ยุทธการที่มาเร็งโก

ยุทธการที่มาเร็งโก (อังกฤษ: Battle of Marengo) เกิดเมื่อ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1800 ระหว่างกองทัพสาธารณรัฐฝรั่งเศสของกงสุลเอกนโปเลียน โบนาปาร์ต กับกองทัพจักรวรรดิออสเตรีย ในบริเวณใกล้กับมณฑลอะเลสซานเดรีย แคว้นปีเยมอนเต ภาคเหนือของอิตาลี ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะในศึกครั้งนี้ และทำให้ออสเตรียจำยอมถอนอิทธิพลออกจากคาบสมุทรอิตาลี นอกจากนี้ยังช่วยให้อำนาจทางการเมืองของนโปเลียนมีความมั่นคงยิ่งขึ้นในฝรั่งเศส หลังเขาพึ่งก่อรัฐประหารเมื่อแปดเดือนก่อนหน้า นโปเลียนจึงตั้งชื่อม้าเอกของเขาว่ามาเร็งโก

ยุทธการที่มาเร็งโก
ส่วนหนึ่งของ การทัพอิตาลีในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สอง
วันที่14 มิถุนายน ค.ศ. 1800
สถานที่
สปีเน็ตตามาเร็งโก และอะเลสซานเดรีย
44°53′8″N 8°40′39″E / 44.88556°N 8.67750°E / 44.88556; 8.67750
ผล ฝรั่งเศสมีชัย[1][2]
คู่สงคราม
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 นโปเลียน โบนาปาร์ต
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โกลด วิกตอร์-แปแร็ง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 หลุยส์ เดอแซ  
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ฌ็อง ลาน
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ฟร็องซัว แกลแลร์มัน
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค มีชาเอิล ฟอน เมลัส
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค เพเทอร์ โอท
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค อันโทน ฟอน ซัค
กำลัง

เดิมมี :
ทหารราบ 22,000
ปืนใหญ่ 24

หลังได้กองหนุน : 28,000 [3]
ทหารราบ 30,000
ทหารม้า 8,000
ปืนใหญ่ 100
ความสูญเสีย
1,100 ผู้ตาย
3,600 ผู้เจ็บ
900 ผู้เป็นเชลย[4][5]
963 ผู้ตาย
5,518 ผู้เจ็บ
2,912 ผู้เป็นเชลย[4][6]

ภูมิหลัง

แก้

ก่อนยุทธการ นโปเลียนตกใจเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพออสเตรียกำลังมุ่งหน้าตะวันตกสู่เจโนวาในกลางเดือนเมษายน ค.ศ. 1800 นโปเลียนจึงรีบยกทัพจากฝรั่งเศสข้ามเทือกเขาแอลป์ในกลางเดือนพฤษภาคม และถึงมิลานในวันที่ 2 มิถุนายน ซึ่งทางตะวันออกของมิลาน แทบไม่มีหน่วยทหารของออสเตรียเหลืออยู่ นโปเลียนสามารถเดินทัพไปถึงเวียนนา ด้วยเหตุนี้ นายพลเมลัสของออสเตรียซึ่งกำลังปิดทางหนีของนายพลมาเซนาอยู่ที่เจโนวา จึงต้องยอมเดินทัพจากเจโนวาขึ้นมารบกับนโปเลียน ส่งผลให้นายพลมาเซนาสามารถหนีจากเจโนวา

กองทัพน้อยของฌ็อง ลาน ข้ามแม่น้ำโปและเอาชนะนายพลโอทในยุทธการที่มอนเตเบลโลในวันที่ 9 มิถุนายน พวกออสเตรียจึงถูกตัดเส้นทางสื่อสาร กองทัพฝรั่งเศสจึงปิดล้อมพวกออสเตรีย ซึ่งรวมกันอยู่ใกล้เมืองอะเลสซานเดรีย (Alessandria) แต่นโปเลียนดันหลงเชื่อสายลับสองหน้า และแบ่งกำลังเป็นสองกองแยกมุ่งทางเหนือและทางใต้เพื่อปิดกั้นเส้นทางสื่อสารของพวกออสเตรียให้ได้มากที่สุด นายพลลาป็วปคุมกำลังสามพันห้าร้อยนายขึ้นเหนือ นายพลหลุยส์ เดอแซ คุมกำลังหกพันนายลงใต้

การรบ

แก้

14 มิถุนายน กองทัพออสเตรียสามหมื่นนายของนายพลเมลัสเคลื่อนกำลังมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีแม่น้ำโบรมีดากั้นกลางสองทัพ กองทัพออสเตรียตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก กองทัพฝรั่งเศสตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก กองทัพออสเตรียส่งกำลังส่วนหนึ่งข้ามแม่น้ำในเวลาแปดโมงเช้า ทำการจู่โจมฉับพลันต่อกำลังหลักฝรั่งเศสของนายพลแบร์ตีเย ที่หมู่บ้านมาเร็งโก[7] นโปเลียนไม่คาดคิดว่านายพลเมลัสของข้าศึกจะมาที่นี่ด้วยกำลังรบเต็มอัตรา ฝรั่งเศสมีกำลังเป็นรองในทุกแง่ ทั้งจำนวนทหาร และจำนวนปืนใหญ่

กองทัพออสเตรียส่งกำลังเข้าตีปีกของฝรั่งเศส นายพลลานนำกำลังเข้าเสริมปีกขวาของฝรั่งเศสและผลักดันข้าศึกกลับได้ กองทัพออสเตรียจึงส่งกำลังมาเพิ่มขึ้น นโปเลียนเริ่มเข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริงจึงสั่งการในเวลาสิบเอ็ดโมงให้กองแยกของนายพลเดอแซกลับมาหนุน ต่อมา นายพลโอทก็นำกำลังมาหนุนนายพลเมลัสและมุ่งตีปีกขวาของฝรั่งเศส นายพลลานและนายพลแปแร็งจึงถอยแนวรบตามลำดับ

 
การเสียชีวิตของนายพลหลุยส์ เดอแซ

บ่ายสองโมงครึ่ง พวกออสเตรียรุกจนสามารถยึดฟาร์มมาเร็งโก[7] ในตอนนี้ นโปเลียนมาถึงพร้อมกับหน่วยคุ้มกันกงสุล และอุดกำลังรบส่วนที่พร่อง แต่ก็ยังอยู่ในระยะยิงปืนใหญ่ของออสเตรีย ท้ายที่สุด กองทัพฝรั่งเศสร่นถอยสู่ทางตะวันออกอย่างเป็นระเบียบ กองทัพออสเตรียจึงยั้งทัพ นายพลเมลัสกลับไปที่ค่าย และให้นายพลซัคเข้าบัญชาการต่อ นายพลซัคให้กำลังพลพักชั่วคราว พลางวางแผนตามตีฝรั่งเศส แต่ระหว่างนี้เอง กำลังฝรั่งเศสของนายพลเดอแซมาถึงสนามรบในเวลาห้าโมงครึ่ง ทำให้ฝรั่งเศสยกกำลังหลักกลับเข้าสนามรบเดิม

เมื่อนายพลซัคเห็นพวกฝรั่งเศสกลับมา ก็สั่งให้เริ่มบุกโจมตี แต่ก็ถูกต้านด้วยปืนใหญ่ฝรั่งเศส นายพลเดอแซนำกองพลของตนบุกตีพวกออสเตรีย และเสียชีวิตจากการถูกยิง แต่หน่วยของเขายังคงบุกต่อไป กองทัพฝรั่งเศสตีแนวแรกของออสเตรียจนแตก และเข้าปะทะกับกำลังหลักของนายพลซัค ในขั้นนี้ สถานการณ์รบดูจะเสมอ นโปเลียนยืนมองจากหลังแนวรบ แล้วสั่งให้นายพลแกลแลร์มันนำหน่วยทหารม้าเข้าตีปีกซ้ายของออสเตรียทางทิศใต้ อ้อมเข้าหลังทัพออสเตรีย จนสามารถเข้าจับกุมนายพลซัค ด้วยเหตุนี้ กำลังทหารออสเตรียจึงถอยกลับไปฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ในตำแหน่งเดียวกับตอนเช้า ยุทธการที่มาเร็งโกเป็นอันยุติ

ผลสืบเนื่อง

แก้

เนื่องจากนโปเลียนอยากรีบกลับปารีส ในเช้าวันถัดมาจึงมอบหมายให้นายพลหลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย ไปเจรจาความที่ค่ายของออสเตรีย[8] นายพลเมลัสยินยอมเจรจาด้วย ท้ายที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็ทำสัญญากันว่าออสเตรียจะถอนทหารออกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี และยุติปฏิบัติการทางทหารในอิตาลี

อ้างอิง

แก้
  1. Brauer; William E. Wright (1 December 1990). Austria in the Age of the French Revolution: 1789–1815. Berghahn Books. p. 34. ISBN 978-1-57181-374-9. สืบค้นเมื่อ 21 April 2013.
  2. Holger Afflerbach; Hew Strachan (26 July 2012). How Fighting Ends: A History of Surrender. Oxford University Press. p. 215. ISBN 978-0-19-969362-7. สืบค้นเมื่อ 17 April 2013.
  3. Benoît, p. 117
  4. 4.0 4.1 Benoît, p. 122
  5. Chandler, David G.. The Campaigns of Napoleon, New York, 1966, ISBN 0-02-523660-1, p. 296, gives: 25% total casualties.
  6. Chandler, David G.. The Campaigns of Napoleon, New York, 1966, ISBN 0-02-523660-1, p. 296, gives: 15 colours, 40 guns, 8,000 captured and 6,000 killed. Asprey, Robert. The Rise of Napoleon Bonaparte, Basic Books, 2001, ISBN 0-465-04881-1, p. 387, gives: 6,000 killed or wounded and another 6,000 captured; 15 flags, 40 cannon.
  7. 7.0 7.1 Hollins, Encyclopedia, p. 606
  8. Hollins, Encyclopedia, p. 608