โรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวาร (อังกฤษ: hemorrhoids (อังกฤษอเมริกัน) หรือ haemorrhoids (อังกฤษบริติช) หรือ piles) เป็นโครงสร้างหลอดเลือดในช่องทวารหนัก[7][8] ในสภาพปกติจะมีลักษณะเป็นนวมและช่วยในการกลั้นอุจจาระ[2] เมื่อบวมหรืออักเสบจะมีพยาธิสภาพเป็น หัวริดสีดวง[8] อาการของโรคริดสีดวงทวารขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น[4] แบบภายในมักจะเลือดออกเป็นสีแดงสดโดยไม่เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ[3][4] ขณะที่แบบภายนอกบ่อยครั้งจะเจ็บและบวมที่บริเวณทวารหนัก และถ้าเลือดออกก็จะสีคล้ำกว่า[4] อาการบ่อยครั้งจะดีขึ้นหลังจาก 2-3 วัน[3] แต่แบบภายนอกอาจจะเหลือติ่งหนัง (acrochordon) แม้หลังจากอาการหายแล้ว[4]
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Haemorrhoids, piles,[1] hemorrhoidal disease[2] |
แผนภาพแสดงกายวิภาคของโรคริดสีดวงทวารทั้งแบบภายในและภายนอก | |
สาขาวิชา | ศัลยกรรมทั่วไป |
อาการ | แบบภายใน: ไม่เจ็บ เลือดออกจากทวารหนักเป็นสีแดงสด[3] แบบภายนอก: เจ็บและบวมรอบ ๆ ทวารหนัก[4] |
การตั้งต้น | อายุ 45-65 ปี[5] |
ระยะดำเนินโรค | 2-3 วัน[3] |
สาเหตุ | ไม่ชัดเจน[4] |
ปัจจัยเสี่ยง | ท้องผูก ท้องร่วง นั่งถ่ายเป็นเวลานาน ตั้งครรภ์[3] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจร่างกาย การกันเหตุที่รุนแรงกว่าอื่น ๆ ออก[2][3] |
การรักษา | เพิ่มใยอาหาร ดื่มน้ำ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ พักผ่อน การรัดหนังยาง ผ่าตัด[6][1] |
ความชุก | 50–66% ในช่วงชีวิต[1][3] |
แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคริดสีดวงทวาร แต่ก็เชื่อว่าปัจจัยที่เพิ่มแรงดันในท้องหลายอย่างมีส่วนเกี่ยวข้อง[4] รวมทั้งท้องผูก ท้องร่วง และนั่งถ่ายเป็นเวลานาน[3] ริดสีดวงทวารยังสามัญกว่าในช่วงตั้งครรภ์ด้วย[3] การวินิจฉัยจะเริ่มที่การตรวจดูที่บริเวณ[3] หลายคนเรียกอาการทุกอย่างที่เกิดรอบบริเวณทวารหนัก-ไส้ตรงอย่างผิด ๆ ว่า "โรคริดสีดวงทวาร" แต่ก็ควรตัดสาเหตุร้ายแรงของอาการให้แน่นอนก่อน[2] การส่องกล้องแบบ Colonoscopy หรือ sigmoidoscopy บางครั้งสมควรใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและกันเหตุที่ร้ายแรงกว่า[9]
บ่อยครั้ง อาการไม่จำเป็นต้องรักษา[9] การรักษาเริ่มต้นจะเป็นการเพิ่มการรับประทานใยอาหาร, ดื่มน้ำให้มาก ๆ, ทานยา NSAID เพื่อลดเจ็บ, และพักผ่อน[1] ยาที่เป็นครีมอาจใช้ทาที่บริเวณ แต่ประสิทธิผลของยาเช่นนี้ไม่มีหลักฐานที่ดี[9] อาจทำหัตถการเล็กน้อยได้จำนวนหนึ่งหากอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์[6] โดยการผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับโรคที่ไม่ดีขึ้น[6]
ประชากรประมาณ 50%-66% จะมีปัญหาริดสีดวงทวารอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต[1][3] ชายและหญิงพบบ่อยพอ ๆ กัน[1] คนอายุ 45-65 ปีจะมีปัญหามากที่สุด[5] เป็นปัญหาสำหรับคนมั่งมีมากกว่า[4] และปกติจะหายได้ดี[3][9]
การกล่าวถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกที่รู้มาจากบันทึกในกระดาษปาปิรัสของชาวอิยิปต์ช่วง 1700 ปีก่อน ค.ศ.[10]
อาการ
แก้ผู้ที่มีโรคริดสีดวงทวาร 40% จะไม่มีอาการที่สำคัญ[4] ริดสีดวงภายในและภายนอกอาจมีอาการต่างกัน แต่หลายคนก็จะมีริดสีดวงสองแบบผสมกัน[8] การมีเลือดออกจนเกิดภาวะเลือดจางมีน้อย[5] และการมีเลือดออกจนอันตรายถึงชีวิตก็ยิ่งน้อยกว่า[11] หลายคนจะรู้สึกอายเมื่อมีปัญหา[5] และบ่อยครั้งจะไปหาแพทย์ก็ต่อเมื่ออาการหนักแล้ว[8]
แบบภายนอก
แก้โรคริดสีดวงทวารแบบภายนอกจะเกิดบริเวณใต้ dentate line (หรือ pectinate line) ถ้าไม่มีลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ก็อาจสร้างปัญหาน้อยมาก[12] แต่ถ้ามีลิ่มเลือดก็อาจจะเจ็บมาก[8][1] อย่างไรก็ดี ความเจ็บปวดมักจะหายเองภายใน 2-3 วัน[5] แต่อาการบวมอาจใช้เวลา 2-3 อาทิตย์กว่าจะหาย[5] อาจจะมีติ่งหนังเหลืออยู่แม้หายแล้ว[8] ถ้าริดสีดวงใหญ่จนมีปัญหาเรื่องความสะอาด มันอาจจะทำให้ระคายเคืองและคันรอบ ๆ ทวารหนัก[12]
