ราชอาณาจักรไมสูรุ

ราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย (ค.ศ. 1399–1947)
(เปลี่ยนทางจาก ราชอาณาจักรไมซอร์)

ราชอาณาจักรไมสูรุ หรือ ไมซอร์ (อักษรโรมัน: Mysore) เป็นอาณาจักรในอินเดียใต้ เชื่อกันว่าตั้งขึ้นในปี 1399 ในพื้นที่แถบที่ปัจจุบันคือนครไมสูรุ ในปี 1799 ถึง 1950 กลายมาเป็นรัฐมหาราชาภายใต้บริติชราชซึ่งเข้ามามีอำนาจบริหารโดยตรงนับตั้งแต่ปี 1831[1] จากนั้นกลายมาเป็นรัฐไมสูรุ (ต่อมาขยับขยายอาณาเขตและเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฏกะในปัจจุบัน) โดยมีมหาราชาคงอยู่เป็นราชประมุขถึงปี 1956 ที่ซึ่งเปลี่ยนผ่านเป็นผู้ว่าการรัฐที่พึ่งตั้งขึ้นใหม่นี้แทน

ราชอาณาจักรไมสูรุ

1399–1948
ธงชาติไมสูรุ, ไมซอร์
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของไมสูรุ, ไมซอร์
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ"ಕಾಯೋ ಶ್ರೀ ಗೌರಿ"
"กาเยา ศรี เคาริ"
(1868–1948)
(ไทย: "เคาริผู้ยิ่งใหญ่")
  รัฐสุลต่านไมสูรุในสมัยตีปูสุลต่าน ค.ศ. 1784 (สมัยที่อาณาเขตใหญ่สุด)
สถานะราชอาณาจักร (ในสังกัดจักรวรรดิวิชัยนครถึงปี 1565)
ภายใต้ความร่วมมืออังกฤษ ตั้งแต่ปี 1799
รัฐมหาราชาภายใต้อังกฤษ ตั้งแต่ปี 1831
เมืองหลวงไมสูรุ, ศรีรังคัม
ภาษาราชการกันนาดา
ศาสนา
ฮินดู, อิสลาม
การปกครองราชาธิปไตย
มหาราชา 
• 1399–1423 (แรก)
ยทุรยรุรุ โอเฑยัร
• 1940–1950 (ท้าย)
ชยจามราเชนทระ โอเฑยัร
ดีวัน 
• 1782– 1811 (แรก)
ปูรณัยยะ
• 1946-1949 (ท้าย)
อารกาฏ รามสามี มุทลิยาร์
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
1399
• ปรากฏหลักฐานแรก
1551
1767–1799
1785–1787
• สิ้นสุด
1948
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิวิชัยนคร
Mysore State
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย

ราชอาณาจักรปกครองโดยราชวงศ์โอเฑยัรซึ่งเป็นฮินดู แรกเริ่มเป็นรัฐขุนนางในจักรวรรดิวิชัยนคร และในศตวรรษที่ 17 ราชอาณาจักรได้ขยายอาณาเขตครั้งใหญ่ ในสมัยของราชากัณฐีรวะ นรสราชะ โอเฑยัรที่หนึ่ง และ จิกกะ เทวราชะ โอเฑยัร อาณาจักรได้ผนวกรวมดินแดนขนาดใหญ่ที่ในปัจจุบันเป็นภูมิภาคตอนใต้ของรัฐกรณาฏกะและบางส่วนของรัฐทมิฬนาฑู กลายมาเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในเดกกันใต้ ในช่วงสั้น ๆ รัฐอยู่ภายใต้ปกครองของผู้นำมุสลิม และเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐสุลต่าน[2][3] ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ รัฐได้เกิดข้อพิพาทกับมราฐา, นิซามแห่งไฮเดอราบาด, อาณาจักรติรุวิตางกูร์ และอังกฤษ ซึ่งรัฐได้มีสงครามกับอังกฤษสี่ครั้ง โดยชนะในสงครามกับอังกฤษครั้งแรก, เสมอกันในครั้งที่สอง และพ่ายแพ้ในครั้งที่สาม และสี่ หลังติปูสุลต่านเสียชีวิตในสงครามครั้งที่สี่ ระหว่างเกิดการยึดนครศรีรังคปัฏฏนัม อาณาเขตส่วนใหญ่ของรัฐถูกผนวกเข้ากับอังกฤษ อังกฤษฟื้นฟูราชบัลลังก์ให้แก่ราชวงศ์โวเฑยัรอีกครั้งภายใต้เงื่อนที่รัฐต้องอยู่ภายใต้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกับอังกฤษ และต่อมากลายเป็นรัฐมหาราชาภายใต้บริติชราช ราชสกุลโวเฑยัรยังคงปกครองไมสูรุเรื่อยมากระทั่งอินเดียได้เอกราชในปี 1947 และไมสูรุควบรวมกับอินเดีย

แม้ในสมัยเป็นรัฐมหาราชาภายใต้เจ้าอาณานิคมอังกฤษ ไมสูรุยังคงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการกลายเป็นเมืองและพัฒนาสูงสุดในอินเดีย รวมถึงยังมีความสำเร็จมากมายภายใต้การสนับสนุนของมหาราชา ทั้งในทางศิลปกรรม ดนตรี ไปจนถึงวิทยาศาสตร์จรวด[4] ที่ซึ่งอาวุธจรวดเครื่องสูบเคลือบโลหะแรกพัฒนาขึ้นโดยติปูสุลต่าน และบิดา ไฮเดอร์ อะลี ในทศวรรษ 1780 จรวดเหล่านี้ถูกนำมาใช้รบกับบริษัทอังกฤษในสงครามกับอังกฤษทั้งสี่ครั้ง ในเวลานั้นเป็นจรวดที่มีอานุภาพรุนแรงกว่าที่กองทัพอังกฤษเคยพบมา จรวดเหล่านี้ตกอยู่ในมือของอังกฤษหลังไมสูรุแพ้ในสงครามครั้งที่สี่ และกลายมามีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาจรวดของอังกฤษ จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นจรวดคองกรีฟที่ต่อมาเอาไปใช้ในการรบในสงครามนโปเลียน[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Rajakaryaprasakta Rao Bahadur (1936), p383
  2. Yazdani, Kaveh (2017), India, Modernity and the Great Divergence: Mysore and Gujarat (17th to 19th C.), Brill Publisher, p. 115, ISBN 9789004330795
  3. Simmons, Caleb (2020), Devotional Sovereignty: Kingship and Religion in India, Oxford University Press, pp. 10–12, ISBN 9780190088897
  4. Roddam Narasimha (1985). Rockets in Mysore and Britain, 1750–1850 A.D. เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Roddam Narasimha (1985). Rockets in Mysore and Britain, 1750–1850 A.D. เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Aeronautical Laboratory and Indian Institute of Science.