ราชวงศ์นันทะ
ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (อังกฤษ: Nanda Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 5 ที่ปกครองแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช และอาจปกครองในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราชด้วย ราชวงศ์นันทะโค่นล้มราชวงศ์ศิศุนาคและขยายจักรวรรดิในพื้นที่อินเดียเหนือ ข้อมูลสมัยโบราณระบุพระนามกษัตริย์และระยะเวลาครองราชย์ไม่เหมือนกัน ข้อมูลศาสนาพุทธที่บันทึกใน มหาวงศ์ ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองในช่วง ป. 345–322 ปีก่อน ค.ศ. แม้ว่าบางทฤษฎีจัดปีเริ่มต้นปกครองที่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช
จักรวรรดินันทะ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ป. 345[a]–ป. 322 ปีก่อน ค.ศ.[1] | |||||||||||
ขอบเขตที่เป็นไปได้ของจักรวรรดินันทะในรัชสมัยพระเจ้าธนานันทะ (ป. 325 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครององค์สุดท้าย[2] | |||||||||||
เมืองหลวง | ปาฏลีบุตร | ||||||||||
ศาสนา | ฮินดู[3] พุทธ[3] เชน[3] | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||
• ป. 345 – 340 ปีก่อน ค.ศ. | พระเจ้ามหาปัทม (องค์แรก) | ||||||||||
• ป. 329 – 322 ปีก่อน ค.ศ. | พระเจ้าธนา (องค์สุดท้าย) | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | อินเดียยุคเหล็ก | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ป. 345[a] | ||||||||||
• สิ้นสุด | ป. 322 ปีก่อน ค.ศ.[1] | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | บังกลาเทศ อินเดีย เนปาล |
ราชวงศ์นันทะตั้งรากฐานผ่านความสำเร็จของราชวงศ์หรยังกะกับศิศุนาค และจัดตั้งการบริหารแบบรวมศูนย์มากขึ้น แหล่งข้อมูลสมัยโบราณยกความชอบให้ราชวงศ์นี้ว่าสร้างความมั่งคั่งมหาศาล ซึ่งอาจเป็นผลจากการนำสกุลเงินและระบบภาษีใหม่มาใช้ ตำราสมัยโบราณยังระบุด้วยว่าราชวงศ์นันทะไม่เป็นที่นิยมในบรรดาราษฎร เนื่องจากมีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เก็บภาษีมากเกินไป และประพฤติมิชอบอย่างทั่วไป กษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายถูกโค่นล้มโดยจันทรคุปต์ เมารยะ ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ
ต้นกำเนิด
แก้ทั้งธรรมเนียมอินเดียและกรีก-โรมันบรรยายผู้ก่อตั้งราชวงศ์ว่ามีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ[4] Diodorus (ศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์กรีก ระบุว่า พระเจ้าโปรสตรัสแก่อะเล็กซานเดอร์ว่า คาดกันว่ากษัตริย์นันทะร่วมสมัยเป็นบุตรช่างตัดผม[5] Curtius (คริสต์ศตวรรษที่ 1) นักประวัติศาสตร์โรมัน ระบุเพิ่มเติมว่า ตามรายงานจากพระเจ้าโปรส ช่างตัดผมผู้นี้กลายเป็นอดีตคู่รักของราชินีด้วยรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูด ทรยศด้วยการลอบสังหารกษัตริย์ในขณะนั้น แล้วแย่งชิงอำนาจสูงสุดด้วยการแสร้งทำเป็นผู้พิทักษ์เจ้าชายในขณะนั้น จากนั้นค่อยสังหารบรรดาเจ้าชาย[5][6]
ธรรมเนียมเชนที่บันทึกใน Avashyaka Sutra และ Parishishta-parvan ยืนยันรายงานกรีก-โรมัน โดยระบุว่า กษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นบุตรช่างตัดผม[7][1][8] Parishishta-parvan ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รายงานว่า มารดาของกษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นโสเภณี อย่างไรก็ตาม ตำรานั้นยังระบุอีกว่าพระราชธิดาของกษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายอภิเษกสมรสกับจันทรคุปต์ เนื่องจากเป็นธรรมเนียมที่ลูกสาวกษัตริย์ต้องเลือกสามี จึงเป็นนัยว่ากษัตริย์นันทะอ้างว่าตนเป็นวรรณะกษัตริย์ ซึ่งเป็นชนชั้นนักรบ[7]
ปุราณะระบุพระนามผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นมหาปัทม และอ้างว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทินแห่งศิศุนาค กระนั้น แม้แต่ข้อความนี้ยังบอกนัยถึงการถือกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เมื่อมีการระบุว่า พระราชมารดาของมหาปัทมมาจากวรรณะศูทร วรรณะที่ต่ำที่สุด[8][9]
เนื่องจากข้ออ้างบรรพบุรุษช่างตัดผมของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ได้รับการรับรองจาก 2 ธรรมเนียมที่ต่างกัน คือ—กรีก-โรมันและเชน (ตำราคริสต์ศตวรรษที่ 12) ดูเหมือนว่าน่าเชื่อถือว่าข้ออ้างศิศุนาคของปุราณะ[10]
ระยะเวลา
แก้แหล่งข้อมูลสมัยโบราณมีความเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับระยะเวลาโดยรวมของรัชสมัยหรือระยะเวลาการครองราชย์ของราชวงศ์นันทะเพียงเล็กน้อย[11] เช่น มัสยาปุราณะระบุกษัตริย์องค์แรกเพียงองค์เดียวครองราชย์ถึง 88 ปี[10] ในขณะที่เอกสารตัวเขียนบางส่วนอย่าง วายุปุราณะ ระบุระยะเวลาทั้งหมดของราชวงศ์นันทะไว้ที่ 40 ปี Taranatha นักวิชาการพุทธในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระบุช่วงที่ราชวงศ์นันทะปกครองเพียง 29 ปี[12]
เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดวันเวลาที่แน่นอนของราชวงศ์นันทะและราชวงศ์ช่วงต้นอื่น ๆ ในแคว้นมคธ[13] Irfan Habib และ Vivekanand Jha นักประวัติศาสตร์ ระบุช่วงที่นันทะปกครองที่ ป. 344–322 ปีก่อน ค.ศ. โดยอิงจากธรรมเนียมพุทธศรีลังกาที่ระบุว่าราชวงศ์นันทะปกครองเป็นเวลา 22 ปี[1] Upinder Singh นักประวัติศาสตร์อีกคน ระบุช่วงที่ราชวงศ์นันทะปกครองที่ 364/345 ถึง 324 ปีก่อน ค.ศ. โดยอิงจากสมมติฐานที่ว่าพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อ ป. 486 ปีก่อน ค.ศ.[13]
กษัตริย์
แก้ทั้งธรรมเนียมพุทธ เชน และปุราณะระบุว่ามีกษัตริย์นันทะ 9 พระองค์[14] แต่ข้อมูลต่าง ๆ มีข้อแตกต่างในด้านพระนามกษัตริย์[1]
ตามข้อมูลกรีก-โรมัน ราชวงศ์นันทะปกครองถึงสองชั่วรุ่น[4] เช่น Curtius (คริสต์ศตวรรษที่ 1) นักประวัติศาสตร์โรมัน เสนอแนะว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นช่างตัดผมที่ผันมาเป็นกษัตริย์ และโอรสของพระองค์คือกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ถูกพระเจ้าจันทรคุปต์โค่นล้ม[5] ข้อมูลกรีกระบุพระนามกษัตริย์นันทะเพียงองค์เดียว คือ Agrammes หรือ Xandrames ที่มีชีวิตร่วมกับอะเล็กซานเดอร์ "Agrammes" อาจเป็นรูปอักษรกรีกของศัพท์สันสกฤตว่า "Augrasainya" (แปล "โอรสหรือลูกหลานของ Ugrasena" โดย Ugrasena เป็นพระนามผู้ก่อตั้งราชวง์ตามธรรมเนียมพุทธ)[1][6]
ปุราณะที่รวบรวมในอินเดียเมื่อ ป. คริสต์ศตวรรษที่ 4 (แต่อิงจากข้อมูลก่อนหน้า) ก็ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองไปสองชั่วรุ่น[4] ตามธรรมเนียมปุราณะ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์คือพระเจ้ามหาปัทม: มัสยาปุราณะระบุว่าพระองค์ครองราชย์ยาวนานถึง 88 ปี ส่วนวายุปุราณะระบุรัชสมัยของพระองค์ที่ 28 ปี[10] ปุราณะยังระบุเพิ่มเติมว่าพระราชโอรสทั้ง 8 ของพระเจ้ามหาปัทมครองราชย์ต่อจากพระองค์รวมเป็น 12 ปี แต่มีเพียงพระราชโอรสองค์เดียวเท่านั้นที่มีการระบุพระนาม คือ Sukalpa[8] ส่วนวายุปุราณะระบุพระองค์เป็น "Sahalya" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสอดคล้องกันกับพระนาม "Sahalin" ในทิวยาวทานของพุทธ[11] อย่างไรก็ตาม ปุราณะไม่ได้ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์นันทะกับเมารยะ[15]
