ลานสายตา
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
คำว่า ลานสายตา[1] (อังกฤษ: visual field) มักใช้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า ขอบเขตภาพ[1] (field of view) แม้ว่าบททั้งสองจริง ๆ มีความหมายไม่เหมือนกัน คือ ลานสายตามีความหมายว่า "ความรู้สึกทางตาเป็นแถวตามลำดับพื้นที่ที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในการทดลองทางจิตวิทยาด้วยการพินิจภายใน (โดยบุคคลนั้น)"[2] ในขณะที่คำว่า ขอบเขตภาพ "หมายถึงวัตถุทางกายภาพและต้นกำเนิดแสงในโลกภายนอกที่เข้ามากระทบกับจอตา" กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งก็คือ ขอบเขตภาพก็คือสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของแสงที่มากระทบกับจอตา ซึ่งเป็นข้อมูลเข้าของระบบสายตาในสมอง เป็นระบบที่แปลผลเป็นลานสายตาเป็นข้อมูลออก ลานสายตานั้นมีด้านซ้ายขวาบนล่างที่ไม่สมดุลกัน ระดับความชัดก็ไม่เสมอกัน คือมีการเห็นได้ชัดที่สุดที่กลางลานสายตา บทนี้มักใช้บ่อย ๆ ในการวัดสายตา (optometry) และในจักษุวิทยา ที่มีการตรวจลานสายตาเพื่อกำหนดว่า มีความเสียหายจากโรคที่เป็นเหตุแก่ดวงมืดในลานเห็น (scotoma) หรือจากการสูญเสียการเห็น หรือจากการลดระดับความไวในการเห็น หรือไม่
กำหนดโดยปกติ
แก้ลานสายตาปกติในมนุษย์แผ่ออกไปประมาณ 60 องศาทางจมูกวัดจากเส้นเมริเดียนแนวตั้งของตาแต่ละข้าง แผ่ออกไป 100 องศาทางขมับจากเส้นเมริเดียนแนวตั้ง แผ่ออกไป 60 องศาเหนือเส้นเมริเดียนแนวนอน และแผ่ออกไป 75 องศาใต้เส้นเมริเดียนแนวนอน[ต้องการอ้างอิง] ในประเทศอังกฤษ ลานสายตากำหนดอย่างต่ำในการอนุญาตให้ขับรถก็คือ 60 องศาทั้งซ้ายทั้งขวาจากเส้นเมริเดียนแนวตั้ง และ 20 องศาทั้งบนทั้งล่างจากเส้นเมริเดียนแนวนอน
จุดภาพชัด (macula) เป็นเขตตรงกลาง 13 องศาของลานสายตา และรอยบุ๋มจอตา (fovea) เป็นเขตตรงกลาง 3 องศา
การตรวจสอบลานสายตา
แก้ลานสายตาวัดได้ด้วยวิธีการวัดลานสายตา[1] (อังกฤษ: perimetry) ซึ่งอาจจะเป็นแบบเคลื่อนไหว คือฉายจุดแสงโดยเลื่อนเข้ามาที่กลางลานสายตาจนกว่าจะเห็น หรือแบบนิ่ง ๆ คือฉายจุดแสงแบบวาบที่จอสีขาวแล้วให้ผู้รับตรวจกดปุ่มถ้าเห็นจุดแสงนั้น เครื่องวัดลานสายตาที่สามัญที่สุดคือ Humphrey Field Analyzer และ Heidelberg Edge Perimeter
อีกวิธีหนึ่งใช้เครื่อง campimeter ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กสร้างเพื่อวัดลานสายตา
การวัดส่วนมากใช้แบบวัดที่ตรวจส่วน 24 องศาหรือ 30 องศาตรงกลางสายตา แต่ว่า เครื่องวัดโดยมากก็สามารถวัดลานสายตาทั้งหมดด้วย
อีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้ผู้ตรวจสอบยกนิ้วขึ้น 1-2-5 นิ้วในมุมทั้ง 4 และที่ตรงกลางของลานสายตาของคนไข้ (โดยปิดตาอีกข้างหนึ่ง) ถ้าคนไข้สามารถบอกจำนวนนิ้วที่ยกได้อย่างถูกต้อง โดยวัดเทียบกับลานสายตาของผู้ตรวจ จะมีการบันทึกว่า (ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ) "full to count fingers" (มักจะย่อว่า FTCF) จุดบอดสามารถตรวจได้โดยยกวัตถุเล็ก ๆ มีสีแดงขึ้นแสดงระหว่างคนตรวจและคนไข้ โดยเทียบช่วงที่วัตถุนั้นมองไม่เห็นระหว่างคนไข้กับผู้ตรวจ จุดบอดที่ใหญ่ผิดปกติของคนไข้จะสามารถกำหนดได้ มีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่คล้ายกับวิธีนี้ (เช่น กระดิกนิ้วที่รอบ ๆ ลานสายตา)
