ไวโอมิง (อังกฤษ: Wyoming, ออกเสียง: /waɪˈoʊmɪŋ/ ( ฟังเสียง)) เป็นรัฐหนึ่งในอนุภูมิภาคตะวันตกภูเขาของภาคตะวันตกของสหรัฐ มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐมอนแทนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ รัฐเซาท์ดาโคตาและรัฐเนแบรสกาทางทิศตะวันออก รัฐโคโลราโดทางทิศใต้ รัฐยูทาห์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐไอดาโฮทางทิศตะวันตก ด้วยจำนวนประชากร 576,851 คนในสำมะโนประชากรสหรัฐ ค.ศ. 2020[6] ไวโอมิงเป็นรัฐที่มีประชากรน้อยที่สุดของประเทศถึงแม้จะเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 10 ก็ตาม โดยมีความหนาแน่นของประชากรต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากรัฐอะแลสกา เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐคือไชแอนน์ซึ่งมีประชากรประมาณ 63,957 คนใน ค.ศ. 2018[7]

รัฐไวโอมิง

State of Wyoming
สมญา: 
รัฐเสมอภาค (ทางการ),
รัฐคาวบอย, บิกไวโอมิง[1]
คำขวัญ: 
เพลง: "ไวโอมิง"
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐไวโอมิง
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐไวโอมิง
ประเทศสหรัฐ
สถานะก่อนเป็นรัฐดินแดนไวโอมิง
เข้าร่วมสหรัฐ10 กรกฎาคม 1890; 134 ปีก่อน (1890-07-10)[2] (ลำดับที่ 44)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ไชแอนน์
มหานครใหญ่สุดไชแอนน์
การปกครอง
 • ผู้ว่าการมาร์ก กอร์ดอน ()
 • เลขานุการชัก เกรย์ (ร)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติไวโอมิง
 • สภาสูงวุฒิสภา
 • สภาล่างสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตุลาการศาลสูงสุดไวโอมิง
สมาชิกวุฒิสภาจอห์น บาร์ราสโซ (ร)
ซินเทีย ลัมมิส (ร)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแฮร์เรียต เฮเกอมัน (ร)
พื้นที่
 • ทั้งหมด97,914[1] ตร.ไมล์ (253,600 ตร.กม.)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 10
ขนาด
 • ความยาว371.8 ไมล์ (599 กิโลเมตร)
 • ความกว้าง279 ไมล์ (451 กิโลเมตร)
ความสูง6,700 ฟุต (2,040 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (แกนนิตต์พีก[3][4])13,809 ฟุต (4,209.1 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (แม่น้ำเบลล์ฟูช
ที่พรมแดนรัฐเซาท์ดาโคตา[4])
3,101 ฟุต (945 เมตร)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด576,851 คน
 • อันดับอันดับที่ 50
 • ความหนาแน่น5.97 คน/ตร.ไมล์ (2.31 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 49
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน62,268 ดอลลาร์[5]
 • อันดับรายได้อันดับที่ 19
ภาษา
 • ภาษาทางการอังกฤษ
เขตเวลาUTC−07:00 (เวลาภูเขา)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−06:00 (เวลาออมแสงภูเขา)
อักษรย่อไปรษณีย์WY
รหัส ISO 3166US-WY
อักษรย่อเดิมWyo.
ละติจูด41° เหนือ ถึง 45° เหนือ
ลองจิจูด104°3′ ตะวันตก ถึง 111°3′ ตะวันตก
เว็บไซต์wyo.gov

พื้นที่ครึ่งหนึ่งทางตะวันตกของรัฐไวโอมิงถูกปกคลุมด้วยเทือกเขาร็อกกีเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตะวันออกของรัฐเป็นทุ่งหญ้าแพรรีบนพื้นที่สูงที่เรียกว่าไฮเพลนส์ รัฐนี้มีอากาศแห้งและลมแรงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความแตกต่างระหว่างภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งกับภูมิอากาศภาคพื้นทวีปซึ่งนำไปสู่ความแปรปรวนของอุณหภูมิอย่างมีนัยสำคัญ เกือบครึ่งหนึ่งของที่ดินในรัฐไวโอมิงเป็นของรัฐบาลกลางและโดยทั่วไปได้รับการคุ้มครองเพื่อใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ไวโอมิงอยู่ในอันดับที่ 6 ในแง่ขนาดพื้นที่และอันดับที่ 5 ในแง่สัดส่วนของที่ดินของรัฐที่รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ[8] ที่ดินของรัฐบาลกลางประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง (แกรนด์ทีตันและเยลโลว์สโตน) พื้นที่นันทนาการแห่งชาติ 2 แห่ง อนุสรณ์สถานแห่งชาติ 2 แห่ง รวมถึงป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งประวัติศาสตร์ โรงเพาะฟักปลา และเขตพักพิงสัตว์ป่าอีกหลายแห่ง

