รัฐฉาน
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ฉาน,[3] ชาน[3] (พม่า: ရှမ်း / သျှမ်း, ช่าน; ไทใหญ่: မိူင်းတႆး, ออกเสียง: [mə́ŋ.táj] เมิ้งไต๊) หรือ ไทใหญ่[4] เป็นรัฐที่มีเนื้อที่มากที่สุดในบรรดาเขตการปกครอง 14 เขตของประเทศพม่า โดยครอบคลุมพื้นที่ 155,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐเป็นเขตชนบท โดยมีเมืองเพียงสามเมืองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ได้แก่ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และตองจีซึ่งเป็นเมืองหลักของรัฐ[5] ตองจีตั้งอยู่ห่างจากเนปยีดอ (เมืองหลวงของประเทศ) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 150.7 กิโลเมตร
รัฐฉาน မိူင်းတႆး รัฐไทใหญ่ | |
---|---|
การถอดเสียงภาษากลุ่มไทและกลุ่มทิเบต–พม่า | |
• ไทใหญ่ | မိူင်းတႆး |
• ไทใต้คง | ᥛᥫᥒᥰ ᥖᥭᥰ |
• พม่า | ရှမ်းပြည် / သျှမ်းပြည် |
• ปะโอ | ဖြောဝ်ꩻခမ်း |
เพลง: "เครือเราเครือราชา" (ไทใหญ่: ၶိူဝ်းႁဝ်းၶိူဝ်းရႃႇၸႃႇ) | |
ที่ตั้งรัฐฉานในประเทศพม่า | |
พิกัด: 21°30′N 98°0′E / 21.500°N 98.000°E | |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค | กลาง-ตะวันออก |
เมืองหลัก | ตองจี |
การปกครอง | |
• มุขมนตรี | ลี่นทุ (เอ็นแอลดี) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 155,801.3 ตร.กม. (60,155.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2557)[2] | |
• ทั้งหมด | 5,824,432 คน |
• ความหนาแน่น | 37 คน/ตร.กม. (97 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | ไทใหญ่, พม่า, จีน, ว้า, ลีซอ, ดะนุ, อินทา, มูเซอ, ปะหล่อง, ปะโอ, ตองโย, อินเดีย, กูรข่า |
• ศาสนา | พุทธ, คริสต์, วิญญาณนิยม, อิสลาม, ฮินดู |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
รหัส ISO 3166 | MM-17 |
เว็บไซต์ | www |
รัฐฉานเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มและเป็นที่ตั้งของกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธหลายกองกำลัง ในขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามในความตกลงหยุดยิงกับกองกำลังส่วนใหญ่ พื้นที่อันกว้างขวางของรัฐโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินยังคงอยู่นอกเหนือการควบคุมจากรัฐบาลกลางและอยู่ภายใต้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ส่วนพื้นที่อื่น ๆ อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ เช่น กองทัพรัฐฉาน เป็นต้น
ตามข้อมูลจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอดีซี) รัฐฉานเป็นภูมิภาคที่ผลิตฝิ่นมากที่สุดในประเทศพม่า โดยมีผลผลิตฝิ่นคิดเป็นร้อยละ 82 (331 เมตริกตัน) ของผลผลิตฝิ่นทั้งหมดของประเทศ (405 เมตริกตัน) ใน พ.ศ. 2563[6] ถึงกระนั้น การปลูกฝิ่นก็ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ใน พ.ศ. 2563 อัตราการปลูกฝิ่นในรัฐฉานลดลงร้อยละ 12 โดยภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ของรัฐมีการปลูกฝิ่นลดลงร้อยละ 17, ร้อยละ 10 และร้อยละ 9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอัตราการปลูกฝิ่นในปีก่อนหน้าคือ พ.ศ. 2562[7]
ภูมิศาสตร์
แก้ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่าง ๆ
รัฐฉานมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐกะชีน (ประเทศพม่า) เขตเต๋อหง เขตเป่าซาน และเขตหลินซาง (มณฑลยูนนาน ประเทศจีน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตซือเหมา เขตสิบสองปันนา (มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ประเทศไทย) รัฐกะยา และรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับดินแดนสหภาพเนปยีดอ ภาคมัณฑะเลย์ และภาคซะไกง์ (ประเทศพม่า)
