รายชื่อประธานาธิบดีอินเดีย
ประธานาธิบดีแห่งอินเดียเป็นประมุขแห่งรัฐ ของอินเดีย และเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ กองทัพอินเดีย ประธานาธิบดีถือว่าเป็นพลเมืองหมายเลขหนึ่งของอินเดีย[1][2] แม้ว่าจะได้รับอำนาจเหล่านี้ตามรัฐธรรมนูญของอินเดีย แต่ตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นพิธีการและอำนาจบริหารเป็นของ นายกรัฐมนตรีโดย พฤตินัย [3]
ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย โลกสภา และราชยสภา และสมาชิกของ วิธนสภา ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติของรัฐแต่ละรัฐ[2] ประธานาธิบดีสามารถอยู่ในตำแหน่งได้เป็นเวลาห้าปีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 56 ส่วนที่ 5 ของรัฐธรรมนูญอินเดีย ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสิ้นสุดลงก่อนกำหนดหรือในระหว่างที่ประธานาธิบดีสาบสูญ จะให้รองประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่ง ตามมาตรา 70 ของส่วนที่ 5 รัฐสภาอาจตัดสินกระบวนการปลดประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ ที่ไม่คาดคิด[2]
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้มี ประธานาธิบดีคนที่ 15 ของอินเดีย[5][6]
ประธานาธิบดี
แก้ลำดับที่ | ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
|
ตำแหน่งก่อนหน้า | รองประธานาธิบดี | พรรค[7] | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ราเชนทระ ปรสาท (1884–1963) |
26 มกราคม 1950 | 13 พฤษภาคม 1962 | ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ | สรวปัลลี ราธากฤษณัน | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
1950, 1952, 1957 | |||||||||
12 ปี 107 วัน | |||||||||
ปรสาทมาจากรัฐพิหาร เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินเดียหลังได้รับเอกราช และดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ในฐานะประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งสองวาระขึ้นไป[8][9][10] เขายังเป็นหนึ่งในนักต่อสู้ในขบวนการเรียกร้องเอกราช[11] | |||||||||
2 | สรวปัลลี ราธากฤษณัน (1888–1975) |
13 พฤษภาคม 1962 | 13 พฤษภาคม 1967 | รองประธานาธิบดี | ซากีร์ ฮุสเซน | อิสระ | |||
1962 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
ราธากฤษณันเป็นนักปรัชญาและนักเขียนคนสำคัญ เขาดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอานธร และ มหาวิทยาลัยพนรัสฮินดู[12] เขาได้รับรางวัลภารตรัตนะ ในปี พ.ศ. 2497 ก่อนที่จะเป็นประธานาธิบดี[13] เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากอินเดียใต้[14] | |||||||||
3 | ซากีร์ ฮุสเซน१ (1897–1969) |
13 พฤษภาคม 1967 | 3 พฤษภาคม 1969 | รองประธานาธิบดี | วรหคีรี เวนกต คีรี | อิสระ | |||
1967 | |||||||||
1 ปี 355 วัน | |||||||||
ฮุสเซนเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีคฤห์ เป็นผู้ได้รับรางวัลปัทมา วิภูชาน และรางวัลภารตรัตนะ[15] เขาเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด และเป็นประธานาธิบดีมุสลิมคนแรกของอินเดีย[16] | |||||||||
– | วรหคีรี เวนกต คีรี२३ (1894–1980) |
3 พฤษภาคม 1969 | 20 กรกฎาคม 1969 | รองประธานาธิบดี | – | – | |||
– | |||||||||
78 วัน | |||||||||
คีรีได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2510 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการประธานาธิบดี ภายหลังที่ประธานาธิบดีฮุสเซนเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง[17] เขาสละตำแหน่งในไม่กี่เดือนต่อมาเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี[18] | |||||||||
– | โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์३ (1905–1992) |
20 กรกฎาคม 1969 | 24 สิงหาคม 1969 | ประธานศาลสูงสุด | – | – | |||
– | |||||||||
35 วัน | |||||||||
เขาเป็นประธานศาลสูงสุดมาก่อน และเคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช[19] เขาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีจนกระทั่งการเลือกตั้ง ซึ่งคีรีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของอินเดีย[20] | |||||||||
4 | วรหคีรี เวนกต คีรี (1894–1980) |
24 สิงหาคม 1969 | 24 สิงหาคม 1974 | รักษาการประธานาธิบดี | โคปาล สวรูป ปถก | อิสระ | |||
1969 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