ภายใน
แก้โดยปกติ โรคริดสีดวงทวารภายในจะปรากฏอาการเลือดออกเป็นสีแดงสดที่ปลายลำไส้โดยไม่เจ็บ ไม่ว่าในระหว่างหรือหลังจากถ่ายอุจจาระ[8] ปกติเลือดจะอาบก้อนอุจจาระ ติดกระดาษชำระ หรือเลือดหยดลงในโถส้วม[8] ส่วนก้อนอุจจาระเองมีสีปกติ[8] อาการอื่น ๆ ที่อาจมีคือ มีเมือกไหล มีก้อนรอบปากทวารหนักหากหัวริดสีดวงเลื่อนยืดออกมาข้างนอก คันทวารหนัก และกลั้นอุจจาระไม่อยู่[11][13] โรคริดสีดวงภายในปกติจะเจ็บก็ต่อเมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือเนื้อตาย (necrosis)[8]
เนื่องจากไม่มีอาการปวด บางคนอาจไม่สนใจถึงแม้เป็น ถ้าไม่รักษาอาจกลายเป็นริดสีดวงได้สองแบบ คือแบบมีก้อนยื่นออกทวาร (prolapsed hemorrhoids) หรือแบบบีบรัด (strangulated hemorrhoids) ถ้าหูรูดทวารหนักหดตัวและบีบก้อนริดสีดวงจนขาดเลือดไปเลี้ยง ริดสีดวงจะกลายเป็นแบบบีบรัด ยังสามารถจัดโรคริดสีดวงภายในได้เป็น 4 ระยะ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
สาเหตุ
แก้สาเหตุที่แน่นอนของโรคริดสีดวงที่มีอาการยังไม่ชัดเจน[14] มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดก้อนริดสีดวงทวาร อาทิ การถ่ายผิดปกติ (ท้องผูก ท้องเสีย) การไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยทางอาหาร (รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย) ความดันเพิ่มภายในช่องท้อง (เช่น เบ่งนาน ท้องมาน ก้อนเนื้อในช่องท้อง หรือตั้งครรภ์) กรรมพันธุ์ ไม่มีลิ้นในเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก อายุ[1][5] สาเหตุอื่น ๆ ที่เชื่อว่าเพิ่มความเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วน นั่งเป็นเวลานาน ๆ[8] การไอเรื้อรัง และฐานเชิงกรานผิดปกติ (pelvic floor dysfunction)[2] การนั่งยอง ๆ เมื่อถ่ายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคริดสีดวงที่รุนแรง[15] อย่างไรก็ดี หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของโรคกับปัจจัยเหล่านี้ค่อนข้างไม่ดี[2]
ระหว่างตั้งครรภ์ ความดันจากตัวอ่อนในท้องและการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจะทำให้เส้นเลือดริดสีดวงทวารมีขนาดใหญ่ขึ้น การคลอดก็จะเพิ่มความดันภายในช่องท้องด้วย[16] การผ่าตัดมักไม่จำเป็นสำหรับหญิงมีครรภ์ เพราะอาการมักหายเองหลังคลอด[1]
พยาธิสรีรวิทยา
แก้ริดสีดวงทวารเป็นนวมป้องกันอันหนึ่งของร่างกาย และจะกลายเป็นโรคก็ต่อเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น[8] ในช่องทวารหนักที่ปกติดีจะมีนวมป้องกันหลัก ๆ อยู่สามจุด[1] ซึ่งปกติอยู่ที่ตำแหน่งซ้ายด้านข้าง (left lateral) ขวาด้านหน้า (right anterior) กับขวาด้านหลัง (right posterior)[5] เป็นนวมป้องกันที่ไม่ใช่หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ แต่ประกอบด้วยหลอดเลือดที่เรียกว่าไซนูซอยด์ (sinusoids) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กับกล้ามเนื้อเรียบ[2]: 175 ไซนูซอยด์จะไม่มีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อในผนังเหมือนกับหลอดเลือด[8] กลุ่มเส้นเลือดเหล่านี้เรียกรวมกันว่า hemorrhoidal plexus[2]
ริดสีดวงที่เป็นนวมป้องกันจะสำคัญในการกลั้นอุจจาระ ในช่วงหยุดพักอยู่เฉย ๆ จะช่วยเป็นแรงปิดทวารหนักร้อยละ 15-20 และในขณะถ่ายอุจจาระ จะช่วยปกป้องกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทั้งภายในภายนอก[8] เมื่อเบ่ง แรงดันภายในช่องท้องก็จะเพิ่ม ซึ่งทำให้นวมริดสีดวงโป่งใหญ่ขึ้นเพื่อปิดทวารหนักให้อยู่[5]
เชื่อกันว่า อาการริดสีดวงทวารเป็นผลจากเมื่อส่วนที่เต็มไปด้วยหลอดเลือดนี้เลื่อนลง หรือเมื่อแรงดันที่หลอดเลือดดำเพิ่มมากเกินไป[11] แรงดันที่หูรูดทวารหนักทั้งภายในภายนอกที่เพิ่มมากขึ้น ก็อาจมีส่วนด้วย[5] โรคริดสีดวงทวารจะมีสองประเภท คือแบบภายในโดยเกิดที่กลุ่มหลอดเลือดของริดสีดวงด้านบนคือ superior hemorrhoidal plexus กับแบบภายนอกโดยเกิดที่กลุ่มหลอดเลือดของริดสีดวงด้านล่างคือ inferior hemorrhoidal plexus[5] แนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนักหรือ dentate/pectinate line จะเป็นแนวแบ่งบริเวณทั้งสองนี้[5]
เกรด | แผนภาพ | ภาพ |
---|---|---|
1 | ||
2 | ||
3 | ||
4 |
การวินิจฉัย
แก้โรคริดสีดวงทวารโดยปกติแล้วจะวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย[6] การตรวจดูปากทวารและบริเวณใกล้เคียงอาจทำให้วินิจฉัยได้ว่า เป็นโรคริดสีดวงภายนอกหรือแบบยื่นย้อยออกมา (prolapsed)[8] การตรวจปลายลำไส้ตรงอาจทำเพื่อแยกว่าเป็นเนื้องอกในลำไส้ตรง ติ่งเนื้อเมือก ต่อมลูกหมากโต หรือฝี หรือไม่[8] โดยอาจต้องใช้ยาระงับประสาทที่เหมาะสมเพื่อระงับความเจ็บ แม้ริดสีดวงภายในส่วนมากจะไม่เจ็บ[1] เพื่อให้แน่ชัดว่าเป็นโรคริดสีดวงภายใน อาจต้องส่องกล้องทวารหนัก (anoscopy) โดยใช้อุปกรณ์เป็นท่อกลวงซึ่งมีไฟติดที่ข้างหนึ่ง[5]
โรคริดสีดวงทวารมีสองประเภทคือ ภายนอกและภายใน โดยต่างกันตรงตำแหน่งเมื่อเทียบกับแนวรอยต่อระหว่างปลายลำไส้กับทวารหนัก (dentate line)[1] คนไข้บางรายอาจมีอาการของทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกัน[5] หากรู้สึกเจ็บหรือมีแผลปริที่ปากทวาร โรคริดสีดวงภายนอกจะเป็นไปได้มากกว่าแบบภายใน[5]
แบบภายใน
แก้โรคริดสีดวงภายในจะเกิดเหนือแนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate line)[12] ซึ่งปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ columnar epithelium ที่ไร้ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด[2] ในปี ค.ศ. 1985 ได้มีการจัดโรคเป็นสี่ระยะ โดยขึ้นกับขนาดการยื่นออกมา (prolapse)[2][1]
- ระยะที่ 1 - ไม่ยื่นออกมา เพียงแต่หลอดเลือดจะปรากฏชัดขึ้น[6]
- ระยะที่ 2 - จะยื่นออกเมื่อเบ่ง แต่จะกลับเข้าไปเอง
- ระยะที่ 3 - จะยื่นออกมาเมื่อเบ่ง และจะต้องดันให้กลับเข้าไป
- ระยะที่ 4 - จะยื่นออกมาโดยดันกลับเข้าไปไม่ได้
แบบภายนอก
แก้โรคริดสีดวงทวารภายนอกจะเกิดใต้แนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate/pectinate line)[12] และปกคลุมด้วยเยื่อบุรูทวารหนัก (anoderm) ใต้แนวรอยต่อ และด้วยผิวหนังเหนือแนวรอยต่อ โดยทั้งสองส่วนจะสามารถรู้สึกเจ็บและร้อนเย็นได้[2]
การวินิจฉัยแยกโรค
แก้ปัญหาบริเวณปลายลำไส้และทวารหนัก รวมทั้งแผลปริที่ปากทวาร แผลชอนทะลุทวารหนัก ฝี มะเร็งลำไส้ตรง เส้นเลือดขอดบริเวณลำไส้ตรง และอาการคันทวารหนัก ต่างก็มีอาการคล้ายคลึงกัน ทำให้อาจระบุผิด ๆ ว่า เป็นโรคริดสีดวงทวาร[1] อาการเลือดออกในลำไส้ตรง อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันจากมะเร็งลำไส้ตรง, จากลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) รวมทั้งแบบไม่ทราบสาเหตุ (inflammatory bowel disease), จากโรคถุงลำไส้ใหญ่ (diverticular disease), และจากความผิดปกติของเส้นเลือด (angiodysplasia)[6] หากมีภาวะโลหิตจาง ควรพิจารณาความเป็นไปได้ของสาเหตุอื่น ๆ ด้วย[5]
ภาวะอื่น ๆ ที่เกิดก้อนเนื้อบริเวณปากทวารหนักได้แก่ผิวหนังเป็นติ่ง (acrochordon) หูดทวารหนัก ลำไส้ตรงยื่น (rectal prolapse) ติ่งเนื้อเมือก และปุ่มพองออกบริเวณทวารหนัก (enlarged anal papillae)[5] เส้นเลือดขอดบริเวณลำไส้ตรงกับทวารหนัก (Anorectal varices) ซึ่งเกิดจากความดันโลหิตสูงในระบบเส้นเลือด Hepatic portal system อาจมีอาการคล้ายกับโรคริดสีดวงทวาร แต่จริง ๆ เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งต่างหาก[5] และอาการนี้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของริดสีดวงทวาร[4]
การป้องกัน
แก้วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวารที่แนะนำรวมทั้ง
แนวทางการรักษา
แก้แนวอนุรักษ์
แก้การรักษาแนวอนุรักษ์ปกติหมายถึงการทานอาหารที่มีใยอาหารมาก ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อไม่ให้ขาดน้ำ ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) การนั่งแช่น้ำอุ่น และการพักผ่อน[1] การบริโภคใยอาหารเพิ่มมีหลักฐานว่า ทำให้ได้ผลดีขึ้น[19] ซึ่งทำได้โดยเปลี่ยนอาหารหรือทานผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหาร[1][19] แต่ประโยชน์ของการนั่งแช่น้ำอุ่นในระหว่างการรักษา ยังขาดหลักฐานอยู่[20] หากใช้วิธีนี้ ควรจำกัดเวลาแต่ละครั้งไม่ให้เกิน 15 นาที[2]: 182
ในการรักษาโรคริดสีดวง อาจใช้ยาใช้เฉพาะที่และยาเหน็บทางทวารหนักได้ แต่ก็ยังมีหลักฐานยืนยันประโยชน์จากยาเหล่านี้น้อยอยู่[1] ยาที่มีสเตอรอยด์ ไม่ควรใช้นานกว่า 14 วัน เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้ผิวหนังยิ่งบางลง[1] ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่นำมาผสมกัน[2] ซึ่งอาจรวมครีมป้องกันแผลเช่นวาสลีน (ปิโตรเลียมเจลลี่) หรือซิงค์ออกไซด์ รวมยาระงับปวด เช่นไลโดเคน และรวมยาบีบหลอดเลือด เช่นเอพิเนฟรีน[2] บางอย่างอาจมียาหม่องเปรู (Balsam of Peru) ที่บางคนอาจแพ้[21][22] การรักษาอีกวิธีหนึ่งคือ การทานยาในรูปแบบแคปซูลสมุนไพร ซึ่งมีส่วนประกอบที่มาจากสมุนไพรต่างๆ อาทิเช่น เพชรสังฆาต อัคคีทวาร ว่านหางจระเข้ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร[23]
ส่วนเฟลวานอยด์ (Flavonoids) นั้น ยังไม่ปราฏประโยชน์ที่ชัดเจน อีกทั้งยังอาจมีผลข้างเคียงได้ด้วย[2][24] ปกติแล้ว อาการจะหายไปเองเมื่อผ่านช่วงตั้งครรภ์ บ่อยครั้งจึงเลื่อนการรักษาอย่างแอคทีฟไปจนหลังคลอดบุตรแล้ว[25] หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้ยาจีน[26]
หัตถการ
แก้บางครั้งอาจต้องใช้หัตถการต่าง ๆ ที่กระทำในสถานพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปจะปลอดภัย และนาน ๆ ครั้งจึงเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ภาวะพิษเหตุติดเชื้อรอบขอบทวารหนัก[6]
- การรัดหนังยาง (Rubber band ligation) เป็นวิธีแรกที่ปกติแนะนำให้รักษาสำหรับผู้เป็นโรคในระยะที่ 1-3[6] เป็นหัตถการซึ่งใช้หนังยางรัดหัวริดสีดวงแบบภายในอย่างน้อย 1 ซม เหนือแนวรอยต่อระหว่างลำไส้ตรงกับทวารหนัก (dentate line) เพื่อตัดเลือด ภายใน 5-7 วัน หัวริดสีดวงก็จะเหี่ยวแห้งหลุดออกเอง หากรัดหนังยางใกล้กับแนวรอยต่อดังกล่าวมากเกินไป ก็จะทำให้เจ็บอย่างรุนแรงทันที[1] งานศึกษาพบว่าอัตราการหายขาดมีประมาณร้อยละ 87[1] โดยอัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนมีถึงร้อยละ 3[6]
- การรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง (Sclerotherapy) คือการฉีดสารที่ก่อความแข็งตัวเช่นฟีนอล เข้าสู่หัวริดสีดวง ซึ่งทำลายผนังหลอดเลือดดำและทำให้หัวริดสีดวงเหี่ยวเฉาไป อัตราสัมฤทธิ์ผลหลังรักษาสี่ปีเท่ากับประมาณร้อยละ 70[1]
- ส่วนการทำลายเนื้อเยื่อด้วยการเผา (cauterization) นั้น หลายวิธีใช้ได้ผลดีกับหัวริดสีดวง แต่ปกติจะใช้เฉพาะเมื่อวิธีอื่นไม่ได้ผล หัตถการนี้อาจใช้การจี้ด้วยไฟฟ้า (electrocautery) การฉายรังสีอินฟราเรด การใช้แสงเลเซอร์ผ่าตัด[1] หรือศัลยกรรมใช้ความเย็น (cryosurgery)[27] การทำลายหลอดเลือดหรือเนื้อเยื่อด้วยแสงอินฟราเรดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับโรคระยะที่ 1 หรือที่ 2[6] แต่สำหรับระยะที่ 3 หรือ 4 อัตราการกลับมาเป็นอีกจะสูง[6]
การผ่าตัด