ชนพื้นเมืองหลายกลุ่มอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลาหลายพันปี เผ่าชนที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางทั้งในอดีตและในปัจจุบันรวมถึงชาวอะแรพาโฮ ชาวโครว์ ชาวลาโคตา และชาวโชโชนี ระหว่างที่ชาวยุโรปเข้ามาสำรวจพื้นที่ จักรวรรดิสเปนเป็นจักรวรรดิแรกที่ "อ้างกรรมสิทธิ์" เหนือพื้นที่ตอนใต้ของไวโอมิง เมื่อเม็กซิโกเป็นเอกราช พื้นที่ตอนใต้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโก หลังจากพ่ายแพ้ในสงครามเม็กซิโก–สหรัฐ เม็กซิโกก็ยกพื้นที่ดังกล่าวให้แก่สหรัฐใน ค.ศ. 1848

ภูมิภาคนี้มีชื่อว่า "ไวโอมิง" ในร่างกฎหมายที่เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐใน ค.ศ. 1865 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวสำหรับดินแดนไวโอมิง ก่อนหน้านี้ชาวอาณานิคมใช้ชื่อนี้เรียกหุบเขาแห่งหนึ่งในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยเป็นชื่อที่แผลงมาจากคำในภาษามันซีว่า xwé:wamənk ซึ่งแปลว่า "ตรงที่ราบริมแม่น้ำใหญ่แห่งนั้น"[9][10]

ร่างกฎหมายสำหรับการรับดินแดนไวโอมิงเข้าเป็นรัฐของสหรัฐได้รับการเสนอทั้งในวุฒิสภาสหรัฐและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1889 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1890 สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและประธานาธิบดีเบนจามิน แฮร์ริสัน ได้ลงนามในร่างกฎหมายว่าด้วยความเป็นรัฐไวโอมิง ส่งผลให้ไวโอมิงกลายเป็นรัฐที่ 44 ของสหรัฐ[1]

ในอดีต ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปทำฟาร์มและเลี้ยงสัตว์ที่นี่ โดยเกิดความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างคนเลี้ยงแกะกับคนเลี้ยงวัวอยู่เนือง ๆ ในปัจจุบันเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของไวโอมิงขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและการสกัดแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน โทรนา เป็นต้น สินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ หญ้าแห้ง ปศุสัตว์ บีตน้ำตาล ข้าวสาลี และเส้นใยขนสัตว์ ไวโอมิงเป็นรัฐแรก (หากไม่นับรัฐนิวเจอร์ซีย์ก่อน ค.ศ. 1807) ที่ออกกฎหมายให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิในการเข้ารับตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งเป็นรัฐแรกที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นผู้หญิง เนื่องจากประวัติศาสตร์ส่วนนี้ ไวโอมิงจึงมีชื่อเล่นว่า "รัฐเสมอภาค" และมีคำขวัญทางการว่า "สิทธิที่เท่าเทียมกัน"[1] ไวโอมิงเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองอนุรักษนิยมมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันชนะการเลือกตั้งในรัฐนี้ทุกครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 เป็นต้นมา[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Wyoming Facts and Symbols". State of Wyoming. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2016. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  2. CHAP. 664.—An act to provide for the admission of the State of Wyoming into the Union, and for other purposes. 26 Stat. 222. Fifty-First US Congress. Approved July 10, 1890.
  3. "Gannett Peak Cairn". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
  4. 4.0 4.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2012. สืบค้นเมื่อ October 24, 2011.
  5. "Median Annual Household Income". The US Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016.
  6. "2020 Census" (PDF). Census Bureau. April 26, 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2021. สืบค้นเมื่อ July 12, 2021.
  7. "City and Town Population Totals: 2010-2018". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.[ลิงก์เสีย]
  8. MainEnvironment.org เก็บถาวร พฤษภาคม 25, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Public Land Ownership by State, 1995 Main Environment.org
  9. Bright, William (2004). Native American Place Names of the United States. Norman: University of Oklahoma Press, pg. 576
  10. State of Wyoming—Narrative เก็บถาวร พฤษภาคม 15, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Dave Leip's Atlas of U.S. Presidential Elections". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2018. สืบค้นเมื่อ November 18, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

43°N 107°W / 43°N 107°W / 43; -107 (State of Wyoming)