอาโน หมู่บ้านเล็ก ๆ ในชนบทที่จะให้ความเป็นส่วนตัวเพียงพอสำหรับการกำเนิดนอกกฎหมาย แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่เขาเกิดในบ้านในเมืองฟลอเรนซ์[13][a] พ่อแม่ของเลโอนาร์โดแต่งงานแล้วแยกกันหลังจากปีที่เขาเกิด กาเตรีนา ซึ่งมักถูกระบุว่าเป็น กาเตรีนา บูตี เดล วักกา ผู้ที่ต่อมาแต่งงานกับช่างฝีมือท้องถิ่น อันโตนิโอ ดิ ปิเอโร บูติ เดล วัคกา[10][12] มีการเสนอทฤษฎีอื่น ๆ โดยเฉพาะทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์ทางศิลปะ มาร์ติน เคมพ์ โดยเขาสันนิษฐานว่าแม่ของเลโอนาร์โดคือ กาเตรีนา ดี เมโอ ลิปปี เป็นเด็กกำพร้าที่แต่งงานและได้รับความช่วยเหลือจาก เมสแซร์ ปีเอโรและครอบครัว[14][b] เมสแซร์ ปีเอโร ได้แต่งงานกับ อัลบิเอรา อามาโดริ และหลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1462 เขาก็ได้แต่งงานอีกสามครั้ง[12][15][c] ทำให้เลโอนาร์โดมีพี่น้องต่างมารดา 12 คนซึ่งอายุน้อยกว่าเขามาก (คนสุดท้ายเกิดเมื่อเลโอนาร์โดอายุ 40 ปี) และเขาแทบไม่ได้ติดต่อกับบรรดาพี่น้องต่างมารดาของเขา[d]
ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับวัยเด็กของเลโอนาร์โดและส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวที่เป็นตำนาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชีวประวัติของเขาในหนังสือชีวิตศิลปิน (1550) จากจอร์โจ วาซาริ นักประวัติศาสตร์ด้านศิลปะในศตวรรษที่ 16[18][19] ตามบันทึกภาษีระบุว่าเขาอาศัยอยู่ที่บ้านของปู่ อันโตนิโอ ดาวินชี ตั้งแต่ใน ค.ศ. 1457 เท่าที่มีข้อมูลแน่ชัด[7] แต่มีความเป็นไปได้ว่าเขาใช้เวลาหลายปีก่อนหน้านั้นในการดูแลแม่ของเขาในวินชี[20][21] และมีการสันนิษฐานว่าเขาสนิทสนมกับอาของเขา ฟรันเชสโก ดา วินชี[3] โดยพ่อของเขาน่าจะอยู่ที่ฟลอเรนซ์เกือบตลอดเวลา[7] พ่อของเขาซึ่งมีครอบครัวเป็นทนายมาหลายช่วงอายุคน ได้ตั้งถื่นฐานอย่างเป็นทางการในฟลอเรนซ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1469 เท่าที่มีข้อมูล และประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน[7] เลโอนาร์โดได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้นในการเขียน (ภาษาพื้นถิ่น) การอ่าน และคณิตศาสตร์ อาจเป็นเพราะความสามารถทางศิลปะของเขาได้รับการยอมรับตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจที่จะให้ความสนใจกับทางด้านนั้นมากกว่า[7]
ต่อมา เลโอนาร์โดได้บันทึกความทรงจำแรกสุดของเขา ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน โคเด็กซ์ แอตลานติคัส ว่าขณะที่เขียนเกี่ยวกับการบินของนก[22] เขาจำได้ว่าตอนยังเป็นทารกเมื่อมีว่าวมาที่เปลของเขาและอ้าปากของเขาด้วยหางของมัน ในปัจจุบันนักวิจารณ์ยังคงถกเถียงกันว่าเรื่องนี้เป็นความทรงจำจริงหรือเป็นเพียงจินตนาการ[23]
ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป แต่เลโอนาร์โดเองมักลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่าย ๆ ว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง
โรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอ
แก้ในช่วงกลางทศวรรษ 1460 ครอบครัวของเลโอนาร์โดย้ายไปอยู่ที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของความคิดและวัฒนธรรมเกี่ยวกับมนุษยนิยมของชาวคริสต์[24] ขณะที่เขาอายุประมาณ 14 ปี[16] เขากลายเป็น การ์โซน (เด็กในสตูดิโอ) ในเโรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอของอันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ จิตรกรและประติมากรชาวฟลอเรนซ์ชั้นนำในยุคนั้น[24] ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงที่โดนาเตลโล อาจารย์ของแวร์รอกกีโอ เสียชีวิต เลโอนาร์โด กลายเป็นเด็กฝึกงานเมื่ออายุ 17 ปีและได้ฝึกเป็นเวลา 7 ปี[25] จิตรกรชื่อดังคนอื่น ๆ ที่ฝึกงานในโรงปฏิบัติงานนี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรงปฏิบัติงานนี้ เช่น กีร์ลันดาโย, เปรูจีโน, บอตตีเชลลี และโลเรนโซ ดิ เครดิ[26][27] เลโอนาร์โดได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและทักษะทางเทคนิคที่หลากหลาย[28] ทั้งเคมี กลศาสตร์ โลหะวิทยา งานโลหะ การหล่อปูน งานเครื่องหนัง การร่างแบบ และงานไม้ ตลอดจนทักษะทางศิลปะในการวาดภาพ การลงสี การปั้น และการสร้างแบบจำลอง[29]
