เขตปกครองสามัญ

หน่วยการบริหารของนาซีเยอรมนี ภายในเขตยึดครองโปแลนด์
(เปลี่ยนทางจาก รัฐบาลสามัญ)

เขตปกครองสามัญ (เยอรมัน: Generalgouvernement, โปแลนด์: Generalne Gubernatorstwo, ยูเครน: Генеральна губернія) ยังถูกเรียกอีกอย่างว่า เขตปกครองสามัญสำหรับภูมิภาคโปแลนด์ที่ถูกยึดครอง (เยอรมัน: Generalgouvernement für die besetzten polnischen Gebiete) เป็นเขตยึดครองของเยอรมนีที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังการรุกรานโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี สโลวาเกีย และสหภาพโซเวียต เมื่อเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ที่เพิ่งถูกยึดครองมาใหม่ ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนเขตปกครองสามัญอยู่ตรงกลาง, ดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกผนวกโดยนาซีเยอรมนีอยู่ด้านตะวันตก และดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตอยู่ด้านตะวันออก ดินแดนแห่งนี้ถูกขยายไปออกอย่างมากใน ค.ศ. 1941 ภายหลังการรุกรานสหภาพโซเวียตโดยเยอรมนี รวมทั้งอำเภอใหม่แห่งกาลิเซีย[2]

เขตปกครองสามัญ

Generalgouvernement  (เยอรมัน)
Generalne Gubernatorstwo  (โปแลนด์)
ค.ศ. 1939–ค.ศ. 1945
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
สถานะรัฐองค์ประกอบการปกครองตนเอง
ของ นาซีเยอรมัน[1]
เมืองหลวงลิสมันท์ชทัดท์ (Litzmannstadt) (12 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939)
กรากุฟ (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939–1945)
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (เป็นทางการ)
โปแลนด์
ยูเครน
ยิดดิช
การปกครองเขตการปกครองทางทหาร
ผู้สำเร็จราชการทั่วไป 
• 1939–1945
ฮันส์ ฟรังค์
เลขานุการแห่งรัฐ 
• 1939–1941
อาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท
• 1941–1945
โยเซ็ฟ บือเลอร์
ยุคประวัติศาสตร์การบุกครองโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
12 ตุลาคม ค.ศ. 1939
1 สิงหาคม ค.ศ. 1941
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
17 มกราคม ค.ศ. 1945
• ล่มสลาย
19 มกราคม ค.ศ. 1945
พื้นที่
193995,000 ตารางกิโลเมตร (37,000 ตารางไมล์)
1941142,000 ตารางกิโลเมตร (55,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1941
12000000
สกุลเงินซวอตือ
ไรชส์มาร์ค
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1939:
การปกครองโปแลนด์ทางทหารของเยอรมนี
ค.ศ. 1941:
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โปแลนด์
 สโลวาเกีย
 ยูเครน

พื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตปกครองสามัญ คือ "ภาคผนวกกฤษฎีกาเกี่ยวกับการบริหารของดินแดนยึดครองโปแลนด์" ถูกประกาศโดยฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1939 เขาได้ยืนยันว่ารัฐบาลโปแลนด์ถูกยุบลงโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยศาลฎีกาเยอรมนีในการกำหนดตัวตนของชาวโปแลนด์ทั้งหมดในฐานะบุคคลไร้สัญชาติ กับการยกเว้นกลุ่มชาวเยอรมันของโปแลนด์ในช่วงสงคราม ชื่อนามเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมายของไรช์ที่สาม โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศ[2]

เขตปกครองสามัญถูกดำเนินการโดยนาซีเยอรมนี ในฐานะหน่วยบริหารที่ถูกแยกออกจากกัน เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการส่งกำลังบำรุง เมื่อกองกำลังแวร์มัคท์รุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 (ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา) ดินแดนของเขตปกครองสามัญถูกขยายใหญ่ขึ้น โดยการรวมภูมิภาคของโปแลนด์ ที่เคยถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตในก่อนหน้านี้[3] ภายในไม่กี่วัน อำเภอกาลิเซียตะวันออกก็ถูกรุกรานและถูกรวมเข้ากับอำเภอกาลิเซีย จนถึง ค.ศ. 1945 เขตปกครองสามัญประกอบไปด้วยดินแดนของโปแลนด์ในภาคกลาง, ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ภายในพรมแดนก่อนเกิดสงคราม (และรวมไปถึงภาคตะวันตกของยูเครนในปัจจุบัน) รวมไปถึงเมืองสำคัญของโปแลนด์อย่างวอร์ซอ, กรากุฟ, ลวุฟ (ในปัจจุบันนี้คือลวิว, ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น แลมแบร์ก[a]), ลูบลิน (ดูที่: การสงวนลูบลิน), ตาร์โนโปอล (ดูที่: ประวัติศาสตร์ของตาร์โนโปอลเกตโต), สตาญิสวุฟ (ในปัจจุบันนี้คืออีวาโน-ฟรันคีวัฟ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สตันนีสเลา[b]; ดูที่: สตาญิสวุฟเกตโต), โดรโคเบ็สค์ และซัมบวอร์ (ดูที่: โดรโคเบ็สค์และซัมบวอร์เกตโต) และอื่น ๆ สถานที่ทางภูมิศาสตร์ก็ถูกเปลื่ยนชื่อเป็นภาษาเยอรมัน[2]

การบริหารงานของเขตปกครองสามัญจะประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของเยอรมนีทั้งหมด โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้ดินแดนแห่งนี้ตกเป็นที่ตั้งรกรากโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมัน ผู้ที่จะลดประชากรชาวโปแลนด์ให้เหลืออยู่ในระดับทาส ก่อนที่จะถูกกำจัดทางชีวภาพในที่สุด[4] ผู้ปกครองของเขตปกครองสามัญ (Generalgouvernement) ของนาซีเยอรมนี ไม่มีเจตนารมณ์ที่จะแบ่งปันการปกครองกับคนท้องถิ่นตลอดช่วงสงคราม โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและทิศทางทางการเมือง เจ้าหน้าที่มักจะไม่เอ่ยถึงคำว่า โปแลนด์ ในความสอดคล้องทางกฎหมาย ยกเว้นเพียงแต่กรณีเดียว คือ โรงพิมพ์ธนบัตรในโปแลนด์ของเขตปกครองสามัญ (โปแลนด์: Bank Emisyjny w Polsce, เยอรมัน: Emissionbank in Polen)[5][6]

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Diemut 2003, page 268.
  2. 2.0 2.1 2.2 Diemut Majer (2003). "Non-Germans" Under the Third Reich: The Nazi Judicial and Administrative System in Germany and Occupied Eastern Europe with Special Regard to Occupied Poland, 1939–1945. With contribution from the United States Holocaust Memorial Museum. JHU Press. pp. 236–246. ISBN 0801864933.
  3. Piotr Eberhardt, Jan Owsinski (2003). Ethnic Groups and Population Changes in Twentieth-century Central-Eastern Europe: History, Data, Analysis. M.E. Sharpe. p. 216. ISBN 9780765606655.
  4. Ewelina Żebrowaka-Żolinas Polityka eksterminacyjna okupanta hitlerowskiego na Zamojszczyźnie Studia Iuridica Lublinensia 17, 213-229
  5. Keith Bullivant, Geoffrey J. Giles, Walter Pape (1999). Germany and Eastern Europe: Cultural Identities and Cultural Differences. Rodopi. p. 32.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Adam D. Rotfeld, Anatolij W. Torkunow (2010). White spots–black spots: difficult issues in Polish–Russian relations 1918–2008 [Białe plamy–czarne plamy: sprawy trudne w polsko-rosyjskich stosunkach 1918–2008] (ภาษาโปแลนด์). Polsko-Rosyjska Grupa do Spraw Trudnych, Polski Instytut Spraw Międzynarodowych. p. 378. ISBN 9788362453009.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์).