รายงานจากมหาวงศ์ ตำราพุทธศรีลังกาที่เขียนในภาษาบาลี มีกษัตริย์นันทะ 9 พระองค์ ซึ่งทั้งหมดเป็นพี่น้องกัน โดยปกครองรวมกันได้ 22 ปี[1] กษัตริย์ 9 พระองค์มีพระนามดังนี้:[13][1]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ช่วงวันที่หลากหลายจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชหรือ กลางศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Irfan Habib & Vivekanand Jha 2004, p. 13.
- ↑ Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 145, map XIV.1 (a). ISBN 0226742210.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 M. B. Chande (1998). Kautilyan Arthasastra. Atlantic Publishers. p. 313. ISBN 9788171567331.
During the period of the Nanda Dynasty, the Hindu, Buddha and Jain religions had under their sway the population of the Empire
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Irfan Habib & Vivekanand Jha 2004, p. 12.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 R. K. Mookerji 1966, p. 5.
- ↑ 6.0 6.1 H. C. Raychaudhuri 1988, p. 14.
- ↑ 7.0 7.1 R. K. Mookerji 1966, p. 14.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 20.
- ↑ Upinder Singh 2016, p. 273.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 23.
- ↑ 11.0 11.1 H. C. Raychaudhuri 1988, p. 23.
- ↑ H. C. Raychaudhuri 1988, pp. 22–23.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Upinder Singh 2008, p. 273.
- ↑ Upinder Singh 2008, p. 272.
- ↑ H. C. Raychaudhuri 1988, p. 140.
บรรณานุกรม
แก้- Dilip Kumar Ganguly (1984). History and Historians in Ancient India. Abhinav Publications. p. 23. ISBN 978-0-391-03250-7.
- H. C. Raychaudhuri (1988) [1967]. "India in the Age of the Nandas". ใน K. A. Nilakanta Sastri (บ.ก.). Age of the Nandas and Mauryas (Second ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0466-1.
- Ian Worthington (2014). By the Spear: Philip II, Alexander the Great, and the Rise and Fall of the Macedonian Empire. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-992986-3.
- Johannes Bronkhorst (2011). Buddhism in the Shadow of Brahmanism. BRILL. ISBN 978-90-04-20140-8.
- Jyoti Prasad Jain (2005) [1964]. Jaina Sources of the History of Ancient India: 100 BC - AD 900. Munshiram Manoharlal. ISBN 9788121511407.
- Irfan Habib; Vivekanand Jha (2004). Mauryan India. A People's History of India. Aligarh Historians Society / Tulika Books. ISBN 978-81-85229-92-8.
- R. C. Majumdar (1976). Readings in political history of India: Ancient, Mediaeval, and Modern. B.R. / Indian Society for Prehistoric and Quaternary Studies. ISBN 9788176467841.
- R. K. Mookerji (1966). Chandragupta Maurya and His Times. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0405-0.
- Upinder Singh (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. Pearson Education India. ISBN 978-81-317-1677-9.