รสนา โตสิตระกูล
รสนา โตสิตระกูล (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองและนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงขบวนการทุจริต กรณีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2541 ยับยั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2548
รสนา โตสิตระกูล | |
---|---|
รสนา โตสิตระกูลใน พ.ศ. 2553 | |
เกิด | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
การศึกษา | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | สันติสุข โสภณสิริ (ไม่จดทะเบียน) |
ใน พ.ศ. 2549 น.ส.รสนา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับ 4 (แต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกิดรัฐประหาร 19 กันยา เสียก่อน) จากนั้นใน พ.ศ. 2551 เธอได้ลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร หมายเลข 5 โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีคะแนนนำอันดับที่ 2 นายนิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชื่อดังอย่างขาดลอย (น.ส.รสนา โตสิตระกูล ได้คะแนนทั้งหมด 743,397 คะแนน ส่วนนายนิติพงษ์ ห่อนาค ได้คะแนนประมาณ 200,000 คะแนน) ได้รับรองจาก กกต. แล้ว
ในปี พ.ศ. 2565 น.ส.รสนา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
การศึกษา
แก้น.ส.รสนาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม และจบปริญญาตรีจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 เธอได้สมรสและมีบุตรแล้วกับนายสันติสุข โสภณสิริ แต่มิได้จดทะเบียนสมรสจึงยังใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" อยู่
การทำงาน
แก้บทบาทการทำงานที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้โภคและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค หรือเป็นกรรมการในฐานะตัวแทนผู้บริโภค
- อดีตกรรมการอิสระ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[1]
- อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
- กรรมการ มูลนิธิสุขภาพไทย
- กรรมการ มูลนิธิโกมลคีมทอง
- แกนนำเครือข่าย 30 องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อผู้บริโภค
- กรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง และยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- กรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามกระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภานิติบัญญัติ
- ประธาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (2 สมัย)
- อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ปี 2551 จากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551
ผลงานที่เป็นข่าว
แก้- เข้าร่วมโครงการพัฒนาชนบทเมื่อเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปณิธานในการอุทิศตนเพื่อชาติ [ต้องการอ้างอิง]
- ตรวจสอบทุจริตยา หนึ่งในแกนนำในการเคลื่อนไหวล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นตรวจสอบการทุจริตยาของกระทรวงสาธารณสุข จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น นายรักเกียรติ สุขธนะ ถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี และถูกยึดทรัพย์เป็นจำนวน 233.8 ล้านบาท[2] (รวมเวลาการเคลื่อนไหวทั้งสิ้นกว่า 6 ปี)
- ยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในการยับยั้งการแปรรูปของ กฟผ. อันนำมาสู่คำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ทั้ง 2 ฉบับ [ต้องการอ้างอิง]
- เป็นหนึ่งในแกนนำฟ้องร้องคดีของบริษัทปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. จนส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
- จากเหตุการณ์ที่พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ดำเนินการการเรียกร้องต่อรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกตั้งแต่ปี 2548 รสนาได้ให้การสนับสนุนกลุ่มดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2548 ในปี 2551 ได้อยู่ระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงได้มีวิธีการเรียกร้องสิทธิให้กับประชาชนในนาม กลุ่ม 40 สว.
ผลงานทางการเมืองและสังคม
แก้- พ.ศ. 2547 จับนักการเมืองติดคุก - ยึดทรัพย์ ในคดีทุจริต เป็นคดีแรกของประวัติศาสตร์
- พ.ศ. 2549 ชนะคดี แปรรูป กฟผ.หยุดยั้งค่าไฟแพงเพื่อตลาดหุ้น
- พ.ศ. 2550 ฟ้องคดีจนศาลสั่ง ปตท. คืนท่อก๊าซสกัดการผูกขาดก๊าซธรรมชาติ
- พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกตั้งเป็น สว.กทม. ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเทศไทย ด้วยคะแนน 743,397 คะแนน
- พ.ศ. 2551 ผลักดันการตั้งกรรมาธิการสามัญตรวจสอบทุจริตของ สว. สำเร็จ เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน เป็นผู้นำการขับเคลื่อนเพื่อความเป็นธรรมด้าน “พลังงาน ”
- พ.ศ. 2558 ร่วมคว่ำมติสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมที่ไม่โปร่งใส
- พ.ศ. 2562 จัดตั้งและระดมทุน “กองทุนแสงอาทิตย์” เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar PV rooftop) ให้โรงพยาบาลทุกจังหวัด ทั่วไทย
- พ.ศ. 2562 ร่วมต่อสู้จน “ ยกเลิกสิทธิบัตรกัญชาต่างชาติ” สำเร็จ
ผลงานเขียนและแปล
แก้- ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว แปลจาก The One Straw Revolution ของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ[3]
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้ เขียนร่วมกับ เอกวิทย์ ณ ถลาง, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วิจารณ์ พานิช และหม่อมราชวงศ์นงคราญ ชมพูนุช[4]
- จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ โดย ฟริตจ๊อป คราปร้า (แปลร่วม)
- คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน โดย มหาตมะ คานธี (บรรณาธิการ)
- เดิน : วิถีแห่งสติ โดย ติช นัท ฮันห์
- คือเมฆสีขาวทางก้าวเก่าแก่ 1-3 โดย ติช นัท ฮันห์ (แปลร่วม)
- สัมผัสแห่งรักเพื่อสุขภาพลูกน้อย (คู่มือและดีวีดีเกี่ยวกับการนวดสัมผัสทารก)
- วีรชนต้านคอร์รัปชั่น
มุมมองศาสนา
แก้รสนากล่าวว่าเธอไม่มีความเอนเอียงทางการเมือง แต่เธอสนับสนุนสิ่งที่เรียกว่า การสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรีของชาวพุทธ[5][6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งกรรมการลาออก
- ↑ สถาบันนโยบายศึกษา กันยายน 2546 : ห้าม “รักเกียรติ” เล่นการเมือง 5 ปีพร้อมยึดทรัพย์
- ↑ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-03-27.
- ↑ "ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-03-27.
- ↑ Kate Hodal (February 9, 2014). "Rosana Tositrakul: 'There's cronyism among women in Thai politics'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2014. สืบค้นเมื่อ November 20, 2014.
- ↑ Sukrung, Karnjariya (June 28, 2008). "Walking the Path". Bangkok Post. The Buddhist Channel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2008. สืบค้นเมื่อ February 12, 2010.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของ รสนา โตสิตระกูล เก็บถาวร 2008-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติ รสนา โตสิตระกูล เก็บถาวร 2006-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่มูลนิธิสุขภาพไทย
- คำสัมภาษณ์ ในนิตยสารสารคดี กุมภาพันธ์ 2549 เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 'รสนา โตสิตระกูล' มอบชีวิตและหัวใจให้แผ่นดิน มีนาคม 2549 เก็บถาวร 2006-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน