ยุพยง เหมะศิลปิน
รองศาสตราจารย์ยุพยง เหมะศิลปิน เป็นสถาปนิก อดีตนายกสภาสถาปนิก เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาปนิกออกแบบอาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงหลักสูตร ประเมินผลงานทางวิชาการ เป็นประธานอนุกรรมการจัดทำคลังข้อสอบ จัดสอบความรู้ และสอบเทียบวิทยฐานะผู้ขอรับใบประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม และเป็นผู้มีบทบาทในการประสานเครือข่าย ความร่วมมือจากภาควิชาการ เข้าสู่วิชาชีพในฐานะกรรมการสมาคมสถาปนิกสยาม
ยุพยง เหมะศิลปิน | |
---|---|
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
ยุพยงศึกษาระดับชั้นอนุบาลถึง มศ.5 จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นทำงานเป็นสถาปนิกโทที่การประปานครหลวงที่แม้นศรี เป็นสถาปนิกคนแรกของการประปา แล้วเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เรียนระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ เมื่อศึกษาจบได้ร่วมกับทองพันธุ์ พูนสุวรรณวางผังและพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งที่วิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตกำแพงแสน ได้เป็นกรรมการตรวจการจ้างก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เกือบทุกงานที่ออกแบบ[1]
ยุพยงสอนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมในหลักสูตรวิศวกรรมโยธาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 จนเมื่อ พ.ศ. 2538 เริ่มจัดตั้งภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยุพยงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง จากนั้นดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2553–2558 ถือว่าเป็นนายกสภาสถาปนิกหญิงคนแรกและคนเดียวของสภาสถาปนิก ยุพยงได้รับการยกย่องเป็นสถาปนิกดีเด่น เมื่อ พ.ศ. 2558[2]
ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสกับวิวัฒน์ เหมะศิลปิน ซึ่งเป็นสถาปนิกเช่นกัน[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภัทรียา พัวพงศกร. "รศ.ยุพยง เหมะศิลปิน อดีตนายกสภาสถาปนิกหญิง คนแรกและคนเดียวของเมืองไทย". เดอะคลาวด์.
- ↑ "คุณแหน : 6 พฤษภาคม 2558". แนวหน้า.
- ↑ "สำรวจตึกเก่าฝีมือ ดร.ยุวรัตน์ เหมะศิลปิน สถาปนิกนักซ่อมบ้านตากอากาศโบราณของไทย". เดอะคลาวด์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๙, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