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พ.ศ. 448[ต้องการอ้างอิง] ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ไท" หรือที่เรียกกันว่า "เมิ้งไต๊" ในภาษาไทใหญ่ หรือ "เมืองไท" ในภาษาไทย มีประชากรหลายชนชาติอาศัยอยู่ร่วม โดยมีชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไทเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง อาณาเขตของเมืองไทประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมือง แต่ละเมืองปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต
เมืองไทกับพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไทปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง] และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไทกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไทเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบ[ต้องการอ้างอิง]
- พ.ศ. 2305 ในสมัยพระเจ้าอลองพญา รัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ เจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไท
- พ.ศ. 2433 อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไทหรือฉาน
เนื่องจากพม่าตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนเมืองไทตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้เข้ายึดพร้อมกัน แม้อังกฤษจะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของตนแต่ก็ไม่สามารถปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไทเป็นเมืองใต้การอารักขา
อังกฤษได้ล้มล้างระบบกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไทอังกฤษไม่ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า และอีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ
- 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นขอรัฐบาลไทยสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารยึดรัฐฉาน เชียงตุง ในประเทศพม่า จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียงไคเช็ค ญี่ปุ่นได้ส่งมอบให้ไทย ผนวกเป็นสหรัฐไทยเดิม เป็นจังหวัดไทใหญ่
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 รัฐฉานกลับมาสู่อิสรภาพ และอังกฤษได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
- พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไท ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไทจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง พร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ และระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
- พ.ศ. 2491 อังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไท ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า สนธิสัญญาปางโหลงจึงเป็นโมฆะ เหตุนี้จึงทำให้ชาวไทหรือไทใหญ่ก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้น
ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไท อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคง และยังมีกองกำลังกู้ชาติในรัฐฉานของตนเอง ใน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดตั้งสภารัฐฉาน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้รัฐฉานแบ่งออกเป็น 22 จังหวัด, 4 พื้นที่ปกครองตนเอง และ 1 เขตปกครองตนเอง ดังนี้
ภูมิภาคย่อย | พื้นที่/เขต ปกครองตนเอง |
จังหวัด | อำเภอ | ||
---|---|---|---|---|---|
ภาษาไทย | ภาษาไทใหญ่ | ภาษาไทย | ภาษาไทใหญ่ | ||
ฉานใต้ | – | ดอยแหลม | လွႆလႅမ် | ดอยแหลม | လွႆလႅမ် |
ลายข้า | လၢႆးၶႃႈ | ||||
เมืองกึ๋ง | မိူင်းၵိုင် | ||||
ล้างเค้อ | လၢင်းၶိူဝ်း | ล้างเค้อ | လၢင်းၶိူဝ်း | ||
หมอกใหม่ | မွၵ်ႇမႆႇ | ||||
เมืองปั่น | မိူင်းပၼ်ႇ | ||||
กาดล้อ | ၵၢတ်ႇလေႃႉ | กาดล้อ | ၵၢတ်ႇလေႃႉ | ||
ยองห้วย | ယွင်ႁူၺ်ႈ | ||||
ผายขุ่น | ၽၢႆၶုၼ်ႇ | ||||
น้ำจาง | ၼမ်ႉၸၢင် | น้ำจาง | ၼမ်ႉၸၢင် | ||
กุ๋นเหง | ၵုၼ်ႁဵင် | ||||
เมืองนาย | မိူင်းၼၢႆး | ||||
เมืองสู้ | မိူင်းသူႈ | เมืองสู้ | မိူင်းသူႈ | ||
เก๊ซี้ | ၵေးသီး | ||||
ตองจี | တူၼ်ႈတီး | ตองจี | တူၼ်ႈတီး | ||