แก้เทคนิคการผ่าตัดอื่น ๆ อาจใช้ถ้าแนวทางการรักษาแบบอนุรักษ์ธรรมดา ๆ ไม่ได้ผล[6] การผ่าตัดทุกกรณีก็จะสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนอยู่บ้าง รวมทั้งเลือดออก ติดเชื้อ ช่องทวารหนักตีบ (anal stricture) และปัสสาวะคั่งค้าง (urinary retention) เนื่องจากลำไส้ตรงอยู่ใกล้กับเส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะ[1] บางครั้งอาจเสี่ยงกลั้นอุจจาระไม่อยู่บ้าง โดยเฉพาะอุจจาระเหลว[2][28] อัตราที่รายงานอยู่ระหว่างร้อยละ 0-28[29] การปลิ้นออกนอกของเยื่อเมือก (Mucosal ectropion) อาจเกิดหลังจากตัดหัวริดสีดวงทวารออก (hemorrhoidectomy) โดยบ่อยครั้งเกิดร่วมกับภาวะทวารหนักตีบ (anal stenosis)[30] เป็นการปลิ้นออกของเยื่อเมือกออกจากปากทวาร คล้ายกับภาวะไส้ตรงยื่นย้อย (rectal prolapse) แบบอ่อน ๆ[30]
- การผ่าตัดริดสีดวง (Excisional hemorrhoidectomy) จะใช้เฉพาะกรณีที่อาการรุนแรง[1] ซึ่งจะเจ็บมากหลังผ่าตัด และปกติต้องใช้เวลา 2-4 อาทิตย์เพื่อฟื้นตัว[1] อย่างไรก็ดี สำหรับโรคริดสีดวงระยะ 3 ในระยะยาวจะมีประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับการรัดหนังยาง[31] การผ่าตัดเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับริดสีดวงทวารภายนอกแบบมีลิ่มเลือดอุดตัน หากกระทำให้เสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง[12][6] ยาทาไนโตรกลีเซอรีนที่ใช้หลังหัตถการ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและช่วยเยียวยารักษา[32]
- การตัดหลอดเลือดแดงที่ผ่านเข้าหัวริดสีดวง (transanal hemorrhoidal dearterialization) นำทางด้วยคลื่นเสียงแบบดอปเพลอร์ เป็นวิธีการรักษาแบบเกิดแผลน้อยที่สุด โดยใช้เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบดอปเพลอร์เพื่อหาตำแหน่งหลอดเลือดแดงที่วิ่งเข้ามาที่หัวริดสีดวง แล้วผูกเส้นเลือดและเย็บเนื้อเยื่อที่ยื่นออกให้เข้าสู่ตำแหน่งเดิม โอกาสกลับมาเป็นอีกจะสูงกว่าเล็กน้อย แต่เปรียบเทียบกับการผ่าตัดออกแล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า[1]
- Stapled hemorrhoidectomy/hemorrhoidopexy เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อตัดเนื้อเยื่อริดสีดวงที่พองผิดปกติโดยตัดออกส่วนมาก แล้วเย็บเนื้อเยื่อที่เหลือกลับเข้าตำแหน่งเดิม เป็นวิธีที่โดยทั่วไปจะเจ็บน้อยกว่า และหายเป็นปกติได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการตัดหัวริดสีดวงทั้งหมดออก[1] อย่างไรก็ดี โอกาสเป็นโรคริดสีดวงอีกอาจจะมากกว่าการตัดหัวริดสีดวงออกแบบทั่วไป[33] จึงมักแนะนำให้ใช้เฉพาะโรคระยะที่ 2 หรือ 3[6]
วิทยาการระบาด
แก้โรคริดสีดวงทวารหนักสามัญแค่ไหนยากที่จะกำหนดได้ เนื่องจากคนไข้จำนวนมากจะไม่ไปพบแพทย์[11][14] แต่เชื่อว่าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของประชากรชาวอเมริกัน จะเป็นโรคริดสีดวงทวารในช่วงหนึ่งของชีวิต และประมาณร้อยละ 5 กำลังเป็นอยู่[1] หญิงชายจะเป็นพอ ๆ กัน[1] โดยอัตราการเป็นจะสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 45-65 ปี[5] โรคจะพบบ่อยมากกว่าในคนผิวขาว (Caucasians)[34] และผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงกว่า[2] โดยทั่วไปแล้วจะได้ผลดีในระยะยาว แม้บางคนอาจกลับมาเป็นอีก[11] และมีส่วนน้อยมากที่ลงท้ายต้องผ่าตัด[2]
ประวัติ
แก้เท่าที่ทราบ ครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงโรคอันสร้างความทรมานนี้ อยู่ในบันทึกกระดาษต้นกกปาปิรุสของชาวอียิปต์ ในปี 1,700 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งให้คำแนะนำว่า “...สูเจ้าพึงให้สูตรยา ยาวิเศษสำหรับทากันแผล เอาใบอาเคเชียมาบด ตำ แล้วหุงให้สุกด้วยกัน ป้ายที่แถบผ้าลินินละเอียด จากนั้นใส่เข้าไปในทวารหนัก ทำเช่นนี้ ก็จะหายทันที"[10]
ในปี 460 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนของฮิปพอคราทีส (Hippocratic corpus) ได้บรรยายวิธีรักษาพยาบาลซึ่งคล้ายเคียงกับวิธีสมัยใหม่คือการรัดหนังยางไว้ว่า “หัวริดสีดวงต่าง ๆ นั้น เมื่อรักษา ท่านอาจทำด้วยการเอาเข็มยึดตรึงพวกมันไว้ แล้วผูกพวกมันด้วยเส้นด้ายขนสัตว์ที่หนา ๆ และอย่ากวนหรือชะน้ำหรือทายา จนกว่าจะหลุดออกไปเอง โดยทิ้งหัวหนึ่งเหลือไว้เสมอ และเมื่อผู้ป่วยหายดีขึ้น จัดให้ทานยาสมุนไพรคือเฮลเลอบอร์ (Hellebore เพื่อให้ถ่าย) ”[10] คัมภีร์ไบเบิลก็อาจกล่าวถึงโรคริดสีดวงทวารไว้ด้วย[5]