การสูญเสียลานสายตา
แก้การสูญเสียลานสายตาอาจเกิดขึ้นจากโรคหรือความผิดปกติที่ตา ที่เส้นประสาทตา หรือที่สมอง โดยคลาสสิก ความบกพร่องทางลานสายตาสามารถแบ่งออกเป็น 4 อย่าง[3] คือ
- ตาบอดครึ่งซีกบนหรือล่าง[1] (Altitudinal hemianopia) เป็นความเสียหายด้านบนหรือด้านล่างลานสายตา
- ตาบอดครึ่งซีกคู่นอก[1] (Bitemporal hemianopia) เป็นความเสียหายด้านข้างลานสายตา
- ดวงมืดกลางลานเห็น[1] (Central scotoma) เป็นความเสียหายตรงกลางลานสายตา
- ตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา[1] (Homonymous hemianopia) เป็นความสูญเสียลานสายตาข้างหนึ่งในตาทั้งสอง เกิดจากความเสียหายที่ด้านหลังของส่วนไขว้ประสาทตา (optic chiasm) (ดูรายละเอียดในส่วนต่อไป)
ในมนุษย์ มีการใช้ confrontation field test และวิธีการวัดลานสายตาแบบอื่น ๆ เพื่อวัดความสูญเสียในลานสายตา ความเสียหายของระบบประสาทต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดความบกพร่องเป็นรูปแบบเฉพาะในการเห็น รวมทั้งตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia) (ดูรูปด้านล่าง เป็นแบบที่ไม่ประกอบด้วย macular sparing[4]) ตาบอดเสี้ยวเดียว (quadrantanopia) และอื่น ๆ
ภาพ
แก้-
กรุงปารีสเห็นด้วยลานสายตาที่สมบูรณ์
-
กรุงปารีสเห็นด้วยลานสายตาประกอบด้วยโรคตาบอดครึ่งซีกคู่นอก (bitemporal hemianopsia)
-
กรุงปารีสเห็นด้วยลานสายตาประกอบด้วยโรคตาบอดครึ่งซีกคู่ใน (binasal hemianopsia)
-
กรุงปารีสเห็นด้วยลานสายตาประกอบด้วยโรคตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา (homonymous hemianopsia)
-
กรุงปารีสเห็นด้วยลานสายตาประกอบด้วยโรคตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา (homonymous hemianopsia)
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"
- ↑ Smythies J (1996). "A note on the concept of the visual field in neurology, psychology, and visual neuroscience". Perception. 25 (3): 369–71. doi:10.1068/p250369. PMID 8804101.
- ↑ Jay WM (1981). "Visual field defects". American Family Physician. 24 (2): 138–42. PMID 7258077.
- ↑ เนื่องจากสมองใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการรับรองข้อมูลทางตาจากจุดภาพชัด (macular) เพราะเหตุนั้น ความเสียหายในลานสายตาบางประเภท อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีผลต่อจุดภาพชัด นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า macular sparing
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- MedlinePlus Encyclopedia Visual Field
- Patient Plus เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Quadrantanopsia เก็บถาวร 2012-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Visual Fields Teaching Case from MedPix
- Strasburger, Hans; Rentschler, Ingo; Jüttner, Martin (2011). Peripheral vision and pattern recognition: a review. Journal of Vision, 11(5):13, 1–82.
- Software for visual psychophysics; VisionScience.com เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน