ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ หรือ ราชวงศ์นิวเบีย (Nubian Dynasty) จักรวรรดิคุช (Kushite Empire) ฟาโรห์ดำ (Black Pharaohs)[2][3] เป็นราชวงศ์สุดท้ายของสมัยกลางที่สามของอียิปต์ สถาปนาขึ้นหลังการบุกครองของชาวนิวเบีย ราชวงศ์นี้ปกครองอียิปต์โบราณนานเกือบศตวรรษ ระหว่าง 744–656 ปีก่อนคริสตกาล[4][5][6][7]
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
744 ปีก่อนคริสตกาล–656 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||
รูปปั้นผู้ปกครองช่วงปลายราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า–ต้นสมัยนาปาทาที่พิพิธภัณฑ์เคอร์มา[1] จากซ้ายไปขวา: ฟาโรห์ทันทามานิ, ฟาโรห์ทาฮาร์กา (ด้านหลัง), เซนคามานิสเคน, ฟาโรห์ทันทามานิ (ด้านหลัง), แอสเพลตา, อันลามานิ, เซนคามานิสเคน
| |||||||||||||||||
จักรวรรดิคุชและศูนย์กลาง ประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล[2] | |||||||||||||||||
เมืองหลวง | นาปาทา, เมมฟิส | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์, ภาษาเมรอยติก | ||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||
• 744–712 ปีก่อนคริสตกาล | ฟาโรห์ปิเย (แรก) | ||||||||||||||||
• 664–656 ปีก่อนคริสตกาล | ฟาโรห์ทันทามานิ (สุดท้าย) | ||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 744 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||
• สิ้นสุด | 656 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||
|
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าเป็นสายตระกูลฟาโรห์ที่มีที่มาจากอาณาจักรคุชที่ตั้งอยู่ทางเหนือของซูดานและอียิปต์ตอนบนในปัจจุบัน[8] บางครั้งราชวงศ์นี้เรียกว่าชาวนาปาทา (Napatans) ตามชื่อนาปาทาอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรคุช[9]
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้ามีความเป็นอียิปต์สูงมาก พวกเขาใช้ภาษาอียิปต์เป็นสื่อกลางและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมอียิปต์อย่างยิ่ง นักวิชาการช่วงต้นลงความเห็นว่าราชวงศ์นี้อาจมีที่มาจากผู้ลี้ภัยจากอียิปต์ โดยเฉพาะกลุ่มนักบวชอาเมิน[10][11][12] แนวคิดนี้ยังคงเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งเมื่อมีการพบอิทธิพลอียิปต์สมัยกลางที่สามในการขุดค้นสุสานหลวงเอล-คูร์รู ใกล้เคียงกับการกลายเป็นอียิปต์ของคุชในสมัยอาณาจักรใหม่ของอียิปต์[13][14]
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้ารวมอียิปต์ตอนล่าง อียิปต์ตอนบนและคุช ก่อเกิดจักรวรรดิอียิปต์ที่ไพศาลที่สุดนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรใหม่ พวกเขากลืนเข้ากับสังคมด้วยการรับธรรมเนียม ศาสนาและศิลปะอียิปต์ พร้อมกับเผยแพร่วัฒนธรรมคุช[15] ราชวงศ์นี้ยังมีการสร้างพีระมิดอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์[16][17][18]
หลังพระเจ้าซาร์กอนที่ 2 และพระเจ้าเซนนาเชริบแห่งจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ล้มเหลวในการพยายามตีอียิปต์เพื่อขยายอำนาจมายังตะวันออกใกล้ กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระเจ้าอีซาร์ฮัดดอนและพระเจ้าอัชชูร์บานิพัลพิชิตราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าได้สำเร็จ[19] สงครามครั้งนี้ส่งผลให้ชาวนิวเบียสิ้นอำนาจในอียิปต์ตอนเหนือ และถูกแทนที่ด้วยราชวงศ์ที่ยี่สิบหกซึ่งเป็นบริวารของอัสซีเรีย ราชวงศ์นี้เริ่มต้นสมัยปลายของอียิปต์โบราณและเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นสุดท้ายที่ปกครองอียิปต์ก่อนถูกจักรวรรดิอะคีเมนิดยึดครองในปี 525 ก่อนคริสตกาล[20]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Elshazly, Hesham. "Kerma and the royal cache" (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 2.0 2.1 "Dive beneath the pyramids of Sudan's black pharaohs". National Geographic. 2 July 2019.
- ↑ Morkot, Robert (2000). The black pharaohs : Egypt's Nubian rulers. London: Rubicon Press. ISBN 0-948695-23-4. OCLC 43901145.
- ↑ "Nubia | Definition, History, Map, & Facts". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ Bard, Kathryn A. (7 January 2015). An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt. John Wiley & Sons. p. 393. ISBN 978-1-118-89611-2.
- ↑ Török, László (1998). The Kingdom of Kush: Handbook of the Napatan-Meroitic Civilization. Leiden: BRILL. pp. 132–133, 153–184. ISBN 90-04-10448-8.
- ↑ "King Piye and the Kushite control of Egypt". Smarthistory. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ Mark, Joshua J. (February 26, 2018). "The Kingdom of Kush". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ October 12, 2022.
- ↑ Oliver, Roland (5 March 2018). The African Experience: From Olduvai Gorge to the 21st Century. Routledge. p. 66. ISBN 978-0-429-97650-6.
The Napatans, somewhere around 900 BC conquered both Lower and Upper Nubia, including the all-important gold mines, and by 750 were strong enough to conquer Egypt itself, where their kings ruled for nearly a century as the Twenty-Fifth Dynasty
- ↑ Heinrich, Brugsch (1902). A history of Egypt under the Pharaohs. John Murray London. p. 387.
- ↑ Breasted, J.H. (1924). A History of Egypt from the Earliest Times to the Persian Conquest. Charles Scribner's Sons. pp. 538–539.
- ↑ Drioton, E. (1962). Drioton, E; Vandier, J – Les Peuples de l'Orient Méditerranéen II L' Egypte. Paris: Presses universitaires de France. pp. 524, 537–538.
- ↑ Assmann, Jan (2002). The Mind of Egypt: History and Meaning in the Time of the Pharaohs. Metropolitan Books. pp. 317–321.
- ↑ Wenig, Steffen (1999). The origin of the Napatan state: El Kurru and the evidence for the royal ancestors. In Studien zum antiken Sudan: Akten der 7. Internationalen Tagung für meroitische Forschungen vom 14. bis 19. September 1992 in Gosen/bei Berlin. Harrassowitz; Bilingual edition. pp. 3–117.
- ↑ Bonnet, Charles (2006). The Nubian Pharaohs. New York: The American University in Cairo Press. pp. 142–154. ISBN 978-977-416-010-3.
- ↑ Mokhtar, G. (1990). General History of Africa. California, USA: University of California Press. pp. 161–163. ISBN 0-520-06697-9.
- ↑ Emberling, Geoff (2011). Nubia: Ancient Kingdoms of Africa. New York: Institute for the Study of the Ancient World. pp. 9–11. ISBN 978-0-615-48102-9.
- ↑ Silverman, David (1997). Ancient Egypt. New York: Oxford University Press. pp. 36–37. ISBN 0-19-521270-3.
- ↑ Welsby, Derek A. (1996). The Kingdom of Kush (ภาษาอังกฤษ). London, UK: British Museum Press. pp. 64–65. ISBN 071410986X.
- ↑ Aidan Dodson, Dyan Hilton. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004