ยุคหินกลาง (แอฟริกา)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการเป็นต้น ยุคหินกลาง (อังกฤษ: Middle Stone Age ตัวย่อ MSA) เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแอฟริการะหว่างยุคหินต้น (Early Stone Age) และยุคหินหลัง ๆ (Later Stone Age) โดยทั่วไปพิจารณาว่าเริ่มประมาณ 280,000 ปีก่อนและยุติประมาณ 50,000-25,000 ปีก่อน[1] จุดเริ่มต้นของเครื่องมือหินแบบ MSA อาจเริ่มตั้งแต่ 550,000-500,000 ปีก่อน และดังนั้น นักวิจัยบางคนพิจารณาว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ MSA[2] MSA บ่อยครั้งเข้าใจผิดว่าเท่ากับยุคหินเก่ากลาง (Middle Paleolithic) ของยุโรป เพราะมีระยะเวลาเกือบเหมือนกัน แต่ยุคหินเก่ากลางของยุโรปสัมพันธ์กับสปีชีส์มนุษย์ที่ต่างกัน ซึ่งก็คือ Homo neanderthalensis เปรียบเทียบกับแอฟริกาที่ไม่มีมนุษย์สปีชีส์นี้ในช่วง MSA นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีในแอฟริกายังได้ให้หลักฐานเป็นจำนวนมากที่แสดงว่า พฤติกรรมและลักษณะทางประชานของมนุษย์ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาขึ้นในแอฟริกาช่วง MSA ก่อนกว่าที่พบในยุโรปช่วงยุคหินเก่ากลางอย่างมาก[3] อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า Mesolithic period (12,000-7,000 ปีก่อนในยุโรป และ 22,000-11,500 ปีก่อนในลิแวนต์) ว่า "ยุคหินกลาง"[4] ซึ่งอาจซ้ำกับคำแปลของ Middle Stone Age (280,000-25,000 ปีก่อนในแอฟริกา) ได้เหมือนกัน แต่ให้สังเกตว่าคำแต่ละคำหมายเอาสิ่งที่ต่างกันแทบสิ้นเชิง MSA สัมพันธ์กับทั้งมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern humans) สปีชีส์ Homo sapiens และกับมนุษย์โบราณ (archaic Homo sapiens) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Homo helmei ด้วย[1] หลักฐานที่เป็นรูปธรรมยุคต้น ๆ ของ MSA มาจากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย, หมวดหินแคปธิวริน (Kapthurin Formation) ในประเทศเคนยา และ Kathu Pan ในแอฟริกาใต้[2]

ยุคหินกลาง (แอฟริกา)
Early Stone Age
ก่อนสติลล์เบย์
สติลล์เบย์
Howiesons Poort
post-Howiesons Poort
late
final MSA phases
Later Stone Age
เครื่องมือยุคหินกลางแอฟริกา (MSA) จากถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้

เขตต่าง ๆ ที่พบ

แก้

ก่อนจะกล่าวถึง MSA ในแอฟริกา ก็จำต้องพิจารณาถึงขนาดทวีปอันมหึมาเสียก่อน มีโบราณสถานและหลักฐานต่าง ๆ ที่มาจากเขตต่าง ๆ ข้ามทวีป และเพื่อความเรียบง่าย มักจะแบ่งออกเป็น 5 เขต คือ[5][6]

  1. แอฟริกาเหนือ ซึ่งมักจะพิจารณารวมกับเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ร่วมกับยุโรป บ่อยครั้งกว่ารวมกับแอฟริกาที่เหลือ ซึ่งเป็นเรื่องถกเถียงที่ยังไม่ยุติ
  2. แอฟริกาตะวันออก ซึ่งเริ่มคร่าว ๆ ตั้งแต่ที่ราบสูงของเอธิโอเปียตลอดจนถึงภาคใต้ของเคนยา
  3. แอฟริกากลาง ซึ่งอาจเป็นเขตที่สำรวจน้อยที่สุด เริ่มจากชายแดนของแทนซาเนียและเคนยาแล้วรวมแองโกลา
  4. แอฟริกาใต้ ซึ่งรวมโบราณสถานถ้ำเป็นจำนวนมาก
  5. แอฟริกาตะวันตก

ในแอฟริกาเหนือและตะวันตก ความชุ่มชื้นที่เกิดสลับกับความแห้งแล้งของทะเลทรายสะฮารา ทำให้ได้โบราณสถานต่าง ๆ ที่ให้หลักฐานดีมาก ตามด้วยดินที่พืชไม่สามารถขึ้นได้ (จึงมีหลักฐานน้อย) แล้วตามด้วยหลักฐานของประชากรมนุษย์อีกเมื่อความแห้งแล้งเบาลง การสงวนหลักฐานในเขตสองแห่งนี้จึงสลับกันระหว่างเยี่ยมกับน่าเศร้า แต่หลักฐานที่พบก็ได้แสดงถึงการปรับตัวของมนุษย์ต้น ๆ ให้เข้ากับภูมิอากาศที่ไม่เสถียรได้ มีนักวิจัยที่มองว่าแอฟริกาเหนือต่างจากแอฟริกาที่เหลือ เหมือนกับจะมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมต่างหาก ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างที่ไร้เหตุผลและล้าสมัย[6]

ส่วนแอฟริกาตะวันออกมีหลักฐานที่หาอายุได้น่าเชื่อถือมากที่สุด โดยใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีกับตะกอนที่เป็นเถ้าภูเขาไฟ และมีโบราณสถานยุค MSA อันเก่าแก่ที่สุดส่วนหนึ่ง แต่ซากสัตว์สงวนได้ไม่ค่อยดี และมาตรฐานในการขุดค้นและการจัดหมวดหมู่เครื่องมือหินก็ไม่มีจนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ โดยไม่เหมือนแอฟริกาเหนือ การเปลี่ยนเทคโนโลยีเครื่องมือหินจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่งไม่ชัดเจนเท่า น่าจะเพราะภูมิอากาศดีกว่าซึ่งทำให้มนุษย์สามารถอยู่ในที่เดียวกันอย่างต่อเนื่อง[5][6][7]

แอฟริกากลางจะออกคล้ายแอฟริกาตะวันออก แต่ต้องเพิ่มงานโบราณคดีในเขตนี้ ส่วนแอฟริกาใต้มีโบราณสถานที่เป็นถ้ำจำนวนมาก และโดยมากจะแสดงจุดเริ่มและจุดยุติของเทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบเป็นพัก ๆ อย่างชัดเจน งานวิจัยในเขตนี้ทั้งต่อเนื่องและทำเป็นมาตรฐาน ทำให้เทียบสิ่งที่พบจากที่ต่าง ๆ ในเขตได้อย่างน่าเชื่อถือ หลักฐานโบราณคดีเกี่ยวกับกำเนิดพฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์มักจะมาจากเขตนี้ คือจากโบราณสถานต่าง ๆ รวมทั้งถ้ำบลอมโบส์ (Blombos Cave), Howieson's Poort Shelter, โบราณสถานสติลเบย์ (Stillbay), และแหลมพินนะเคิล (Pinnacle Point)[5][6]

พัฒนาการยุคต้น ๆ

แก้
 
หุบเขาอะวอช (Awash)

กำเนิดวัฒนธรรม MSA โดยมากจะกำหนดโดยการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีหินแบบอะชูเลียน (Acheulian) ไปเป็นแบบ MSA ซึ่งพิจารณาว่าเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เทคโนโลยีมนุษย์ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการเปลี่ยนเช่นนี้จะมีอายุต่าง ๆ กัน โบราณสถาน MSA เก่าแก่ที่สุดอันหาอายุน่าเชื่อถือได้ที่สุดก็คือ Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย ซึ่งเก่าแก่เกิน 276,000 ปีก่อน[8]

หุบเขาอะวอชกลาง (Middle Awash) ในเอธิโอเปีย และหุบเขา Central Rift ในเคนยารวมกันเป็นศูนย์นวัตกรรมทางพฤติกรรมที่สำคัญ[9] อาจเป็นไปได้ว่า เขตเหล่านี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถรับรองประชากรมนุษย์จำนวนพอสมควรที่หากินและผลิตเครื่องมือในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับมนุษย์นักล่า-เก็บของป่าที่พบในสาขาชาติพันธุ์วรรณนา

หลักฐานโบราณคดีจากแอฟริกาตะวันออกเริ่มจาก Rift Valley ในเอธิโอเปียไปจนถึงแทนซาเนียเหนือ เป็นหลักฐานจำนวนมากที่สุดของการเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีอะชูเลียนรุ่นปลายไปเป็นเทคโนโลยีแบบ MSA การเปลี่ยนแปลงเห็นได้จากลำดับชั้นหินที่มีเครื่องมือหินแบบอะชูเลียน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขวานหินสองคม (bifacial handaxe) ที่พบใต้หรือในชั้นหินเดียวกับที่มีเทคโนโลยี MSA รวมทั้งเครื่องมือแบบ Levallois, ชิ้นหินที่ตีออก (flake), เครื่องมือทำจากชิ้นหินที่ตีออก, ชิ้นหินแหลม, ชิ้นหินสองคมเล็กสำหรับอาวุธแบบพุ่ง, และที่มีน้อยมาก ก็คือเครื่องมือใส่ด้าม[6][8] ดังนั้น หลักฐานว่าการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไปจึงมาจากเครื่องมือหิน "ต่างยุค" ที่พบในชั้นหินตามลำดับหรือชั้นเดียวกัน และมาจากการปรากฏแรกสุดของเทคโนโลยี MSA ในโบราณสถาน Gademotta เมื่อ 276,000 ปีก่อน และหลักฐานเทคโนโลยีอะชูเลียนที่ปรากฏหลังสุด ที่หมวดหินบุรี (Bouri Formation) ซึ่งมีอายุระหว่าง 154,000-160,000 ปีก่อน ซึ่งแสดงการเหลื่อมล้ำกันจนอาจถึง 100,000-150,000 ปี[8]

ถ้ำต่าง ๆ ในแอฟริกาใต้ก็ให้ข้อมูลในการเปลี่ยนแปลงที่หาอายุได้อย่างแม่นยำเนื่องจากตะกอนเถ้าภูเขาไฟ โดยพบอายุถ้ำต่าง ๆ ที่ระหว่าง 999,000 - 49,000 ปีก่อน แม้ถ้ำฮารธ์ส (Cave of Hearths) และถ้ำมอนเตกิว (Montague Cave) ในแอฟริกาใต้จะมีหลักฐานเทคโนโลยีทั้งแบบอะชูเลียนและ MSA แต่ก็ไม่มีการเหลื่อมล้ำกันโดยอายุ[6]

เทคโนโลยีหิน

แก้
 
โบราณสถาน Diepkloof Rock Shelter ปี 2552 ในแอฟริกาใต้

ใบมีด (blade) หินต้น ๆ อาจมีอายุถึง 550,000-500,000 ปีโดยพบที่หมวดหินแคปธิวรินในประเทศเคนยา และโบราณสถาน Kathu Pan ในแอฟริกาใต้[2] ส่วนใบมีดมีหลัง (Backed blade) จากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Twin Rivers และ Kalambo Fallsประเทศแซมเบียมีอายุประมาณ 300,000-140,000 ปี ก็ใช้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมใหม่ ๆ บ้าง[2][10] ใบมีดอายุประมาณ 280,000 ปีพบที่หมวดหินแคปธิวริน ก็ปรากฏว่ามีเทคนิคการผลิตระดับสูงเช่นเดียวกัน[11]

เทคโนโลยีหินที่ใช้ระหว่าง MSA มีเทคนิคการผลิตที่ผสมผเส เริ่มที่ประมาณ 300,000 ปีก่อน เครื่องมือที่ใช้ตัดขนาดใหญ่แบบอะชูเลียนก็เปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่ผลิตโดยเทคนิค Levallois ซึ่งนีแอนเดอร์ทาลก็ได้ใช้อย่างกว้างขวางในช่วงยุคหินเก่ากลางของยุโรปด้วย[12] เมื่อยุค MSA ดำเนินต่อไป เทคโนโลยีหินแบบต่าง ๆ ก็สามัญไปทั่วแอฟริการวมทั้งหินแหลม ใบมีด ชิ้นหินที่ตีออกแล้วแต่ง (retouched flake) หินขูดตามปลายหรือตามข้าง (end scraper, side scraper) หินลับมีด และแม้แต่เครื่องมือกระดูก[1][6]

การใช้ใบมีด (ที่พบโดยหลักในยุคหินเก่าปลาย [Upper Palaeolithic] ในยุโรป) ก็ยังพบในที่ต่าง ๆ ด้วย[1] ในแอฟริกา ใบมีดอาจใช้ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนจากเทคโนโลยียุคหินต้น (Early Stone Age) เป็น MSA และหลังจากนั้น[13] ในที่สุด ในช่วงหลัง ๆ ของ MSA อย่างช้าก็ 70,000 ปีก่อน เทคโนโลยีหินไมโคร (microlith) ที่ใช้ผลิตอะไหล่ของเครื่องมือผสมแบบมีด้าม ก็เริ่มปรากฏในโบราณสถานต่าง ๆ เช่น แหลมพินนะเคิล และ Diepkloof Rock Shelter ในแอฟริกาใต้[14][15]

เทคโนยียุค MSA มักจะเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เช่น ลูกประคำที่ทำจากเปลือกหอย[16] หัวลูกศร เครื่องมือทำหนังรวมทั้งเข็ม[17] และกาว[18] ซึ่งเป็นตัวอย่างคัดค้านทฤษฎี "ออกจากแอฟริกา" ฉบับแบบแผน ที่อ้างว่า เทคโนโลยีซับซ้อนจะสะสมขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง MSA แล้วทำให้สามารถอ้างได้ว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเช่นนี้ "ปรากฏ หายไป แล้วก็ปรากฏอีก โดยเข้ากับสถานการณ์ว่า ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางประชาน เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก"[17]

วิวัฒนาการของมนุษย์และการอพยพย้ายถิ่นฐาน

แก้
 
กะโหลกของมนุษย์ Homo erectus ณ พิพิทธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาในรัฐมิชิแกน

มนุษย์ได้อพยพย้ายถิ่นฐานออกจากแอฟริกาสองครั้ง ครั้งแรกเป็นของมนุษย์ H. erectus โดยเข้าไปในยูเรเชียประมาณ 1.9-1.7 ล้านปีก่อน ครั้งสองเป็นของ H. sapiens ที่เริ่มในช่วง MSA ประมาณ 80,000-50,000 ปีก่อน โดยอพยพไปในเอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรป[19][20] ซึ่งอาจเป็นจำนวนน้อยในตอนต้น ๆ แต่โดย 30,000 ปีก่อน ก็ได้แทนที่มนุษย์นีแอนเดอร์ทาล และ H. erectus เกือบทั้งหมด[21] การอพยพแต่ละรอบแสดงถึงความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์สกุล Homo ในการรอดชีวิตในภูมิอากาศที่ต่าง ๆ กันอย่างมาก

งานศึกษาปี 2550 ที่วัดกะโหลกศีรษะมนุษย์เป็นจำนวนมาก สนับสนุนกำเนิดของ Homo sapiens จากแอฟริกากลางหรือใต้ เพราะว่าเป็นเขตที่กลุ่มประชากรมีลักษณะปรากฏทางพันธุกรรมที่มีขนาดต่าง ๆ กันมากที่สุด แม้หลักฐานทางพันธุกรรมก็สนับสนุนข้อสรุปนี้เช่นกัน[21]

แต่ว่า ก็ยังมีหลักฐานทางพันธุกรรมที่แสดงว่า การอพยพออกจากแอฟริกาเริ่มต้นที่ภาคตะวันออก และโบราณสถานต่าง ๆ เช่น Omo Kibish Formation, Herto Member ของ Bouri Formation, และ Mumba Cave ก็มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ซึ่งสนับสนุนข้อสรุปนี้ด้วย[8]

หลักฐานของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน

แก้

มีทฤษฎีจำนวนหนึ่งที่อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ปัจจุบัน แต่เร็ว ๆ นี้ ทฤษฎีแบบผสมก็เป็นมุมมองที่นิยมที่สุดเกี่ยวกับ MSA โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาหลักฐานโบราณคดี[22] แม้จะมีนักวิชาการที่อ้างว่า เป็นเรื่องที่เกิดโดยฉับพลัน[23] แต่ท่านอื่น ๆ ก็อ้างว่า ความก้าวหน้าทางประชานสามารถเห็นได้ตั้งแต่สมัย MSA และกำเนิดสปีชีส์ของเราสัมพันธ์กับการปรากฏของเทคโนโลยี MSA ตั้งแต่ 250,000-300,000 ปีก่อน[1]

ซากศพที่เก่าแก่สุดของ Homo sapiens มีอายุประมาณ 300,000 ปีก่อนในแอฟริกาเหนือ[24] ในบันทึกโบราณคดีของทั้งแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ โบราณสถานต่าง ๆ ของ Homo sapiens แตกต่างกันอย่างมหาศาล และเป็นช่วงเวลานี้แหละที่เห็นหลักฐานกำเนิดของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน

ตามนักวิชาการคู่หนึ่ง มีลักษณะเฉพาะ 4 อย่างของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน คือ ความคิดแบบนามธรรม ความสามารถในการวางแผนและกลยุทธ์ "ความสามารถในการสร้างอะไรใหม่ ๆ ทางพฤติกรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี" และพฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์[1] โดยด้านต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้งศิลปะ การตกแต่งตัว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นต้น แต่หมวดหมู่หลัก 4 อย่างที่เหลื่อมล้ำกันอย่างสำคัญเหล่านี้ ก็พอให้สามารถคุยกันเรื่องการเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบันอย่างละเอียดแล้ว

วัฒนธรรมต่าง ๆ

แก้
 
เครื่องมือหินวัฒนธรรมอะทีเรียน (Aterian)

เมื่อ Homo sapiens ต้น ๆ เริ่มอยู่ในเขตนิเวศที่หลากหลายในช่วง MSA บันทึกโบราณคดีที่สัมพันธ์เกับเขตเหล่านี้ก็เริ่มแสดงหลักฐานของความสืบต่อกันทางวัฒนธรรมในเขตภูมิภาค ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะเหตุผลต่าง ๆ

การขยายถิ่นฐานของ Homo sapiens เข้าไปในเขตนิเวศต่าง ๆ แสดงความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายรวมทั้งชายทะเล ทุ่งหญ้าสะวันนา ทะเลทรายที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และป่า การปรับตัวได้เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นในสิ่งประดิษฐ์แบบ MSA จากเขตเหล่านี้ เป็นสิ่งประดิษฐ์สไตล์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในเขตไหน เทียบกับวัฒนธรรมอะชูเลียนระหว่าง 1.5 ล้านปีจนถึง 3 แสนปีก่อน ที่เทคโนโลยีหินเหมือนกันอย่างไม่น่าเชื่อในเขตนิเวศทุก ๆ แห่ง และเพราะเทคโนโลยี MSA มีทั้งความแตกต่างและความสืบต่อกันเฉพาะเขต ๆ จึงเป็นความก้าวหน้าที่น่าทึ่งใจ[1][7][8] ข้อมูลเช่นนี้ใช้สนับสนุนทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมและทางศิลป์ที่เกิดตลอดช่วง MSA[25]

ในแอฟริกาใต้ นักวิชาการก็ได้พบเทคโนโลยีแบบ Howiesons Poort และสติลเบย์ โดยมีชื่อตามโบราณสถานที่ค้นพบเป็นครั้งแรก มีเทคโนโลยีแบบอื่น ๆ อีกที่ยังไม่ได้หาอายุ หรือหาอายุได้อย่างไม่น่าเชื่อถือ รวมทั้งแบบ Lupemban ในแอฟริกากลาง, แบบ Bambatan ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (อายุ 70,000-80,000 ปี), แบบอะทีเรียน (Aterian) ในแอฟริกาเหนือ (อายุ 160,000-90,000 ปี)[1][22]

การคิดเป็นนามธรรม

แก้

หลักฐานการคิดเป็นนามธรรมได้พบในบันทึกโบราณคดีเริ่มตั้งแต่ยุคเปลี่ยนจากวัฒนธรรมอะชูเลียนไปเป็น MSA ประมาณ 300,000-250,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีหินแบบ Mode 2 ซึ่งก็คือเครื่องมืออะชูเลียน ไปเป็น Mode 3 และ 4 ซึ่งรวมทั้งใบมีดและเทคโนโลยีหินไมโคร การผลิตเครื่องมือเหล่านี้ต้องวางแผนและเข้าใจว่า การตีหินจะให้ผลเป็นชิ้นหินในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไร[26] ซึ่งต้องใช้การคิดเป็นนามธรรม อันเป็นคุณสมบัติหลักอย่างหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน[1] การเปลี่ยนจากการใช้เครื่องมือตัดขนาดใหญ่ของวัฒนธรรมอะชูเลียน ไปเป็นชุดเครื่องมือที่เล็กกว่าและหลากหลายมากกว่าของ MSA หมายถึงความเข้าใจทางประชานและทางมโนทัศน์ที่ดีขึ้น ในเรื่องการตีหินและผลประโยชน์ที่อาจได้จากเครื่องมือแบบต่าง ๆ

ความลึกซึ้งในการวางแผน

แก้

โดยคล้ายกับการคิดเป็นนามธรรม สมรรถภาพในการวางแผนและกลยุทธ์ สามารถเห็นได้จากชุดเครื่องมือที่ต่าง ๆ กันมากกว่าของ MSA ตลอดจนรูปแบบการหากินที่พบในช่วงเวลานั้น เมื่อมนุษย์ยุค MSA เริ่มอพยพไปยังเขตนิเวศต่าง ๆ การมีกลยุทธ์ล่าสัตว์เป็นฤดู ๆ ก็กลายเป็นเรื่องจำเป็น ความสำนึกถึงฤดูจะเห็นได้ชัดในซากสัตว์ที่พบในค่ายพักชั่วคราว

ในเขตนิเวศที่อันตรายกว่า ความสำนึกนี้จำเป็นต่อการอยู่รอด และสมรรถภาพในการวางแผนกลยุทธ์หากินที่อาศัยความสำนึกนี้ แสดงถึงความสามารถในการคิดนอกเหนือจากแค่ปัจจุบันแล้วดำเนินการตามความเข้าใจ[1] ความลึกซึ้งในการวางแผนยังเห็นได้จากการมีวัสดุดิบใหม่ ๆ ตามโบราณสถาน MSA ต่าง ๆ การหาวัตถุดิบใกล้ ๆ ทำได้ง่าย แต่โบราณสถาน MSA มักจะมีวัตถุดิบที่ได้มาจากที่ ๆ ไกลถึง 100 กม. และบางครั้งไกลกว่า 300 กม.[6] การหาวัตถุดิบจากที่ไกล ๆ เช่นนี้จำเป็นต้องรู้เรื่องทรัพยากรนั้น ๆ รู้คุณค่าของทรัพยากรไม่ว่าจะเพื่อใช้งานหรือคุณค่าทางสัญลักษณ์ และอาจต้องสามารถบริหารเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้วัสดุที่ต้องการได้[1][6]