เลโอนาร์โด เคยได้พบกับกีร์ลันดาโย, เปรูจีโน, บอตตีเชลลี ซึ่งทั้งหมดมีอายุมากกว่าเขาเล็กน้อย[30] ที่โรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอหรือที่สถาบันเพลโตของตระกูลเมดีซี[26] ในเมืองฟลอเรนซ์ ณ ขณะนั้น ประดับไปด้วยผลงานของศิลปินต่างๆ เช่น มาซัชโช ซึ่งมีภาพเฟรสโกซึ่งเต็มไปด้วยความสมจริงและอารมณ์ กีแบร์ตี เจ้าของผลงานประตูแห่งสวรรค์ที่เปล่งประกายด้วยทองคำเปลว แสดงการผสมผสานองค์ประกอบรูปร่างที่ซับซ้อนเข้ากับภูมิหลังทางสถาปัตยกรรมที่มีรายละเอียด และมีผู้ที่ได้ทำการศึกษามุมมองโดยละเอียดคือ ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา[31] จิตรกรคนแรกที่ทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง การศึกษานี้และบทความ De pictura ของ เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี จะมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อศิลปินรุ่นต่อๆมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อข้อมูลและงานศิลปะของ เลโอนาร์โด[32][33]
ภาพวาดส่วนใหญ่ในโรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอ สร้างโดยผู้ช่วยของเขา ตามที่วาซารีกล่าวไว้ว่า เลโอนาร์โดร่วมมือกับแวร์รอกกีโอในงาน พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง โดยเลโอนาร์โดได้วาดภาพเทวดาหนุ่มที่ถือเสื้อคลุมของพระเยซู ซึ่งมีความสวยงามที่เหนือกว่าอาจารย์ของเขามาก จนแวร์รอกกีโอไม่วาดภาพใด ๆอีกเลย[‡ 1] แม้ว่าเรื่องนี้จะเชื่อกันว่าเป็นเรื่องราวที่ไม่มีหลักฐาน[34] และมีการสันนิษฐานว่าเลโอนาร์โดอาจเป็นแบบให้กับผลงานสองชิ้นของแวร์รอกกีโอ ได้แก่ รูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของดาวิดในบาร์เจลโล และอัครทูตสวรรค์ราฟาเอลในภาพโทเบียสกับทูตสวรรค์[34]
วาซารีเล่าเรื่องของเลโอนาร์โดในวัยหนุ่มว่า ชาวนาในท้องถิ่นได้ทำโล่ทรงกลมรูปตนเองและขอให้เซอร์ ปิเอโรลงสีให้เขา เลโอนาร์โดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของเมดูซาได้วาดภาพวาดสัตว์ประหลาดพ่นไฟที่น่ากลัวมากจนพ่อของเขาซื้อโล่อีกกันหนึ่งเพื่อมอบให้ชาวนาและขายเลโอนาร์โดให้กับพ่อค้าศิลปะชาวฟลอเรนซ์ในราคา 100 ducats ซึ่งสุดท้ายผู้ซื้อคือดยุคแห่งมิลาน[‡ 2]
ฟลอเรนซ์ ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1472 - 1482)
แก้เมื่อถึงปี ค.ศ. 1472 เมื่ออายุได้ 20 ปี เลโอนาร์โดได้เป็นอาจารย์ในสมาคมช่างนักบุญลูกา ซึ่งเป็นสมาคมศิลปินและแพทย์ แต่แม้พ่อของเขาตั้งโรงปฏิบัติงานให้กับเขา ความผูกพันของเขากับแวร์รอกกีโอทำให้เขายังคงทำงานร่วมกันและอยู่กับเขาต่อไป[26][35] ผลงานที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานของเลโอนาร์โดคือภาพวาดด้วยปากกาและหมึกของหุบเขาอาร์โนใน ค.ศ. 1473[27][36][e] ตามที่วาซารีกล่าวไว้ว่า ขณะที่เลโอนาร์โดยังหนุ่มเขาเป็นคนแรกที่แนะนำให้ทำให้แม่น้ำอาร์โนเป็นช่องทางเดินเรือระหว่างฟลอเรนซ์และปิซา[37]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1478 เลโอนาร์โดได้รับมอบหมายให้ลงสีแท่นบูชาสำหรับโบสถ์เซนต์เบอร์นาร์ดใน ปาลาซโซ เวคคิโอ[38] ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นอิสระของเขาจากสตูดิโอของ แวร์รอกกีโอ นักเขียนชีวประวัตินิรนามยุคแรกที่รู้จักกันในชื่อ แอโนมิโม แกดดิอาโน อ้างว่าในปี 1480 เลโอนาร์โดได้ไปอาศัยอยู่กับ ตระกูลเมดิซี และมักจะทำงานในสวนของ ปิแอซซ่า ซาน มาร์โค ในเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน นีโอเพลโตนิค ของศิลปิน กวี และนักปรัชญาที่ก่อตั้งโดยตระกูลเมดิซี[34][f] และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1481 เขาได้รับมอบหมายจากนักบวชแห่งซานโดนาโตในสโคเปโตเพื่อวาดภาพการนมัสการของโหราจารย์[39] งานเหล่านี้เป็นงานที่เลโอนาร์โดทำไม่เสร็จแลพถูกทิ้งไปเมื่อเลโอนาร์โดต้องรับงานของ ดยุคแห่งมิลาน ลูโดวีโก สฟอร์ซา เลโอนาร์โดได้เขียนจดหมายถึง สฟอร์ซา ซึ่งอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาสามารถทำได้ในด้านวิศวกรรมและการออกแบบอาวุธ และกล่าวว่าเขาสามารถวาดภาพได้[27][40] และเขาได้นำเครื่องสายเงินในรูปหัวม้า ไม่ว่าจะเป็นลูตหรือไลร์ติดตัวมาด้วย[40]