ล้อกจอก | လွၵ်ႉၸွၵ်ႇ | ||||
ปะโอ | หัวพง | ႁူဝ်ပူင်း | |||
สี่แส่ง | သီႇသႅင်ႇ | ||||
ปางล้อง | ပၢင်လွင်း | ||||
ดะนุ | ป๊างตะร่า | ပၢင်းတရႃႉ | |||
ยหว่าหง่าน | ယႂႃႇငၢၼ်ႇ | ||||
ฉานเหนือ | – | ล่าเสี้ยว | လႃႈသဵဝ်ႈ | ล่าเสี้ยว | လႃႈသဵဝ်ႈ |
แสนหวี | သႅၼ်ဝီ | ||||
กุ๋นโหลง | ၵုၼ်လူင် | ||||
หมู่เจ้ | မူႇၸေႈ | หมู่เจ้ | မူႇၸေႈ | ||
น้ำคำ | ၼမ်ႉၶမ်း | ||||
จ๊อกแม้ | ၵျွၵ်းမႄး | จ๊อกแม้ | ၵျွၵ်းမႄး | ||
หนองเขียว | ၼွင်ၶဵဝ် | ||||
สี่ป้อ | သီႇပေႃႉ | ||||
น้ำตู้ | ၼမ်ႉတူႈ | ||||
เมืองมีด | မိူင်းမိတ်ႈ | เมืองมีด | မိူင်းမိတ်ႈ | ||
ม่านเป๊ง | မၢၼ်ႈပဵင်း | ||||
ต้างย้าน | တၢင်ႉယၢၼ်း | ต้างย้าน | တၢင်ႉယၢၼ်း | ||
เมืองไหย | မိူင်းယႆ | ||||
ก้ดขาย | ၵူတ်ႉၶၢႆ၊ | ก้ดขาย | ၵူတ်ႉၶၢႆ၊ | ||
ปะหล่อง | น้ำสั่น | ၼမ်ႉသၼ်ႇ | |||
ม่านต้ง | မၢၼ်ႈတူင်ႈ | ||||
โกก้าง | เล่าไก่ | လဝ်ႉၵႆႇ | เล่าไก่ | လဝ်ႉၵႆႇ | |
กุ๊งจ้าง | ၵုင်းၸၢင်ႉ | ||||
ว้า | หัวป่าง | ႁူဝ်ပၢင်ႇ | หัวป่าง | ႁူဝ်ပၢင်ႇ | |
ปางหวาย | ပၢင်ဝၢႆ | ||||
เมืองใหม่ | မိူင်းမႂ်ႇ | ||||
หมากหมัง | မၢၵ်ႇမင် | หมากหมัง | မၢၵ်ႇမင် | ||
ปางซาง | ပၢင်သၢင်း | ||||
นาฟาน | ၼႃးၽၢၼ်း | ||||
ฉานตะวันออก | – | เชียงตุง | ၵဵင်းတုင် | เชียงตุง | ၵဵင်းတုင် |
เมืองขาก | မိူင်းၶၢၵ်ႇ | ||||
เมืองเพียง | မိူင်းပဵင်း | ||||
เมืองสาด | မိူင်းသၢတ်ႇ | เมืองสาด | မိူင်းသၢတ်ႇ | ||
ท่าขี้เหล็ก | တႃႈၶီႈလဵၵ်း | ท่าขี้เหล็ก | တႃႈၶီႈလဵၵ်း | ||
เมืองพยาก | မိူင်းၽျၢၵ်ႈ | ||||
เมืองยาง | မိူင်းယၢင်း | เมืองยาง | မိူင်းယၢင်း | ||
เมืองลา | မိူင်းလႃး | เมืองลา | မိူင်းလႃး | ||
เมืองต๋น | မိူင်းတူၼ် | เมืองต๋น | မိူင်းတူၼ် | ||
เมืองยอง | မိူင်းယွင်း | เมืองยอง | မိူင်းယွင်း |
ประชากร
แก้- ประชากร 5,815,384 คน
- ความหนาแน่น 37 คน/ตารางไมล์
- เชื้อชาติ
- ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของไทใหญ่นอกจากนั้นก็จะมีชาวพม่า ชาวจีน ชาวกะชีน ชาวดะนุ ชาวอินทา ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะเหรี่ยง ชาวไทลื้อ ชาวคำตี่ ชาวไทดอย เป็นต้น
- ศาสนา
- ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ รองลงมาจะเป็นศาสนาคริสต์ซึ่งมีอิทธิพลมากในหมู่ชาวเขา ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวอินเดีย และฮ่อ ศาสนาฮินดูในหมู่ชาวอินเดีย และศาสนาพื้นเมืองเดิมดั้งเดิมในหมู่ชาวเขา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Union of Myanmar". City Population. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
- ↑ Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 17.
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 349. "ฉาน ๔ น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก."
- ↑ "Shan: largest cities and towns and statistics of their population". World Gazetteer. สืบค้นเมื่อ 19 January 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Myanmar Opium Survey 2020: Cultivation, Production and Implications" (PDF). February 2021.
- ↑ "Myanmar Opium Survey 2020: Cultivation, Production and Implications" (PDF). February 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2015-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Shan State" เก็บถาวร 2011-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน relief map showing major towns and revised township boundaries, 18 November 2010, Myanmar Information Management Unit (MIMU)
- Shan Herald Agency for News S.H.A.N.
- Taipei American Chamber of Commerce; Topics Magazine, Analysis, November 2012. Myanmar: Southeast Asia's Last Frontier for Investment, BY DAVID DUBYNE
- Chronology for Shans in Burma เก็บถาวร 2010-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน