รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย

รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมร: រដ្ឋាភិបាលចម្រុះកម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ รฎฺฐาภิบาลจมฺรุะกมฺพุชาบฺรชาธิบเตยฺย; อังกฤษ: Coalition Government of Democratic Kampuchea: CGDK) เป็นการรวมตัวของกลุ่มการเมืองในกัมพูชาได้แก่เขมรแดง ภายใต้การนำของเขียว สัมพันและพล พต แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรของซอนซาน และพรรคฟุนซินเปกของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2525 โดยการผลักดันของกระทรวงการต่างประเทศของไทย สหรัฐและจีน[2] โดยมีสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นตัวแทนของกัมพูชาในสหประชาชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2525 – 2535 ทั้งนี้ เขมรแดงได้ยุบพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาไปตั้งแต่ พ.ศ. 2524[3]

รัฏฐาภิบาลผสม
กัมพูชาประชาธิปไตย (ค.ศ. 1982–90)

រដ្ឋាភិបាលចំរុះកម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ
Gouvernement de coalition du Kampuchéa démocratique
รัฏฐาภิบาลชาติในกัมพูชา (ค.ศ. 1990–93)

រដ្ឋាភិបាលជាតិនៃកម្ពុជា
Gouvernement national du Cambodge
1982–1993
ธงชาติกัมพูชาประชาธิปไตย
ธงของรัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย
ตราแผ่นดินของกัมพูชาประชาธิปไตย
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติสิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย
ដប់ប្រាំពីរមេសាមហាជោគជ័យ
ที่ตั้งของกัมพูชา ซึ่งยึดครองโดยเวียดนาม
ที่ตั้งของกัมพูชา ซึ่งยึดครองโดยเวียดนาม
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น เฉพาะกาล
รัฐที่ได้รับการยอมรับของเขมรแดง
เมืองหลวงโดยนิตินัย พนมเปญ
Anlong Veng
ภาษาทั่วไปเขมร
การปกครองรัฐบาลพลัดถิ่น เฉพาะกาล
ประธานาธิบดี 
• 1982–1987
นโรดม สีหนุ
รองประธานาธิบดี 
นายกรัฐมนตรี 
• 1982
ซอน ซาน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
สงครามกัมพูชา-เวียดนาม
• ก่อตั้ง
22 มิถุนายน 1982
• ข้อตกลงสันติภาพปารีส
23 ตุลาคม ค.ศ. 1991
• เริ่มต้นภารกิจ UNTAC
15 มีนาคม 1992
สกุลเงินเรียล
รหัสโทรศัพท์855
ก่อนหน้า
ถัดไป
กัมพูชาประชาธิปไตย
ราชอาณาจักรกัมพูชา
รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา

เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ทำให้นำไปสู่การเจรจากับเวียดนามจนเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาจนหมดใน พ.ศ. 2532 ต่อมาเมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกัมพูชา เขมรแดงเกิดความหวาดระแวงว่าการเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพื่อจับตัวไปดำเนินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[4] เขมรแดงจึงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพและไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง รวมถึงไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536[5] ทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเขมรแดง รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยจึงยุติลง

การรับรองจากนานาชาติ

แก้
 
ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา; 2522-2527

ประวัติศาสตร์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "{title}" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2017.
  2. พวงทอง, 2552
  3. เขียว สัมพัน, 2549
  4. เขียว สัมพัน, 2549
  5. พวงทอง, 2552

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Jeldres, Julio A (2005). Volume 1 – Shadows Over Angkor: Memoirs of His Majesty King Norodom Sihanouk of Cambodia. Phnom Penh: Monument Books. ISBN 974-92648-6-X.
  • Osborne, Milton E (1994). Sihanouk Prince of Light, Prince of Darkness. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1639-1.
  • Mehta, Harish C. (2001). Warrior Prince: Norodom Ranariddh, Son of King Sihanouk of Cambodia. Singapore: Graham Brash. ISBN 981-218-086-9.
  • เขียว สัมพัน. ประวัติศาสตร์กัมพูชากับบทเรียนที่ผ่านมาของข้พเจ้า. อภิญญา ตะวันออก แปล. กทม. มติชน. 2549
  • พวงทอง ภวัครพันธุ์. 2552. สงคราม การค้าและชาตินิยมในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา. กทม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์. หน้า 41 – 84

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้