เลโอนาร์โดได้ไปยังบ้านของเมดิซีพร้อมกับอัลแบร์ตีและได้รู้จักนักปรัชญาด้านมนุษยนิยมที่มีอายุมากกว่าเขาเช่น มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน ผู้แสดงลัทธินีโอพลาโทผ่านพวกเขา คริสโตฟอโร ลันดีโน ผู้เขียนความเห็นเกี่ยวกับงานเขียนคลาสสิก และ จอห์น อาร์ไกโรปูรอส ครูสอนภาษากรีกและผู้ที่แปลงานของอริสโตเติล และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ สถาบันเพลโตของตระกูลเมดีซี ก็คือปิโก เดลลา มิแรนโดลา กวีและปราชญ์หนุ่มผู้มีความเฉลียวฉลาด[30][33][41] และใน ค.ศ. 1482 โลเรนโซ เด เมดีซีได้ส่งเลโอนาร์โดไปเป็นเอกอัครราชทูต เพื่อสัมพันธไมตรีกับลูโดวีโก สฟอร์ซา ผู้ปกครองเมืองมิลานในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1479 ถึง 1499[30][34]
-
ทิวทัศน์ของหุบเขาอาร์โน (ค.ศ. 1473)
-
ภาพร่างการแขวนคอของเบอร์นานโด บานดีนี บารอนเชลลี, ค.ศ. 1479
มิลาน ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1482 - 1499)
แก้เลโอนาร์โดทำงานในมิลานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1482 ถึง ค.ศ. 1499 เขาได้รับมอบหมายให้วาดภาพ พระแม่มารีแห่งภูผา สำหรับภราดรภาพแห่งแม่พระปฏิสนธินิรมล และ อาหารค่ำมื้อสุดท้าย สำหรับซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ[42] ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1485 เลโอนาร์โดได้เดินทางไปฮังการีในนามของตระกูลสฟอร์ซาเพื่อพบกับพระเจ้าแมทเธียส คอร์วินัส และได้รับมอบหมายจากเขาให้วาดภาพแม่พระและพระกุมาร[43] เลโอนาร์โดเคยทำงานในโครงการอื่น ๆ มากมายสำหรับตระกูลสฟอร์ซา ทั้งการเตรียมขบวนแห่และการประกวดในโอกาสพิเศษ ทั้งภาพวาดและแบบจำลองไม้สำหรับการแข่งขันออกแบบหอหลังคาโดมของอาสนวิหารมิลาน (ซึ่งเขาได้ถอนตัวในภายหลัง)[44] และแบบจำลองสำหรับอนุสาวรีย์ขี่ม้าขนาดใหญ่สำหรับ ฟรานเชสโก สฟอร์ซา บรรพบุรุษของลูโดวิโก รูปปั้นนี้มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับรูปปั้นขี่ม้าขนาดใหญ่เพียงสองแห่งของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ อนุสาวรีย์กัตตาเมลาตา ของ โดนาเตลโล ในปาดัวและ อนุสาวรีย์บาร์โตโลมีโอ คอลลีโอนี ของ แวร์รอกกีโอ ในเมืองเวนิส ที่รู้จักกันในนาม กราน คาวาลโล[27] เลโอนาร์โดสร้างแบบจำลองสำหรับม้าและวางแผนอย่างละเอียดสำหรับการหล่อโลหะ แต่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ลูโดวิโกได้มอบเหรียญทองแดงให้กับพี่เขยเพื่อใช้เป็นปืนใหญ่เพื่อปกป้องเมืองจากพระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส[27]
-
หญิงงามแห่งแฟรโรนิแยร์, ป. 1490–1498
-
รายละเอียดของภาพวาด trompe-l'œil (1498) ที่ฟื้นฟูใน ค.ศ. 1902
ฟลอเรนซ์ ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1500 - 1508)
แก้เมื่อลูโดวีโก สฟอร์ซาถูกโค่นล้มโดยฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1500 เลโอนาร์โดหนีจากมิลานไปเวนิส พร้อมด้วยซาไล ผู้ช่วยของเขา และเพื่อนของซาไล ลูกา ปาซิโอลิ นักคณิตศาสตร์[46] ณ เมืองเวนิส เลโอนาร์โดได้ทำงานเป็นสถาปนิกและวิศวกรด้านการทหาร โดยเขาได้คิดค้นวิธีการป้องกันเมืองจากการโจมตีทางเรือ[26] เมื่อเขากลับมาที่ฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1500 เขาและครอบครัวได้รับการต้อนรับโดยพระภิกษุสงฆ์ที่อาราม ซานติสสิมา อันนุนซีอาตา และได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับโรงปฏิบัติงานของเขา ตามบันทึกของวาซาริ เลโอนาร์โดได้วาดภาพพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนาและยอห์นผู้ให้บัพติศมา ผลงานที่ได้รับความชื่นชมจน "ชาย[และ]หญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่" แห่ชม "ราวกับว่าพวกเขากำลังไปงานรื่นเริง"[‡ 3][g]