นวัตกรรม

แก้

การอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ทั่วแอฟริกา และในที่สุด ทั่วโลก แสดงระดับความสามารถในการปรับตัว และดังนั้น จึงแสดงสมรรถภาพในการสร้างอะไรใหม่ ๆ ที่บ่อยครั้งพิจารณาว่าเป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมปัจจุบัน[1] และนี่ก็ไม่ใช่หลักฐานการทำอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างเดียวที่เห็นใน Homo sapiens ต้น ๆ

มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่เหมาะกับเขตภูมิภาค เช่นที่ใช้เก็บทรัพยากรทางทะเลดังที่เห็นในโบราณสถาน Abdur เอธิโอเปีย, ถ้ำที่แหลมพินนะเคิล แอฟริกาใต้ และถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้[1][5] การใช้ไฟก็แสดงการทำอะไรได้ใหม่ ๆ ด้วย เช่นเมื่อใช้สร้างเครื่องมือหินที่แข็งแรงกว่า เช่น ซิลเครตเผาไฟที่พบที่ถ้ำบลอมโบส์, Howiesons Poort, และสติลเบย์[5][15] และเครื่องมือกระดูกเผาไฟจากสติลเบย์[22]

เครื่องมือติดด้าม/เครื่องมือผสม ยังแสดงสมรรถภาพการทำอะไรใหม่ ๆ ของมนุษย์ด้วย เครื่องมือสำหรับตัดขนาดใหญ่ในวัฒนธรรมอะชูเลียนได้เปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่เล็กและซับซ้อนกว่า ซึ่งเหมาะกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กันมากกว่า เป็นตัวแสดงระดับการทำอะไรใหม่ ๆ เนื่องจากมีประสิทธิภาพและการผลิตที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สมรรถภาพในการคิดเกินการตีหินชิ้นเล็กออกจากหินก้อนใหญ่ แสดงความยืดหยุ่นได้ทางประชาน และการใช้กาว ซึ่งบ่อยครั้งมีองค์ประกอบเป็นดินสี (ochre) เพื่อติดชิ้นหินกับด้าม แสดงความเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีประโยชน์นอกเหนือจากการเป็นสี[5] โดยเริ่มใช้ติดด้ามประมาณ 95,000 ปีก่อนที่ถ้ำซิบูดู (Sibudu Cave) ในแอฟริกาใต้[1][5]

พฤติกรรมสัญลักษณ์

แก้
 
ภาพสัญลักษณ์สัตว์บนแผ่นหินจาก MSA (27,000 ปีก่อน) ของโบราณสถาน Apollo 11 Cave นามิเบีย

พฤติกรรมสัญลักษณ์ (symbolic behavior) เป็นลักษณะทางพฤติกรรมของมนุษย์ปัจจุบันที่แยกแยะได้ยากที่สุดตามหลักฐานโบราณคดี เมื่อหาหลักฐานของพฤติกรรมสัญลักษณ์ช่วง MSA มีหลักฐานสามแบบที่สามารถพิจารณาได้ คือ

  1. หลักฐานโดยตรงที่แสดงการใช้สัญลักษณ์อย่างเป็นรูปธรรม
  2. หลักฐานโดยอ้อมที่แสดงพฤติกรรมที่ใช้เพื่อสื่อความคิดแนวสัญลักษณ์
  3. หลักฐานทางเทคโนโลยีที่แสดงเครื่องมือพร้อมกับทักษะที่ใช้สร้างศิลปะ

หลักฐานโดยตรงก่อน 40,000 ปีก่อนหาได้ยาก หลักฐานโดยอ้อมก็เป็นเรื่องทางนามธรรม และดังนั้น หลักฐานทางเทคโนโลยีจึงดีที่สุดในบรรดาทั้ง 3 อย่าง[6]

