ลิงมาคาก
ลิงมาคาก[1] | |
---|---|
ลิงกังญี่ปุ่น (M. fuscata) อาบน้ำพุร้อนในประเทศญี่ปุ่น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
วงศ์ย่อย: | Cercopithecinae |
สกุล: | Macaca Lacépède, 1799 |
ชนิดต้นแบบ | |
Simia inuus Linnaeus, 1758 | |
ชนิด | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
ลิงมาคาก (อังกฤษ: macaque) เป็นสกุลของวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Macaca
ลิงในสกุลนี้ มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาตอนเหนือจนถึงเอเชีย เป็นลิงที่พบได้อย่างกว้างขวาง มีนิ้วมือที่วิวัฒนาการใช้หยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้ดี มีกระพุ้งแก้มที่สามารถใช้เก็บอาหารได้ กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์และพืช บางชนิดมีหางยาว ขณะที่บางชนิดมีหางขนาดสั้น มีพฤติกรรมทางสังคมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีโครงสร้างทางสังคมที่สลับซับซ้อนและมีลำดับอาวุโส โดยปกติแล้ว ลิงตัวผู้ที่มีอาวุโสที่สุดหรือมีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในฝูงจะเป็นจ่าฝูง ลิงตัวใดที่มีลำดับอาวุโสน้อยกว่าถ้าได้กินอาหารก่อนลิงที่มีอาวุโสมากกว่า ลิงที่อาวุโสมากกว่าอาจแย่งอาหารจากลิงที่อาวุโสน้อยกว่าขณะกำลังจะหยิบเข้าปากได้เลย[2]
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งสิ้น 23 ชนิด [3]) โดยมี 6 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นลิงทั้งหมดที่พบได้ในประเทศไทย คือ ลิงแสม (M. fascicularis), ลิงกังใต้ (M. nemestrina), ลิงกังเหนือ (M. leonina), ลิงวอก (M. mulatta), ลิงอ้ายเงียะ (M. assamensis) และลิงเสน (M. arctoides)
และยังมีอีก 4 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ M. anderssoni, M. liangchuanensis, M. libyca, M. majori[4]
การจำแนก
แก้- กลุ่มของ M. sylvanus
- ลิงบาร์บารี, M. sylvanus
- กลุ่มของ M. nemestrina
- ลิงหางสิงโต, M. silenus
- ลิงกังใต้, M. nemestrina (หรือ ลิงกะบุด)
- ลิงกังเหนือ, M. leonina
- ลิงเกาะปาไก, M. pagensis
- ลิงเซเบรัต, M. siberu
- ลิงมัวร์, M. maura
- ลิงบูต, M. ochreata
- ลิงตังเกี๋ย, M. tonkeana
- ลิงแฮ็ก, M. hecki
- ลิงโกรอนตาโล, M. nigrescens
- ลิงกังดำ, M. nigra (หรือ ลิงหงอนเซเลเบส)
- กลุ่มของ M. fascicularis
- กลุ่มของ M. mulatta
- ลิงวอก, M. mulatta
- ลิงไต้หวัน, M. cyclopis (หรือ ลิงหินไต้หวัน)
- ลิงกังญี่ปุ่น, M. fuscata (หรือ ลิงหิมะญี่ปุ่น)
- กลุ่มของ M. sinica
- ลิงทอก, M. sinica
- ลิงบอนเนต, M. radiata
- ลิงวอกภูเขา, M. assamensis (หรือ ลิงอ้ายเงียะ, ลิงอัสสัม)
- ลิงทิเบต, M. thibetana
- ลิงอรุณาจัล, M. munzala
- ลิงแก้มขาว, M. leucogenys[5]
- ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ซากดึกดำบรรพ์):
- M. anderssoni Schlosser, 1924
- M. jiangchuanensis Pan et al., 1992[6]
- M. libyca Stromer, 1920
- M. majori Schaub & Azzaroli in Comaschi Caria, 1969 (บางครั้งถูกรวมกับลิงบาร์บารี)
อ้างอิง
แก้- ↑ Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 161–165. ISBN 0-801-88221-4.
- ↑ The Life of Mammals, Hosted by David Attenborough, 2003 British Broadcasting Corporation. BBC Video
- ↑ "Macaca". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Hartwig, Walter Carl (2002). The primate fossil record. Cambridge University Press. p. 273. ISBN 0-521-66315-6. http://books.google.com/books?id=Ezm1OA_s6isC&pg=PA273.
- ↑ Li, C.; Zhao, C.; Fan, P. (25 Mar 2015). "White-cheeked macaque (Macaca leucogenys): A new macaque species from Modog, southeastern Tibet". American Journal of Primatology. 77: 753–766. doi:10.1002/ajp.22394. PMID 25809642.
- ↑ Hartwig, Walter Carl (2002). The primate fossil record. Cambridge University Press. p. 273. ISBN 0-521-66315-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Macaca ที่วิกิสปีชีส์