คีรีเป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งทั้งรักษาการประธานาธิบดีและประธานาธิบดีของอินเดีย เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลภารตรัตนะ และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน และข้าหลวงใหญ่ประจำประเทศซีลอน (ศรีลังกา)[21] | |||||||||
5 | ฟาคหรุดดีน อาลี อะห์เมด१ (1905–1977) |
24 สิงหาคม 1974 | 11 กุมภาพันธ์ 1977 | รัฐมนตรีกระทรวงอาหารและเกษตรกรรม | โคปาล สวรูป ปถก (1974)
พสัปปา ทนัปปส ชัตตี (1974–1977) |
คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
1974 | |||||||||
2 ปี 171 วัน | |||||||||
อะห์เมดดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีก่อนได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2520 ก่อนที่วาระการดำรงตำแหน่งจะสิ้นสุดลง และเป็นประธานาธิบดีอินเดียคนที่สองที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง[22] เขายังเป็นประธานาธิบดีในช่วงภาวะฉุกเฉิน[23] | |||||||||
– | พสัปปา ทนัปปส ชัตตี३ (1912–2002) |
11 กุมภาพันธ์ 1977 | 25 กรกฎาคม 1977 | รองประธานาธิบดี | – | – | |||
– | |||||||||
164 วัน | |||||||||
ชัตตีเป็นรองประธานาธิบดีของอินเดียในช่วงที่อะห์เมดดำรงตำแหน่ง ก่อนที่สาบานตนขึ้นเป็นรักษาการประธานาธิบดีหลังอะห์เมดเสียชีวิต ก่อนหน้าเขาเคยเป็นมุขยมนตรีรัฐไมซอร์ (มัทราส) มาก่อน[22][24] | |||||||||
6 | นีลัม สัญชีพ เรฎฎี (1913–1996) |
25 กรกฎาคม 1977 | 25 กรกฎาคม 1982 | ประธานโลกสภา | พสัปปา ทนัปปา ชัตตี (1977–1979)
โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์ (1979–1982) |
พรรคชนตา | |||
1977 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
เรฎฎีเป็นมุขยมนตรีคนแรกของรัฐอานธรประเทศ เรฎฎีเป็นสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคชนตาเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกจากรัฐอานธรประเทศ[25] เขาได้รับเลือกเป็นประธานโลกสภาด้วยคะแนนเอกฉันท์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 และได้สละตำแหน่งนี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 6 ของอินเดีย[20] | |||||||||
7 | ไซล สิงห์ (1916–1994) |
25 กรกฎาคม 1982 | 25 กรกฎาคม 1987 | รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย | โมฮัมหมัด ฮิดายัตตุลเลาะห์ (1982–1984)
รามสวามี เวนกทรมัณ (1984–1987) |
คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
1982 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 สิงห์ดำรงตำแหน่งมุขยมนตรีของรัฐปัญจาบและในปี พ.ศ. 2523 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของสหภาพ นอกจากนี้เขายังเป็นเลขาธิการของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ถึง 2529[26] | |||||||||
8 | รามสวามี เวนกทรมัณ (1910–2009) |
25 กรกฎาคม 1987 | 25 กรกฎาคม 1992 | รองประธานาธิบดี | ศังกร ทยาล ศรรมา | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
1987 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
ในปี พ.ศ. 2485 เวนกทรมัณ ถูกอังกฤษจำคุกเนื่องจากมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย[27] หลังจากได้รับการปล่อยตัวเขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาชั่วคราวของอินเดียที่เป็นเอกราช ในฐานะสมาชิกพรรคคองเกรสในปี พ.ศ. 2493 และเข้าร่วมรัฐบาลกลางในที่สุดโดยเขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรก และต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[28] | |||||||||
9 | ศังกร ทยาล ศรรมา (1918–1999) |
25 กรกฎาคม 1992 | 25 กรกฎาคม 1997 | รองประธานาธิบดี | โกจเจรีล รามัน นารายณัน | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
1992 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
ศรรมาเคยเป็นมุขยมนตรีของรัฐมัธยประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารของอินเดีย เขายังเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ว่าการรัฐอานธรประเทศ, ปัญจาบ และ มหาราษฏระ[29] | |||||||||
10 | โกจเจรีล รามัน นารายณัน (1921–2005) |
25 กรกฎาคม 1997 | 25 กรกฎาคม 2002 | รองประธานาธิบดี | กฤษาณ กันต์ | อิสระ | |||
1997 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
นารายณันดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย, ตุรกี, จีนและสหรัฐ เขาได้รับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์และกฎหมายและยังเป็นอธิการบดีในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง[30] เขายังเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชวาหะร์ลาล เนห์รู[31] เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากกลุ่มฑลิต (Dalit)[32] | |||||||||
11 | อวุล ปกีร์ ไชนุลาบดีน อับดุล กลาม (1931–2015) |
25 กรกฎาคม 2002 | 25 กรกฎาคม 2007 | หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี | กฤษาณ กันต์ (2002)
ไภโรน สิงห์ เศขาวัต (2002–2007) |
อิสระ | |||
2002 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
กลามเป็นนักการศึกษาและวิศวกรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย[33] เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลภารตรัตนะ เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "ประธานาธิบดีของประชาชน"[34][35][36] | |||||||||
12 | ประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (1934–) |
25 กรกฎาคม 2007 | 25 กรกฎาคม 2012 | ผู้ว่าการรัฐราชสถาน | โมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
2007 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
ปาฏีลเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของอินเดีย เธอยังเป็นผู้ว่าการรัฐราชสถานหญิงคนแรก[37][38] | |||||||||
13 | ปรณพ มุขรจี (1935–2020) |
25 กรกฎาคม 2012 | 25 กรกฎาคม 2017 | รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง | โมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |||
2012 | |||||||||
5 ปี | |||||||||
มุขรจีดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอินเดีย เช่น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และรองประธานคณะกรรมาธิการการวางแผน[39] | |||||||||
14 | ราม นาถ โกวินท์ (1945–) |
25 กรกฎาคม 2017 | 25 กรกฎาคม 2022 | ผู้ว่าการรัฐพิหาร | เวงกายยา นายุดู | ภารตียชนตา | |||
2017 | |||||||||
5 ปี 0 วัน | |||||||||
โกวินท์เป็นผู้ว่าการรัฐพิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 และเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2549 เขาเป็นประธานาธิบดีจากวรรณะจัณฑาล (ฑลิต) คนที่สอง (ต่อจาก โกจเจรีล รามัน นารายณัน) และเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากพรรคภารตียชนตา (BJP) และเป็นสมาชิกของกลุ่มราษฏริยะ สวยัมเสวก สังฆ์ (Rashtriya Swayamsevak Sangh; RSS) ตั้งแต่วัยเยาว์[40] | |||||||||
15 | เทราปที มุรมู (1958–) |
25 กรกฎาคม 2022 | ดำรงตำแหน่ง | ผู้ว่าการรัฐฌารขัณฑ์ | เวงกายยา นายุดู | ภารตียชนตา | |||
2022 | |||||||||
2 ปี 117 วัน | |||||||||
มุรมูเป็นผู้ว่าการรัฐฌารขัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2015 ถึง 2022 มุรมูกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียที่เป็นคนจากชนเผ่า[41] และเป็นประธานาธิบดีคนที่สองจากพรรคภารตียชนตา (BJP) อีกทั้งประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดของอินเดีย และเป็นประธานาธิบดีอินเดียคนแรกที่เกิดหลังอินเดียได้รับเอกราช[42] |
- สัญลักษณ์อื่น ๆ
- १- เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง
- २ - ดำรงตำแหน่งไม่ครบวาระ
- ३ - รักษาการประธานาธิบดี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "President Ram Nath Kovind is Indias first citizen. Your chances begin only at Number 27". indiatoday.com. Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "The Constitution of India". Ministry of Law and Justice of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.doc)เมื่อ 5 February 2009. สืบค้นเมื่อ 4 January 2009.
- ↑ "India gets first woman president since independence". BBC News. 25 July 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "Infographic: Which states India's Presidents have hailed from". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2017. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
- ↑ Hebbar, Nistula (20 July 2017). "Ram Nath Kovind enters Rashtrapati Bhavan with big win". The Hindu (ภาษาIndian English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ Desk, The Hindu Net (25 July 2017). "Ram Nath Kovind takes oath as President, Rajya Sabha discusses farmers' crisis – top stories for today". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.
- ↑ "List of Presidents of India since India became republic | My India". www.mapsofindia.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ Harish Khare (6 ธันวาคม 2006). "Selecting the next Rashtrapati". The Hindu. India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Rajendra Prasad". The Hindu. India. 7 May 1952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "Republic Day". Time. 6 กุมภาพันธ์ 1950. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Rajendra Prasad's birth anniversary celebrated". The Hindu. India. 10 December 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ Ramachandra Guha (15 April 2006). "Why Amartya Sen should become the next president of India". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2007. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "Dr S. Radhakrishnan". The Sunday Tribune. 30 January 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "Commemorative Volume on S.Radhakrishnan" (PDF). rajyasabha.nic.in. Rajya sabha. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ "Zakir Husain". Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2008. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "7 leaders who died while in office". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ "Shekhawat need not compare himself to Giri: Shashi Bhushan". The Hindu. India. 12 July 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ Shekhar Iyer (25 June 2007). "Shekhawat will not resign to contest poll". Hindustan Times. India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2009. สืบค้นเมื่อ 4 January 2009.
- ↑ "Hidayatullah, Shri M". Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2014. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ 20.0 20.1 Ramakrishnan, T. (24 July 2012). "The twice Acting-President". The Hindu (ภาษาIndian English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ "Giri, Shri Varahagiri Venkata". Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ 22.0 22.1 "Gallery of Indian Presidents". Press Information Bureau of the Government of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2008. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ "Emergency: The Dark Age of Indian democracy". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2017. สืบค้นเมื่อ 25 July 2017.
- ↑ "Jatti, Shri Basappa Danappa". Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- ↑ Bhargava, G.S. "Making of the Prez – Congress chief selects PM as well as President". The Tribune. India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2009. สืบค้นเมื่อ 6 January 2009.
- ↑ Wolpert, Stanley A. (1999). India. University of California Press. p. 217. ISBN 978-0-520-22172-7. สืบค้นเมื่อ 3 January 2009.
- ↑ Hazarika, Sanjoy (17 July 1987). "Man in the News; India's Mild New President: Ramaswamy Venkataraman". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 January 2009.
- ↑ "Venkataraman, Shri R." Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 6 January 2009.
- ↑ Navtej Sarna (27 December 1999). "Former President Shankar Dayal Sharma passes away". Embassy of India, Washington, DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2008. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ "Narayanan, Shri K, R". Vice President's Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ "The BJP's aim was to get rid of me". Confederation of Human Rights Organizations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 6 January 2009.
- ↑ "Can Ram Nath Kovind, second Dalit President, follow in the footsteps of first Dalit President K R Narayanan?". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ Ramana, M. V.; Reddy, C. Rammanohar (2002). Prisoners of the Nuclear Dream. New Delhi: Orient Longman. p. 169. ISBN 978-81-250-2477-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2014.
- ↑ Tyagi, Kavita; Misra, Padma (23 May 2011). Basic Technical Communication. PHI Learning Pvt. Ltd. p. 124. ISBN 978-81-203-4238-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
- ↑ "'Kalam was real people's President'". Hindustan Times. Indo-Asian News Service. 24 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
- ↑ Perappadan, Bindu Shajan (14 April 2007). "The people's President does it again". The Hindu. Chennai, India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2012. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
- ↑ Emily Wax (22 July 2007). "Female President Elected in India". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2011. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
- ↑ "Pratibha Patil is Rajasthan's first woman governor". Express India. 8 November 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ "Archived version of bio data of Pranab Mukherjee in Lok Sabha". india.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2011. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "PresidentofIndia". Presidents Secretariat (ภาษาอังกฤษ). Government of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ Phadnis, Aditi (2022-07-21). "Droupadi Murmu makes history, becomes India's first tribal President". Business Standard India. สืบค้นเมื่อ 2022-07-21.
- ↑ "Droupadi Murmu: India's Youngest President and First to be Born After Independence". MSN (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 2022-07-21.
ทั่วไป
แก้- "Former Presidents". President’s Secretariat. สืบค้นเมื่อ 29 November 2008.
- "List of Presidents/Vice Presidents". Election Commission of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official website ของประธานาธิบดีอินเดีย
- Rediff.com – Presidents of India
- The Hindu – A presidential poll in the coalition age เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Zee News: Former Presidents