รักร่วมสองเพศ
รักร่วมสองเพศ[1] หรือ ไบเซ็กชวลลิตี (อังกฤษ: Bisexuality) หรือ ไบเซ็กชวล (Bisexual) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไบ (Bi) เป็นรสนิยมทางเพศที่ชอบทั้งเพศชายและหญิง คนรักร่วมสองเพศอาจมีประสบการณ์ทางเพศ ภาวะอารมณ์ ความรัก กับทั้งเพศตัวเองและเพศตรงข้าม และยังมีความหมายถึงความรู้สึกส่วนตัวและอัตลักษณ์ทางสังคม โดยยึดจากความสนใจทางเพศ การแสดงออกทางพฤติกรรม และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคม[2] และยังถือเป็น 1 ใน 4 ของการจำแนกเพศ ร่วมไปกับรักต่างเพศ รักร่วมเพศ และไม่ฝักใจทางเพศ
จากการสำรวจของอัลเฟรด คินเซย์เกี่ยวกับเพศของมนุษย์ เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบุว่า มีมนุษย์หลายคนที่ไม่ได้เป็นบุคคลรักเพศตรงข้าม และรักเพศเดียวกัน แต่อยู่ระหว่างกลาง[3] มีการวัดความสนใจทางเพศและพฤติกรรมเป็นตัวเลขระหว่าง 0 ถึง 6 โดย 0 (รักเพศตรงข้ามอย่างเดียว) ถึง 6 (รักเพศเดียวกันอย่างเดียว) และคะแนน 2 ถึง 4 จัดว่าเป็นรักร่วมสองเพศ
ไบเซ็กชวล ได้รับการสังเกตในสังคมมนุษย์หลายสังคม[4] รวมไปถึงอาณาจักรสัตว์ด้วย[5][6][7] จากประวัติการบันทึก เกี่ยวกับไบเซ็กชวล น่าจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับ รักร่วมเพศ และรักเพศเดียวกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-03-04.
- ↑ "APA Help Center". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
- ↑ [1]เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Kinsey Institute - Kinsey Study Data [Research Program]
- ↑ Crompton, Louis (2003). Homosexuality and Civilization. Cambridge, Massachusetts: Belknap Press. ISBN 067401197X.
- ↑ Bagemihl, Bruce (1999). Biological Exuberance: Animal Homosexuality and Natural Diversity. London: Profile Books, Ltd. ISBN 1861971826.
- ↑ Roughgarden, Joan (May 2004). Evolution's Rainbow: Diversity, Gender, and Sexuality in Nature and People. Berkeley, CA: University of California Press. ISBN 0520240731.
- ↑ Driscoll, Emily V. (July 2008). "Bisexual Species: Unorthodox Sex in the Animal Kingdom". Scientific American.
- ↑ Harper, Douglas (11 2001). "Bisexuality". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2007-02-16.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)