ประเทศโมร็อกโก
ราชอาณาจักรโมร็อกโก
| |
---|---|
คำขวัญ: الله، الوطن، الملك (อาหรับ) ⴰⴽⵓⵛ, ⴰⵎⵓⵔ, ⴰⴳⵍⵍⵉⴷ (Standard Moroccan Tamazight) "พระเจ้า, ประเทศ, กษัตริย์" | |
ที่ตั้งของประเทศโมร็อกโกในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ สีเขียวเข้ม: ดินแดนของโมร็อกโก สีเขียวอ่อน: เวสเทิร์นสะฮารา ดินแดนที่โมร็อกโกอ้างสิทธิและครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในฐานะจังหวัดทางใต้[หมายเหตุ 1] | |
เมืองหลวง | ราบัต 34°02′N 6°51′W / 34.033°N 6.850°W |
เมืองใหญ่สุด | กาซาบล็องกา 33°32′N 7°35′W / 33.533°N 7.583°W |
ภาษาราชการ | |
ภาษาพูด | |
ภาษาต่างชาติ | อังกฤษ • สเปน[4] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (2014[5]) |
|
ศาสนา | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ [6] |
• กษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 |
อะซีซ อะค็อนนูช | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | ราชมนตรีสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ก่อตั้ง | |
788 | |
• ราชวงศ์อะละวี (ราชวงศ์ปัจจุบัน) | 1631 |
30 มีนาคม ค.ศ. 1912 | |
7 เมษายน ค.ศ. 1956 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 710,850 ตารางกิโลเมตร (274,460 ตารางไมล์) หรือ 446,550 km2 (172,410 sq mi)[b] (อันดับที่ 39 หรือ 57) |
0.056 (250 ตารากิโลเมตร) | |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 37,112,080[7] (อันดับที่ 39) |
• สำมะโนประชากร 2014 | 33,848,242[8] |
50.0 ต่อตารางกิโลเมตร (129.5 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 332.358 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] |
• ต่อหัว | 9,339 ดอลลาร์สหรัฐ[9] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 122.458 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] |
• ต่อหัว | 3,441 ดอลลาร์สหรัฐ[9] |
จีนี (2015) | 40.3[10] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.686[11] ปานกลาง · อันดับที่ 121 |
สกุลเงิน | ดิรฮัม (MAD) |
เขตเวลา | UTC+1[12] |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +212 |
โดเมนบนสุด | .ma المغرب. |
|
โมร็อกโก[a] มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก,[b] เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนิดชนเบอร์เบอร์[13][14] ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน
โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 35,276,786 คน[15] เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกี่ยวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป
โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม
โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600[16][17] ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริกา
ภูมิศาสตร์
แก้โมร็อกโกมีชายฝั่งยาวตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกยาวขึ้นไปผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์จนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน ทางเหนือติดกับสเปน (เซวตา เมลียาและโขดหินเบเลซเดลาโกเมรา) ทางทิศตะวันออกจรดแอลจีเรีย จรดซาฮาราตะวันตกทางทิศใต้ ตั้งแต่โมร็อกโกควบคุมส่วนใหญ่ของซาฮาราตะวันตกจึงมีพรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศมอริเตเนียโดยพฤตินัย
ประเทศโมร็อกโกตั้งอยูที่ละติจูด 27 องศาถึง 36 องศาเหนือและจากลองจิจูด 1 องศาถึง 17 องศาตะวันตก แต่หากร่วมพื้นที่ซาฮาราตะวันตกโมร็อกโกจะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 21 องศาถึง 36 องศาเหนือและจากลองจิจูด 1 องศาถึง 17 องศาตะวันตก
พื้นที่ของโมร็อกโกครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งแอตแลนติก พื้นที่ภูเขาตรงกลางและทะเลทรายซาฮาร่า โมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระกว่างแอลจีเรียกับซาฮาราตะวันตก และเป็นหนึ่งในสามประเทศที่มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อีกสองประเทศคือสเปนและฝรั่งเศส)
พื้นที่ส่วนใหญ่ของโมร็อกโกเป็นภูเขา เทือกเขาแอตลาสตั้งอยู่ตรงกลางและทางตอนใต้ของประเทศ เทือกเขาริฟอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เทือกเขาทั้งสองนี้มีชาวเบอร์เบอร์อาศัยอยู่ หากไม่นับซาฮาราตะวันตกจะมีพื้นที่ 446,550 กิโลเมตรมีขนาดเป็นอันดับที่ 57ของโลก ติดกับแอลจีเรียทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าชายแดนระหว่างสองประเทศถูกปิดตั้งแต่ พ.ศ. 2537
มีดินแดนห้าแห่งของสเปนบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในแอฟริกาเหนือที่ติดและอยู่ใกล้กับโมร็อกโกได้แก่เซวตาและเมลียา หมู่เกาะชาฟารินัส โขดหินอาลูเซมัสและโขดหินเบเลซเดลาโกเมราและดินแดนพิพาทอีก 1 แห่งคือเกาะเปเรฆิล นอกจากนี้ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกยังใกล้กับกานาเรียสของสเปน และมาเดราของโปรตุเกส ทางเหนือของโมร็อกโกมีพรมแดนติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ที่สามารถส่งสินค้าระหว่างประเทศไปมาระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้
เทือกเขาริฟทอดตัวยาวตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากตะวันตกเฉียงเหนือไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาแอตลาสที่อยู่กลางคล้ายกระดูกสันหลังของประเทศนั้นทอดตัวตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือไปตะวันตกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ประเทศมีทะเลทรายซาฮาราซึ่งไม่ค่อยมีประชากรอาศัยและไม่มีการก่อผลทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือบริเวณ 2 เทือกเขานี้ ขณะที่ประชากรทางใต้จะอยู่ในซาฮาราตะวันตกซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนในอดีตที่ถูกผนวกโดยโมร็อกโกเมื่อ พ.ศ. 2518[18] และอ้างว่าเป็นจังหวัดทางใต้
เมืองหลวงของโมร็อกโกคือเมืองราบัต เมืองใหญ่สุดเป็นเมืองท่าชื่อกาซาบล็องกา และเมืองอื่น ๆ ที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คนในการสำรวจสำมะโนประชากรโมร็อกโก 2557 อย่างมาร์ราคิช แฟ็ส แม็กแน็ส แทงเจียร์และซาเล่ห์[19]
โมร็อกโกใช้ MA ในมาตรฐาน ISO 3166-1 alpha-2[20] รหัสนี้ใช้เป็นพื้นฐานของโดเมนระดับบนสุดของโมร็อกโก.ma[20]
หมายเหตุ
แก้- ↑ /məˈrɒkoʊ/ ( ฟังเสียง); อาหรับ: المغرب, อักษรโรมัน: al-maḡrib, แปลตรงตัว 'แดนอาทิตย์อัสดง; ตะวันตก'; Standard Moroccan Tamazight: ⵍⵎⵖⵔⵉⴱ, อักษรโรมัน: lmeɣrib, ฝรั่งเศส: Maroc, [maʁɔk])
- ↑ อาหรับ: المملكة المغربية, อักษรโรมัน: al-mamlaka al-maḡribiyya, แปลตรงตัว 'ราชอาณาจักรทางตะวันตก'; Standard Moroccan Tamazight: ⵜⴰⴳⵍⴷⵉⵜ ⵏ ⵍⵎⵖⵔⵉⴱ, อักษรโรมัน: tageldit n lmeɣrib, ฝรั่งเศส: Royaume du Maroc
อ้างอิง
แก้- ↑ "MANDATE". UNITED NATIONS. 26 October 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "Morocco". World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ↑ "Présentation du Maroc". Ministère de l’Europe et des Affaires étrangères (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ Oukhira, Fatima Zahra. "The teaching of English in Morocco".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Morocco". World Factbook. Central Intelligence Agency. 23 September 2021.
Ethnic groups: Arab-Berber 99%, other 1%
- ↑ "Constitution of the Kingdom of Morocco, I-1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2012. สืบค้นเมื่อ 9 January 2013.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Morocco Population, 1960-2019 - knoema.com". Knoema. 2019. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
- ↑ "Rgbh 2014" (ภาษาฝรั่งเศส). HCP. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Morocco". IMF.
- ↑ Africa's Development Dynamics 2018:Growth, Jobs and Inequalities. AUC/OECD. 2018. p. 179. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Morocco Keeps Clocks Steady on GMT+1". 28 October 2018.
- ↑ Books Llc (September 2010). Ethnic Groups in Morocco: Berber People. General Books LLC. ISBN 978-1-156-46273-7.
- ↑ Jamil M. Abun-Nasr (20 August 1987). A History of the Maghrib in the Islamic Period. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-33767-0.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Rodd, Francis. "Kahena, Queen of the Berbers: "A Sketch of the Arab Invasion of Ifriqiya in the First Century of the Hijra" Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London, Vol. 3, No. 4, (1925)
- ↑ Source Wikipedia; LLC Books (June 2010). Languages of Morocco: Spanish Language, Arabic Language, Berber Languages, Central Morocco Tamazight, Moroccan Arabic, Tashelhiyt Language. General Books LLC. ISBN 978-1-157-60671-0.
- ↑ Pending resolution of the Western Sahara conflict.
- ↑ "POPULATION LÉGALE DES RÉGIONS, PROVINCES, PRÉFECTURES, MUNICIPALITÉS, ARRONDISSEMENTS ET COMMUNES DU ROYAUME D'APRÈS LES RÉSULTATS DU RGPH 2014" (ภาษาอาหรับ และ ฝรั่งเศส). High Commission for Planning, Morocco. 8 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ 20.0 20.1 "English country names and code elements". International Organization for Standardization. 15 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 May 2008.
- ประเทศโมร็อกโก เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประเทศโมร็อกโก ที่เว็บไซต์ Curlie
- คู่มือการท่องเที่ยว Morocco จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน