ยุทธนาวีที่มิดเวย์
ยุทธนาวีมิดเวย์ (อังกฤษ: Battle of Midway, ญี่ปุ่น: ミッドウェー海戦) เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก[3][4][5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา
ยุทธนาวีมิดเวย์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
เครื่องบินทิ้งระเบิดดักลาส เอสบีดี - 3 จากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต ขณะดำดิ่งทิ้งระเบิดเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นซึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2485 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Chester W. Nimitz Frank Jack Fletcher Raymond A. Spruance |
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ โนะบุตะเกะ คนโดะ ชูอิชิ นะงุโมะ ทามอน ยะมะงุจิ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่) ริวซะกุ ยะนะงิโมะโตะ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่) | ||||||
กำลัง | |||||||
เรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ เรือสนับสนุน ~25 ลำ อากาศยาน 233 ลำ อากาศยานจากฐานบินบนบก 127 ลำ |
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือประจัญบาน 2 ลำ เรือสนับสนุน ~15 ลำ (เรือลาดตระเวนหนักและเบา เรือพิฆาต) อากาศยาน 248 ลำ[1]เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 16 ลำ เรือที่ไม่ได้ร่วมรบ: เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 2 ลำ เรือประจัญบาน 5 ลำ เรือสนับสนุน ~41 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ เรือพิฆาต 1 ลำ อากาศยาน 150 ลำ, เสียชีวิต 307 นาย[2] |
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวน 1 ลำ อากาศยาน 248 ลำ เสียชีวิต 3,057 นาย |
ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มเป็นฝ่ายรุกโจมตีกองทัพเรือญี่ปุ่นจนจบสงคราม
อ้างอิง
แก้- ↑ Parshall & Tully, p. 90-91
- ↑ "The Battle of Midway". Office of Naval Intelligence.
- ↑ "Battle of Midway: June 4–7,1942". Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
- ↑ Dull, Paul S. Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-219-9. "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
- ↑ "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- จุดเปลี่ยนในยุทธนาวีมิดเวย์ เก็บถาวร 2014-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ประมวลภาพรวมของประวัติศาสตร์
- เรื่องราวของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์, โดย U.S. Naval Intelligence จากเอกสารที่ยึดได้จากญี่ปุ่น
- วิดิทัศน์ยุทธนาวีมิดเวย์ (1942) – สื่อประชาชวนเชื่อของสหรัฐอเมริกา บันทึโดย จอห์น ฟอร์ด.
- ชัยชนะบนผืนน้ำ: Midway Is East (1952) – ตอนที่ 4 จากจำนวน 26 ตอน นำเสนอเกี่ยวกับการปฏบัติการในสงครามโลกครั้งที่สอง
- The Battle of Midway (1942) ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- จุดเปลี่ยนในยุทธนาวีมิดเวย์ เก็บถาวร 2014-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ประมวลภาพรวมของประวัติศาสตร์ โดย บิลล์ สเปนเซอร์
- ศูนย์ประวัติศาสตร์กองทัพเรือ เก็บถาวร 1999-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "เรื่องราวของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์" – ONI Review – เล่มที่ 2, หมายเลข 5 (พฤษภาคม 1947)