ใน ค.ศ. 1502 ณ เมืองเชเซนา เลโอนาร์โดได้เข้าทำงานเป็นสถาปนิกและวิศวกรด้านการทหาร และเดินทางไปทั่วอิตาลีพร้อมกับผู้อุปถัมภ์ของเขาให้กับ ซีซาร์ บอร์เจีย ลูกของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6[46] เลโอนาร์โดได้สร้างแผนที่ฐานที่มั่นของซีซาร์ บอร์เจียซึ่งเป็นผังของเมืองอิโมลา เพื่อที่จะได้รับการอุปถัมภ์ของเขา เมื่อซีซาร์ได้เห็นผังเมืองนั้นแล้วก็ได้แต่งตั้งให้เลโอนาร์โดเป็นหัวหน้าวิศวกรและสถาปนิกทางทหารของเขา และในปีเดียวกัน เลโอนาร์โดได้จัดทำแผนที่หุบเขาเคียน่า แคว้นตอสคานา สำหรับผู้อุปถัมภ์ของเขา เพื่อให้มีภาพซ้อนทับที่ดีขึ้นของแผ่นดินและตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่มากขึ้น โดยเขาได้จัดทำแผนที่นี้พร้อมกับโครงการก่อสร้างเขื่อนจากทะเลไปยังเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อให้มีแหล่งน้ำในทุกฤดูกาล
เลโอร์นาโดได้ออกจากการทำงานกับบอร์เจียและกลับไปยังเมืองฟลอเรนซ์ในช่วงต้น ค.ศ. 1503[48] และได้กลับเขามาอยู่ในสมาคมช่างนักบุญลูกาในวันที่ 18 ตุลาคมปีเดียวกัน และในเดือนนั้นเขาก็ได้เริ่มสร้างผลงานภาพเหมือนของลีซา เดล โจกอนดา ผู้เป็นแบบให้กับภาพวาดโมนาลิซา[49][50] ซึ่งเขาได้ทำภาพนี้ต่อไปจนถึงช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1504 เขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแนะนำว่าควรวางรูปปั้นดาวิดของมีเกลันเจโลไว้ที่ใด[51] จากนั้นเขาใช้เวลา 2 ปีในเมืองฟลอเรนซ์ในการออกแบบและวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังยุทธการอันเกียริ[46] โดยมีมีเกลันเจโลได้ออกแบบผลงานที่คู่กัน คือ ยุทธการคาชินา
ในปี ค.ศ. 1506 เลโอนาร์โดถูกเรียกตัวไปยังมิลานโดย ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอ็องบวซ ผู้รักษาการเมืองชาวฝรั่งเศส[52] โดยเลโอนาร์โดได้รับลูกศิษย์จากที่นั้นมาคนหนึ่ง คือเคาท์ฟรานเชสโก เมลซี ลูกชายของขุนนางลอมบาร์เดีย ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิษย์คนโปรดของเขา[26] สภาฟลอเรนซ์หวังให้เลโอนาร์โดกลับไปวาดยุทธการอันเกียรี ให้เสร็จ แต่เขาได้รับการปล่อยตัวตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ที่พิจารณาว่าจ้างศิลปินให้วาดภาพเหมือนบุคคล[52]
-
พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา, ป. 1501–1519, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ปารีส
-
แผนที่อิโมลาของเลโอนาร์โด วาดให้แก่Cesare Borgia, 1502
มิลาน ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1508–1513)
แก้จากนั้นใน ค.ศ. 1508 เลโอนาร์โดเดินทางกลับมิลาน โดยอาศัยในบ้านของเขาที่ Porta Orientale เขต Santa Babila[53]
ใน ค.ศ. 1512 เลโอนาร์โดกำลังดำเนินการตามแผนการสร้างอนุเสาวรีย์คนขี่ม้าให้แก่ Gian Giacomo Trivulzio แต่ต้องหยุดชั่วคราวจากการรุกรานของกองทัพสมาพันธรัฐสวิส สเปน และเวนิส เพื่อขับไล่ฝรั่งเศสออกจากมิลาน เลโอนาร์โดยังคงอยู่ในนครนี้ โดยใช้เวลาหลายเดือนที่วิลลา Vaprio d'Adda ของตระกูลเมดิชีใน ค.ศ. 1513[54]
โรมและฝรั่งเศส (ค.ศ. 1513–1519)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสียชีวิต
แก้เลโอนาร์โด ดา วินชีได้เสียชีวิตในวันที่ 2 พฤษภาคม ศ.ศ.1519 โดยมีอายุ 67 ปี ที่ Clos Lucé ประเทศฝรั่งเศส โดยคาดการณ์ว่าเลโอนาร์โด ดา วินชีได้เป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
ชีวิตส่วนตัว
แก้แม้ว่าเลโอนาร์โดทิ้งสมุดบันทึกและเอกสารตัวเขียนไว้หลายพันหน้า เขาแทบไม่ได้กล่าวถึงชีวิตส่วนตัวของตนเองเลย[2]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งสืบทอด
แก้แม้ว่าเขาไม่ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการอย่างเป็นทางการ[56] นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนยกให้เลโอนาร์โดเป็นแบบอย่างที่สำคัญของ "อัจฉริยะสากล" หรือ "มนุษย์เรอแนซ็องส์" บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นที่ไม่สิ้นสุด" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์อย่างร้อนแรง"[57] เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีพรสวรรค์หลากหลายที่สุดเท่าที่เคยมีมา[58] นักวิชาการตีความมุมมองของเขาที่มีต่อโลกว่าเป็นไปตามตรรกะ แม้ว่าวิธีการเชิงประจักษ์ที่เขาใช้ในช่วงเวลาของเขาไม่เป็นไปตามแบบก็ตาม[59]
ชื่อเสียงของเลโอนาร์โดในช่วงชีวิตของเขาทำให้พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสปฏิบัติต่อเขาเหมือนถ้วยรางวัล และอ้างว่าสนับสนุนเขาในวัยชรากับอุ้มเขาไว้ในอ้อมพระกรขณะที่เสียชีวิต ความสนใจในตัวเลโอนาร์โดและผลงานของเขาไม่เคยลดลง ฝูงชนยังคงต่อคิวเพื่อชมผลงานศิลปะที่โด่งดังที่สุดของเขา เสื้อยืดยังคงมีภาพวาดที่โด่งดังที่สุดของเขา และนักเขียนยังคงยกย่องเขาในฐานะอัจฉริยะ ในขณะเดียวกันก็คาดเดาเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเขา เช่นเดียวกับสิ่งที่คนฉลาดเชื่อจริง ๆ[27]
ความสนใจในความเป็นอัจฉริยะของเลโอนาร์โดยังคงที่ ผู้เชี่ยวชาญศึกษาและแปลงานเขียน วิเคราะห์ภาพวาดของเขา โดยใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ โต้เถียงเกี่ยวกับที่มาที่ไป และค้นหาผลงานที่มีการบันทึกแต่ไม่มีการค้นพบ[60]
โมนาลิซา ซึ่งถือเป็นงานศิลปะชิ้นเอกของเลโอนาร์โด มักถิอเป็นภาพครึ่งตัวที่โด่งดังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา[3][61] อาหารค่ำมื้อสุดท้ายเป็นจิตรกรรมทางศาสนาที่มีการทำซ้ำมากที่สุดตลอดกาล[57] และภาพวาดเส้น มนุษย์วิตรูวิอุส ก็ถือเป็นสัญลักษณ์กระแสวัฒนธรรม[62]
ที่ตั้งสุสาน
แก้ภาพวาด
แก้- การประกาศของเทพ - หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1473)
- พระแม่มารีแห่งภูผา (Virgin of the Rocks) - พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1483)
- พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) - Convent of Santa Maria delle Grazie (Refectory), Milan (ค.ศ. 1495-1498)
- โมนาลิซ่า หรือ Mona Lisa พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1503-1507)
- ชุดภาพเหมือนล้อเลียน (ค.ศ. 1490-1505)
- ยุทธการอันเกียริ (The Battle of Anghiari)- พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส วาดจากต้นฉบับของ รูเบ็นส์ และจิตรกรนิรนาม
แกลเลอรี
แก้-
ภาพเหมือนตัวเอง
-
โมนาลิซ่า ภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
-
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) (1498)
-
นักบุญจอห์น/เทพบาคคัส(นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์) (Saint John in the Wilderness Bacchus)
-
ภาพเหมือนล้อเลียน
-
ศึกษาตัวอ่อนมนุษย์ (Studies of embryos) (v.1509-1514)
-
ภาพสเก็ตช์อาคาร
-
ภาพสเก็ตช์ทหารสามหมวกเกราะ (Profile of a warrior in helmet)
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ทั่วไป
- ↑ 1.0 1.1 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในความขัดแย้งและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับบ้านเกิดที่แน่นอนของเลโอนาร์โด ดู Nicholl (2005, pp. 17–20) และ Bambach (2019, p. 24)
- ↑ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแม่ของเลโอนาร์โดกับอันโตนิโอ ดิ ปิเอโร บูติ เดล วัคกา ดู Nicholl (2005, pp. 26–30)
- ↑ สำหรับตารางรายละเอียดการแต่งงานของแซร์ ปีเอโร ดู Kemp & Pallanti (2017, pp. 65–66)
- ↑ เขาก็ไม่เคยเขียนถึงพ่อด้วย เว้นแต่บันทึกการตายของเขาที่ระบุว่าเขาติดต่อครั้งสุดท้ายตอนอายุสามขวบ[16] หลังจากที่พ่อเสียชีวิต เลโอนาร์โดต้องประสบปัญหาการสืบทอดมรดกให้กับพี่น้องของตน[17]
- ↑ เขาเขียนที่ด้านหลังภาพว่า: "ข้ามีความสุขที่ได้อยู่กับอันโตนี" น่าจะสื่อถึงพ่อของอันโตนี
- ↑ ภายหลังเลโอนาร์โดเขียนที่ขอบสมุดบันทึกว่า "ตระกูลเมดิซีสร้างข้าและตระกูลเมดิซีทำลายข้า"[26]
- ↑ ใน ค.ศ. 2005 มีการค้นพบห้องศิลปะอีกครั้งในช่วงที่มีการบูรณะส่วนของอาคารของกรมภูมิศาสตร์ทหารที่ถือครองเป็นเวลา 100 ปี[47]
- วันผลิตผลงาน
- ↑ การนมัสการของโหราจารย์
- Kemp (2019, p. 27): ป. 1481–1482
- Marani (2003, p. 338): 1481
- Syson et al. (2011, p. 56): ป. 1480–1482
- Zöllner (2019, p. 222): 1481/1482
- ↑ พระแม่มารีแห่งภูผา (ฉบับลูฟวร์)
- Kemp (2019, p. 41): ป. 1483–1493
- Marani (2003, p. 339): ระหว่าง ค.ศ. 1483 ถึง 1486
- Syson et al. (2011, p. 164): 1483–ป. 1485
- Zöllner (2019, p. 223): 1483–1484/1485
- ↑ นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา
- Kemp (2019, p. 189): ประมาณ 1507–1514
- Marani (2003, p. 340): ประมาณ 1508
- Syson et al. (2011, p. 63): ประมาณ 1500 onwards
- Zöllner (2019, p. 248): ประมาณ 1508–1516
อ้างอิง
แก้- ช่วงแรก
- ↑ Vasari 1991, p. 287
- ↑ Vasari 1991, pp. 287–289
- ↑ Vasari 1991, p. 293
- สมัยใหม่
- ↑ "A portrait of Leonardo c.1515–18". Royal Collection Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Zöllner 2019, p. 20.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Kemp 2003.
- ↑ 4.0 4.1 Heydenreich 2020.
- ↑ Brown 1998, p. 7.
- ↑ Kemp 2006, p. 1.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Brown 1998, p. 5.
- ↑ Nicholl 2005, p. 17.
- ↑ Bambach 2019, pp. 16, 24.
- ↑ 10.0 10.1 Marani 2003, p. 13.
- ↑ Bambach 2019, p. 16.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Bambach 2019, p. 24.
- ↑ Nicholl 2005, p. 18.
- ↑ Kemp & Pallanti 2017, p. 6.
- ↑ Kemp & Pallanti 2017, p. 65.
- ↑ 16.0 16.1 Wallace 1972, p. 11.
- ↑ Magnano 2007, p. 138.
- ↑ Brown 1998, pp. 1, 5.
- ↑ Marani 2003, p. 12.
- ↑ Brown 1998, p. 175.
- ↑ Nicholl 2005, p. 28.
- ↑ Nicholl 2005, p. 30, 506.
- ↑ Nicholl 2005, p. 30. See p. 506 for the original Italian.
- ↑ 24.0 24.1 Rosci 1977, p. 13.
- ↑ Bacci, Mina (1978) [1963]. The Great Artists: Da Vinci. แปลโดย Tanguy, J. New York: Funk & Wagnalls.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 Bortolon 1967.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 Arasse 1998.
- ↑ Rosci 1977, p. 27.
- ↑ Martindale 1972.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 Rosci 1977, pp. 9–20.
- ↑ Piero della Francesca, On Perspective for Painting (De Prospectiva Pingendi)
- ↑ Hartt 1970, pp. 127–133.
- ↑ 33.0 33.1 Rachum, Ilan (1979). The Renaissance, an Illustrated Encyclopedia.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 Ottino della Chiesa 1985, p. 83.
- ↑ Wallace 1972, p. 13.
- ↑ Polidoro, Massimo (2019). "The Mind of Leonardo da Vinci, Part 1". Skeptical Inquirer. Center for Inquiry. 43 (2): 30–31.
- ↑ Wallace 1972, p. 15.
- ↑ Clark, Kenneth; Kemp, Martin (26 November 2015). Leonardo da Vinci (Newition ed.). United Kingdom: Penguin. p. 45. ISBN 978-0-14-198237-3.
- ↑ Wasserman 1975, pp. 77–78.
- ↑ 40.0 40.1 Wallace 1972, pp. 53–54.
- ↑ Williamson 1974.
- ↑ Kemp 2011.
- ↑ Franz-Joachim Verspohl , Michelangelo Buonarroti und Leonardo Da Vinci: Republikanischer Alltag und Künstlerkonkurrenz in Florenz zwischen 1501 und 1505 (Wallstein Verlag, 2007), p. 151.
- ↑ Wallace 1972, p. 79.
- ↑ Wallace 1972, p. 65.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 Ottino della Chiesa 1985, p. 85.
- ↑ Owen, Richard (12 January 2005). "Found: the studio where Leonardo met Mona Lisa". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 5 January 2010.
- ↑ Wallace 1972, p. 124.
- ↑ "Mona Lisa – Heidelberg discovery confirms identity". University of Heidelberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.
- ↑ Delieuvin, Vincent (15 January 2008). "Télématin". Journal Télévisé. France 2 Télévision.
- ↑ Coughlan, Robert (1966). The World of Michelangelo: 1475–1564. et al. Time-Life Books. p. 90.
- ↑ 52.0 52.1 Wallace 1972, p. 145.
- ↑ Ottino della Chiesa 1985, p. 86.
- ↑ Wallace 1972, pp. 149–150.
- ↑ Pedretti, Carlo, บ.ก. (2009). Leonardo da Vinci: l'Angelo incarnato & Salai = the Angel in the flesh & Salai. Foligno (Perugia): Cartei & Bianchi. p. 201. ISBN 978-88-95686-11-0. OCLC 500794484.
- ↑ Polidoro, Massimo (2019). "The Mind of Leonardo da Vinci, Part 2". Skeptical Inquirer. 43 (3): 23–24.
- ↑ 57.0 57.1 Gardner, Helen (1970). Art through the Ages. pp. 450–56.
- ↑ See the quotations from the following authors, in section "Fame and reputation": Vasari, Boltraffio, Castiglione, "Anonimo" Gaddiano, Berensen, Taine, Fuseli, Rio, Bortolon.
- ↑ Rosci 1977, p. 8.
- ↑ Henneberger, Melinda. "ArtNews article about current studies into Leonardo's life and works". Art News Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2006. สืบค้นเมื่อ 10 January 2010.
- ↑ Turner 1993, p. 3.
- ↑ Vitruvian Man is referred to as "iconic" at the following websites and many others: Vitruvian Man, Fine Art Classics เก็บถาวร 9 กันยายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Key Images in the History of Science; Curiosity and difference ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 30 มกราคม 2009); "The Guardian: The Real da Vinci Code"
ผลงานที่อ้างอิง
แก้ช่วงแรก
แก้- Anonimo Gaddiano (c. 1530). "Leonardo da Vinci". Codice Magliabechiano. in Lives of Leonardo da Vinci (Lives of the Artists). Los Angeles: J. Paul Getty Museum. 2019. pp. 103–114. ISBN 978-1-60606-621-8.
- Giovio, Paolo (c. 1527). "The Life of Leonardo da Vinci". Elogia virorum illustrium. in Lives of Leonardo da Vinci (Lives of the Artists). Los Angeles: J. Paul Getty Museum. 2019. pp. 103–114. ISBN 978-1-60606-621-8.
- Vasari, Giorgio (1965) [1568]. "The Life of Leonardo da Vinci". Lives of the Artists. แปลโดย George Bull. Penguin Classics. ISBN 978-0-14-044164-2.
- —— (1991) [1568]. The Lives of the Artists. Oxford World's Classics (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Bondanella, Peter; Bondanella, Julia Conway. Oxford University Press. ISBN 0-19-283410-X.
สมัยใหม่
แก้- หนังสือ
- Arasse, Daniel (1998). Leonardo da Vinci. Old Saybrook: Konecky & Konecky. ISBN 978-1-56852-198-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Bambach, Carmen C., บ.ก. (2003). Leonardo da Vinci, Master Draftsman. New York: Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-0-300-09878-5.
- Bambach, Carmen C. (2019). Leonardo da Vinci Rediscovered. Vol. 1, The Making of an Artist: 1452–1500. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-19195-0.
- Bortolon, Liana (1967). The Life and Times of Leonardo. London: Paul Hamlyn.
- Brown, David Alan (1998). Leonardo Da Vinci: Origins of a Genius. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-07246-4.
- Capra, Fritjof (2007). The Science of Leonardo. US: Doubleday. ISBN 978-0-385-51390-6.
- Ottino della Chiesa, Angela (1985) [1967]. The Complete Paintings of Leonardo da Vinci. Penguin Classics of World Art. London: Penguin Books. ISBN 978-0-14-008649-2.
- Clark, Kenneth (1961). Leonardo da Vinci. City of Westminster: Penguin Books. OCLC 187223.
- Gasca, Ana Millàn; Nicolò, Fernando; Lucertini, Mario (2004). Technological Concepts and Mathematical Models in the Evolution of Modern Engineering Systems. Birkhauser. ISBN 978-3-7643-6940-8.
- Hartt, Frederich (1970). A History of Italian Renaissance Art. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-23136-4.
- Heaton, Mary Margaret (1874). Leonardo Da Vinci and His Works: Consisting of a Life of Leonardo Da Vinci. New York: Macmillan Publishers. OCLC 1706262.
- Isaacson, Walter (2017). Leonardo da Vinci. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-1-5011-3915-4.
- Kemp, Martin (2006) [1981]. Leonardo Da Vinci: The Marvellous Works of Nature and Man. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-920778-7.
- Kemp, Martin (2011) [2004]. Leonardo (Revised ed.). Oxford, England: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280644-4.
- Kemp, Martin; Pallanti, Giuseppe (2017). Mona Lisa: The People and the Painting. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-874990-5.
- Kemp, Martin (2019). Leonardo da Vinci: The 100 Milestones. New York: Sterling. ISBN 978-1-4549-3042-6.
- Magnano, Milena (2007). Leonardo, collana I Geni dell'arte. Mondadori Arte. ISBN 978-88-370-6432-7.
- Marani, Pietro C. (2003) [2000]. Leonardo da Vinci: The Complete Paintings. New York: Harry N. Abrams. ISBN 978-0-8109-3581-5.