นักสารานุกรม เซลซัส (25 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ 14) ได้อธิบายหัตถการผูกมัดและตัดออก อีกทั้งชี้แจงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด[35] นายแพทย์ชาวกรีก กาเล็น สนับสนุนการตัดส่วนเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำ โดยอ้างว่าจะลดทั้งอาการเจ็บและทั้งการแพร่ของเนื้อตายเน่า[35] คัมภีร์แพทย์สันสกฤต ซุสรูตา แซมฮิตา (Susruta Samhita คริสต์ศักราชที่ 4–5) เขียนในทำนองเดียวกับที่ฮิปโปเครติสได้กล่าวไว้ แต่ต่างโดยเน้นการรักษาแผลให้สะอาด[10]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศัลยแพทย์ชาวยุโรป เช่น ลานฟรังค์แห่งมิลาน, กีย์ เดอ ชอลิแอค, เฮนรี เดอ มอนเดวิเล, และจอห์นแห่งอาร์ดีน ได้พัฒนาเทคนิควิธีการผ่าตัดให้ก้าวหน้าอย่างมาก[35] ในยุโรปสมัยกลาง โรคนี้เรียกว่า คำสาปของนักบุญ Fiacre เพราะนักบุญที่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศศวรรษที่ 6 ผู้นี้ป่วยเป็นโรคนี้เมื่อไถดิน[36]
การใช้คำภาษาอังกฤษว่า hemorrhoid เกิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1398 โดยมาจากคำภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า "emorroides" ซึ่งก็มาจากคำภาษาละตินว่า "hæmorrhoida"[37] โดยมาจากคำภาษากรีกว่า αἱμορροΐς (haimorrhois) ซึ่งแปลว่า "มักจะหลั่งเลือด" และก็มาจากรากศัพท์ว่า αἷμα (haima) แปลว่า "เลือด"[38] กับคำว่า ῥόος (rhoos) แปลว่า "สายธาร กระแส การไหล"[39] ซึ่งก็มาจากคำว่า ῥέω (rheo) ซึ่งแปลว่า "ไหล หลั่งไหล"[40]
ผู้ป่วยที่มีชื่อเสียง
แก้นักกีฬาเบสบอลชื่อเสียงกระฉ่อน จอร์จ เบร็ตต์ ต้องออกจากการแข่งขันชิงชนะเลิศเวิลด์ซีรีส์ประจำปี 1980 กลางคันเนื่องจากเจ็บริดสีดวง หลังจากที่เบร็ตต์ได้รับการผ่าตัดเล็ก เขาก็กลับเข้าเล่นในรอบต่อไป โดยทิ้งคำพูดไว้อย่างคมคายว่า "...ปัญหาของผมก็ทิ้งไว้ข้างหลังทั้งหมดแล้วครับ"[41] เบร็ตต์ได้รับการผ่าตัดริดสีดวงอีกในฤดูใบไม้ผลิต่อมา[42] นักวิเคราะห์ข่าวการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยม เกล็นน์ เบ็ก ได้รับการผ่าตัดริดสีดวง ต่อมาเขาได้เล่าประสบการณ์อันไม่น่ารื่นรมย์ทางวีดิโอยูทูบ ซึ่งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2551[43][44] อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี คาร์เตอร์ได้รับการผ่าตัดริดสีดวงในปี 2527[45]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 Lorenzo-Rivero, S (2009-08). "Hemorrhoids: diagnosis and current management". Am Surg. 75 (8): 635–42. PMID 19725283.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 Beck, David E. (2011). The ASCRS textbook of colon and rectal surgery (2nd ed.). New York: Springer. p. 175. ISBN 978-1-4419-1581-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 "Hemorrhoids". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. 2013-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Sun, Z; Migaly, J (2016-03). "Review of Hemorrhoid Disease: Presentation and Management". Clinics in colon and rectal surgery. 29 (1): 22–9. doi:10.1055/s-0035-1568144. PMID 26929748.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 Kaidar-Person, O; Person, B; Wexner, SD (2007-01). "Hemorrhoidal disease: A comprehensive review" (PDF). Journal of the American College of Surgeons. 204 (1): 102–17. doi:10.1016/j.jamcollsurg.2006.08.022. PMID 17189119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-22.