- Martindale, Andrew (1972). The Rise of the Artist. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-56006-8.
- Nicholl, Charles (2005). Leonardo da Vinci: The Flights of the Mind. London: Penguin Books. ISBN 978-0-14-029681-5.
- O'Malley, Charles D.; Sounders, J.B. de C.M. (1952). Leonardo on the Human Body: The Anatomical, Physiological, and Embryological Drawings of Leonardo da Vinci. With Translations, Emendations and a Biographical Introduction. New York: Henry Schuman.
- Pedretti, Carlo (1982). Leonardo, a study in chronology and style. Cambridge: Johnson Reprint Corp. ISBN 978-0-384-45281-7.
- Pedretti, Carlo (2006). Leonardo da Vinci. Surrey: Taj Books International. ISBN 978-1-84406-036-8.
- Popham, A.E. (1946). The Drawings of Leonardo da Vinci. Jonathan Cape. ISBN 978-0-224-60462-8.
- Richter, Jean Paul (1970). The Notebooks of Leonardo da Vinci. Dover. ISBN 978-0-486-22572-2. volume 2: ISBN 0-486-22573-9. A reprint of the original 1883 edition
- Rosci, Marco (1977). Leonardo. Bay Books Pty Ltd. ISBN 978-0-85835-176-9.
- Syson, Luke; Keith, Larry; Galansino, Arturo; Mazzotta, Antoni; Nethersole, Scott; Rumberg, Per (2011). Leonardo da Vinci: Painter at the Court of Milan. London: National Gallery. ISBN 978-1-85709-491-6.
- Turner, A. Richard (1993). Inventing Leonardo. New York: Alfred A. Knopf. ISBN 978-0-520-08938-9.
- Wallace, Robert (1972) [1966]. The World of Leonardo: 1452–1519. New York: Time-Life Books.
- Wasserman, Jack (1975). Leonardo da Vinci. New York: Harry N. Abrams. ISBN 978-0-8109-0262-6.
- Williamson, Hugh Ross (1974). Lorenzo the Magnificent. Michael Joseph. ISBN 978-0-7181-1204-2.
- Vezzosi, Alessandro (1997). Leonardo da Vinci: Renaissance Man. 'New Horizons' series. แปลโดย Bonfante-Warren, Alexandra (English translation ed.). London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-30081-7.
- Zöllner, Frank (2015). Leonardo (2nd ed.). Cologne: Taschen. ISBN 978-3-8365-0215-3.
- Zöllner, Frank (2019) [2003]. Leonardo da Vinci: The Complete Paintings and Drawings (Anniversary ed.). Cologne: Taschen. ISBN 978-3-8365-7625-3.
- วารสารและบทความสารานุกรม
- Brown, David Alan (1983). "Leonardo and the Idealized Portrait in Milan". Arte Lombarda. 64 (4): 102–116. JSTOR 43105426. (ต้องสมัครสมาชิก)
- Cremante, Simona (2005). Leonardo da Vinci: Artist, Scientist, Inventor. Giunti. ISBN 978-88-09-03891-2.
- Giacomelli, Raffaele (1936). Gli scritti di Leonardo da Vinci sul volo. Roma: G. Bardi.
- Heydenreich, Ludwig Heinrich (28 April 2020). "Leonardo da Vinci | Biography, Art & Facts | Britannica". Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica, Inc.
- Kemp, Martin (2003). "Leonardo da Vinci". Grove Art Online. Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/gao/9781884446054.article.T050401. ISBN 978-1-884446-05-4. แม่แบบ:Grove Art subscription
- Lupia, John N. (Summer 1994). "The Secret Revealed: How to Look at Italian Renaissance Painting". Medieval and Renaissance Times. 1 (2): 6–17. ISSN 1075-2110.
อ่านเพิ่ม
แก้See Kemp (2003) and Bambach (2019, pp. 442–579) for extensive bibliographies
- Vanna, Arrighi; Bellinazzi, Anna; Villata, Edoardo, บ.ก. (2005). Leonardo da Vinci: la vera immagine: documenti e testimonianze sulla vita e sull'opera [Leonardo da Vinci: the true image: documents and testimonies on life and work] (ภาษาอิตาลี). Florence: Giunti Editore. ISBN 978-88-09-04519-4.
- Vecce, Carlo (2006). Leonardo (ภาษาอิตาลี). Foreword by Carlo Pedretti. Rome: Salerno. ISBN 978-88-8402-548-7.
- Winternitz, Emanuel (1982). Leonardo da Vinci As a Musician. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-02631-3.
- Leonardo da Vinci: anatomical drawings from the Royal Library, Windsor Castle. New York: The Metropolitan Museum of Art. 1983. ISBN 978-0-87099-362-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ทั่วไป
- Universal Leonardo, a database of Leonardo's life and works maintained by Martin Kemp and Marina Wallace
- Leonardo da Vinci on the National Gallery website
- ผลงาน
- Biblioteca Leonardiana, online bibliography (in Italian)
- e-Leo: Archivio digitale di storia della tecnica e della scienza, archive of drawings, notes and manuscripts
- ผลงานของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- ผลงานโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)
- Complete text and images of Richter's translation of the Notebooks
- The Notebooks of Leonardo da Vinci