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 Rivadeneira, DE; Steele, SR; Ternent, C; Chalasani, S; Buie, WD; Rafferty, JL; Standards Practice Task Force of The American Society of Colon and Rectal Surgeons (2011-09). "Practice parameters for the management of hemorrhoids (revised 2010)". Diseases of the colon and rectum. 54 (9): 1059–64. doi:10.1097/DCR.0b013e318225513d. PMID 21825884.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Chen, Herbert (2010). Illustrative Handbook of General Surgery. Berlin: Springer. p. 217. ISBN 1-84882-088-7.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15
Schubert, MC; Sridhar, S; Schade, RR; Wexner, SD (2009-07). "What every gastroenterologist needs to know about common anorectal disorders". World J Gastroenterol. 15 (26): 3201–9. doi:10.3748/wjg.15.3201. ISSN 1007-9327. PMC 2710774. PMID 19598294.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Hollingshead, JR; Phillips, RK (2016-01). "Haemorrhoids: modern diagnosis and treatment". Postgraduate Medical Journal. 92 (1083): 4–8. doi:10.1136/postgradmedj-2015-133328. PMID 26561592.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Ellesmore, Windsor (2002). "Surgical History of Haemorrhoids". ใน Charles, MV (บ.ก.). Surgical Treatment of Haemorrhoids. London: Springer.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4
Davies, RJ (2006-06). "Haemorrhoids". Clinical evidence (15): 711–24. PMID 16973032. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Dayton, senior editor, Peter F. Lawrence; editors, Richard Bell, Merril T. (2006). Essentials of general surgery (4th ed.). Philadelphia ;Baltimore: Williams & Wilkins. p. 329. ISBN 978-0-7817-5003-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑
Azimuddin, edited by Indru Khubchandani, Nina Paonessa, Khawaja (2009). Surgical treatment of hemorrhoids (2nd ed.). New York: Springer. p. 21. ISBN 978-1-84800-313-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 14.0 14.1 Reese, GE; von Roon, AC; Tekkis, PP (2009-01-29). "Haemorrhoids". Clinical evidence. 2009. PMC 2907769. PMID 19445775.
- ↑ Bland, Kirby I.; Sarr, Michael G.; B?chler, Markus W.; Csendes, Attila; Garden, Oliver James; Wong, John (2008). General Surgery: Principles and International Practice (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 857. ISBN 9781846288326. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11.
- ↑ National Digestive Diseases Information Clearinghouse (2004-11). "Hemorrhoids". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), NIH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 Domino, Frank J (2012). The 5-Minute Clinical Consult 2013 (Griffith's 5 Minute Clinical Consult). Hagerstown, MD: Lippincott Williams & Wilkins. p. 572. ISBN 1-4511-3735-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ 18.0 18.1 Glass, Cheryl A. Cash, Jill C (บ.ก.). Family practice guidelines (2nd ed.). New York: Springer. p. 665. ISBN 978-0-8261-1812-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ 19.0 19.1 Alonso-Coello, P.; Guyatt, G. H.; Heels-Ansdell, D.; Johanson, J. F.; Lopez-Yarto, M.; Mills, E.; Zhuo, Q.; Alonso-Coello, Pablo (2005). Alonso-Coello, Pablo (บ.ก.). "Laxatives for the treatment of hemorrhoids". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004649. doi:10.1002/14651858.CD004649.pub2. PMID 16235372.
- ↑ Lang, DS; Tho, PC; Ang, EN (2011-12). "Effectiveness of the Sitz bath in managing adult patients with anorectal disorders". Japan journal of nursing science : JJNS. 8 (2): 115–28. doi:10.1111/j.1742-7924.2011.00175.x. PMID 22117576.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Balsam of Peru contact allergy". Dermnetnz.org. 2013-12-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
- ↑ The ASCRS Textbook of Colon and Rectal Surgery: Second Edition. 2011. ISBN 978-1-4419-1581-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04.
- ↑ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.
- ↑
Alonso-Coello, P; Zhou, Q; Martinez-Zapata, MJ และคณะ (2006-08). "Meta-analysis of flavonoids for the treatment of haemorrhoids". Br J Surg. 93 (8): 909–20. doi:10.1002/bjs.5378. PMID 16736537.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Quijano, CE; Abalos, E (2005-07-20). "Conservative management of symptomatic and/or complicated haemorrhoids in pregnancy and the puerperium". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD004077. doi:10.1002/14651858.CD004077.pub2. PMID 16034920.
- ↑ Gan, Tao; Liu, Yue-dong; Wang, Yiping; Yang, Jinlin (2010-10-06). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd006791.pub2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-04.
- ↑ Misra, MC; Imlitemsu, (2005). "Drug treatment of haemorrhoids". Drugs. 65 (11): 1481–91. doi:10.2165/00003495-200565110-00003. PMID 16134260.
{{cite journal}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ Pescatori, M; Gagliardi, G (2008-03). "Postoperative complications after procedure for prolapsed hemorrhoids (PPH) and stapled transanal rectal resection (STARR) procedures". Techniques in coloproctology. 12 (1): 7–19. doi:10.1007/s10151-008-0391-0. PMC 2778725. PMID 18512007.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Ommer, A; Wenger, FA; Rolfs, T; Walz, MK (2008-11). "Continence disorders after anal surgery—a relevant problem?". International journal of colorectal disease. 23 (11): 1023–31. doi:10.1007/s00384-008-0524-y. PMID 18629515.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 30.0 30.1 Lagares-Garcia, JA; Nogueras, JJ (2002-12). "Anal stenosis and mucosal ectropion". The Surgical clinics of North America. 82 (6): 1225–31, vii. doi:10.1016/s0039-6109(02)00081-6. PMID 12516850.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Shanmugam, V; Thaha, MA; Rabindranath, KS; Campbell, KL; Steele, RJ; Loudon, MA (2005-07-20). "Rubber band ligation versus excisional haemorrhoidectomy for haemorrhoids". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD005034. doi:10.1002/14651858.CD005034.pub2. PMID 16034963.
- ↑ Ratnasingham, K; Uzzaman, M; Andreani, SM; Light, D; Patel, B (2010). "Meta-analysis of the use of glyceryl trinitrate ointment after haemorrhoidectomy as an analgesic and in promoting wound healing". International journal of surgery (London, England). 8 (8): 606–11. doi:10.1016/j.ijsu.2010.04.012. PMID 20691294.
- ↑ Jayaraman, S; Colquhoun, PH; Malthaner, RA (2006-10-18). "Stapled versus conventional surgery for hemorrhoids". Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD005393. doi:10.1002/14651858.CD005393.pub2. PMID 17054255.
- ↑ Lynge, Dana Christian; Weiss, Barry D. 20 Common Problems: Surgical Problems And Procedures In Primary Care. McGraw-Hill Professional. p. 114. ISBN 978-0-07-136002-9.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 Agbo, SP (2011-01-01). "Surgical management of hemorrhoids". Journal of Surgical Technique and Case Report. 3 (2): 68. doi:10.4103/2006-8808.92797.
- ↑ Cataldo, Peter (2005). "Hemorrhoids". Arlington Heights, IL: American Society of Colon and Rectal Surgeons. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-09-30.
- ↑ Lewis, Charlton T; Short, Charles. "hæmorrhoida". A Latin Dictionary, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Liddell, Henry George; Scott, Robert. "αἷμα". A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Liddell, Henry George; Scott, Robert. "ῥόος". A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Liddell, Henry George; Scott, Robert. "???". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Kaegel, Dick (2009-03-05). "Memories fill Kauffman Stadium". Major League Baseball. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ "Brett in Hospital for Surgery". The New York Times. Associated Press. 1981-03-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11.
- ↑ "Glenn Beck: Put the 'Care' Back in Health Care". ABC Good Morning America. 2008-01-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-28. สืบค้นเมื่อ 2012-09-17.
- ↑ "Beck From the Dead". YouTube (Mr?Beck speaking from home shortly after hospital). GlennBeckVideos. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09.
- ↑ "Carter Leaves Hospital". The New York Times. 1984-01-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- โรคริดสีดวงทวาร ที่เว็บไซต์ Curlie