ปัจจุบัน มีมติร่วมกันในบรรดานักโบราณคดีว่า ศิลปะและวัฒนธรรมสัญลักษณ์แรกของโลกมาจากแอฟริกาใต้สมัย MSA วัตถุที่โดดเด่นมากที่สุด รวมทั้งดินสีแท่งสีแดงที่สลักลาย ผลิตขึ้นที่ถ้ำบลอมโบส์ในแอฟริกาใต้ 70,000 ปีก่อน ลูกประคำที่ทำจากเปลือกหอยฝาเดียวสกุล Nassarius โดยเจาะรูแล้วระบายสีดิน ก็พบด้วยที่ถ้ำ โดยมีตัวอย่างที่เก่าแก่ยิ่งกว่านั้นจากวัฒนธรรมอะทีเรียนช่วง MSA ที่ Taforalt Caves ส่วนหัวลูกศรและเครื่องมือทำหนังก็พบที่ถ้ำซิบูดู[17] ตลอดจนหลักฐานการทำอาวุธด้วยกาวผสมที่เผาไฟ[18]

ระบบประชานที่ซับซ้อน

แก้

มีหลักฐานของนวัตกรรมเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ 170,000-160,000 ปีก่อนที่ตำแหน่งแหลมพินนะเคิล 13B ติดชายฝั่งทิศใต้ของแอฟริกาใต้[27] ซึ่งรวมหลักฐานเก่าแก่ที่สุดอันยืนยันแล้วของการใช้ดินสีและทรัพยากรทะเลคือการทานหอยเป็นอาหาร

อาศัยการวิเคราะห์กลุ่มชีวินวัวและควาย (bovid assemblage) พบที่ Klasies River Caves แอฟริกาใต้[28] นักวิจัยได้รายงานว่า มนุษย์สมัย MSA เป็นนักล่าที่น่าเกรงขาม และรูปแบบพฤติกรรมทางสังคมของพวกเขาใกล้กับมนุษย์ปัจจุบัน

นักวิชาการอีกท่านหนึ่งดำรงว่า การจัดการทรัพยากรอาหารที่เป็นพืชโดยการตั้งใจเผาทุ่งหญ้าเพื่อให้โอกาสพืชที่มีหัวแบบเผือก (corm) หรือหัวแบบมันฝรั่ง (tuber) ในแอฟริกาใต้ช่วงวัฒนธรรม Howiesons Poort (ประมาณ 70,000-55,000 ปีก่อน) เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน[29] และว่า การหากินแบบเป็นครอบครัว การใช้สัญลักษณ์สี การแลกเปลี่ยนสิ่งที่ทำขึ้น และการจัดระเบียบที่อยู่ ล้วนแต่เป็นหลักฐานการมีพฤติกรรมปัจจุบันในช่วง MSA

นักวิชาการท่านอื่น ๆ เสนอว่า ทักษะซับซ้อนที่จำเป็นเพื่อใช้กาวผสมเผาไฟติดด้ามอาวุธดูเหมือนจะแสดงความสืบต่อกันระหว่างระบบประชานของมนุษย์ปัจจุบันจากของมนุษย์เมื่อ 70,000 ปีก่อนที่ถ้ำซิบูดู[18][30]

หลักฐานการใช้ภาษา

แก้

โบราณสถานสมัย MSA ต้น ๆ ปรากฏว่ามีดินสี ยกตัวอย่างเช่นที่หมวดหินแคปธิวริน และ Twin Rivers โดยกลายเป็นสิ่งสามัญหลังจาก 100,000 ปีก่อน[31] มีนักวิชาการที่อ้างว่า แม้ถ้าบางส่วนของสีดินนี้ใช้ในงานสัญลักษณ์เกี่ยวกับสี การคิดเป็นนามธรรมเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้โดยไร้ภาษา เขาจึงเสนอว่า ดินสี (ochre) สามารถใช้เป็นตัวแทนเพื่อสืบหากำเนิดภาษา[32]

นักโบราณคดีบ่อยครั้งสัมพันธ์การใช้เครื่องมือกระดูกกับพฤติกรรมปัจจุบัน[33] ดังนั้น ฉมวกกระดูกซับซ้อนซึ่งผลิตที่ Katanda แอฟริกาตะวันตกประมาณ 90,000 ปีก่อน[34][35] และเครื่องมือกระดูกอายุประมาณ 77,000 ปีก่อนจากถ้ำบลอมโบส์[33] ก็อาจใช้เป็นตัวอย่างวัตถุในวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการใช้ภาษารูปแบบเดียวกับภาษาปัจจุบัน

มีการเสนอว่า ภาษาเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อดำรงเครือข่ายการแลกเปลี่ยน งานวิจัยปี 2546 แสดงหลักฐานว่ามีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนในช่วง MSA คืองานได้เปรียบเทียบระยะทางของโบราณสถานที่วัสดุปรากฏกับแหล่งวัสดุ[36] โบราณสถาน MSA 5 แห่งมีวัสดุจากแหล่งที่ห่างถึง 140-340 กม. ซึ่งตีความเทียบกับข้อมูลทางชาติพันธุ์วรรณนาว่า ระยะห่างเช่นนี้จะเป็นไปได้ก็เพราะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนวัสดุ[36]

นักวิชาการคนหนึ่งมองว่า ภาษาที่ประกอบด้วยวากยสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์สมัย MSA ตั้งถิ่นฐานในป่าดิบชื้นที่ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้[37]

นักวิชาการหลายคนคาดว่า เหตุของการปรากฏวัสดุสัญลักษณ์จำนวนมากอย่างฉับพลัน ก็คือพัฒนาการพร้อม ๆ กันของภาษาที่ประกอบด้วยวากยสัมพันธ์ อันวิวัฒนาการผ่านระบบการเรียนรู้ทางสังคมแบบเฉพาะเจาะจง[38] และช่วยอำนวยการสื่อสารที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่สถานที่และเวลา[39] วากยสัมพันธ์จะมีบทบาทกุญแจสำคัญในกระบวนการนี้ และสมรรถภาพในการใช้มันอย่างสมบูรณ์อาจเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของพฤติกรรมสัญลักษณ์ที่ปรากฏใน MSA[40]

ความเปลี่ยนแปลงทางสมอง

แก้

แม้ว่ากำเนิดของลักษณะทางกายวิภาคปัจจุบันจะไม่สามารถเชื่อมกับการเปลี่ยนแปลงทางประสาทในยุคดึกดำบรรพ์ได้อย่างมั่นใจ[41] แต่ก็ดูจะเป็นไปได้ว่า สมองมนุษย์ได้วิวัฒนาการผ่านกระบวนการคัดเลือกเดียวกันกับของอวัยวะส่วนอื่น ๆ[42]

 
โบราณสถานแหลมพินนะเคิล แอฟริกาใต้

ยีนที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางสัญลักษณ์อาจได้การคัดเลือก ซึ่งก็จะแสดงว่า มูลฐานของวัฒนธรรมสัญลักษณ์อาจมาจากกระบวนการทางชีววิทยา แต่ว่า พฤติกรรมที่สัญลักษณ์อำนวยอาจตามมาทีหลัง แม้ว่าสมรรถภาพทางกายจะมีก่อนตั้งนาน ยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า การเพิ่มขนาดสมองส่วน prefrontal cortex จะทำให้สามารถใช้สัญลักษณ์ในการคิดอย่างที่ไม่สามารถมาก่อน และกระบวนการนี้ ซึ่งตอนแรกเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ก็เร่งเร็วเพิ่มขึ้น ๆ ในช่วง 100,000 ปีที่ผ่านมา[43]

พฤติกรรมที่สัญลักษณ์อำนวยก็อาจป้อนกลับไปยังกระบวนการนี้ โดยเพิ่มสมรรถภาพการสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางสัญลักษณ์และเครือข่ายทางสังคม ตามกลุ่มนักวิจัยที่โบราณสถาน Jebel Irhoud การค้นพบเช่นนี้แสดงว่า Homo sapiens เอง ไม่ใช่สมาชิกมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ หรือบรรพบุรุษ (เช่น Homo heidelbergensis, Homo naledi) เป็นสปีชีส์ที่ได้ทิ้งเครื่องมือแบบ MSA ให้ขุดพบได้ทั่วแอฟริกา[44]

โบราณสถาน

แก้

โบราณสถานจำนวนมากในแอฟริกาใต้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์ 4 อย่างดังที่กล่าวแล้ว ถ้ำบลอมโบส์มีเครื่องประดับตัว สิ่งที่คิดว่าเป็นเครื่องมือสร้างภาพศิลป์ ตลอดจนเครื่องมือกระดูก[22] สติลเบย์ และ Howieson's Poort มีเทคโนโลยีเครื่องมือที่หลายหลาก[45] กลุ่มเครื่องมือต่าง ๆ จากช่วงเดียวกันเช่นนี้ ช่วยให้นักวิจัยประมาณค่านอกช่วงซึ่งพฤติกรรมที่น่าจะสัมพันธ์กับเทคโนโลยี เช่นการเปลี่ยนการหาอาหาร ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนจากพรรณสัตว์ที่พบในโบราณสถานเหล่านี้ รวมทั้ง

  • ถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้
  • Klasies River Caves, แอฟริกาใต้
  • ถ้ำซิบูดู แอฟริกาใต้
  • Diepkloof Rock Shelter, แอฟริกาใต้
  • แหลมพินนะเคิล แอฟริกาใต้
  • ถ้ำมัมบา แทนซาเนีย
  • หมู่ถ้ำมัมบ์วา แซมเบีย

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 McBrearty, Sally; Brooks, Alison A. (2000). "The revolution that wasn't: A new interpretation of the origin of modern human behaviour". Journal of Human Evolution. 39: 453–563. doi:10.1006/jhev.2000.0435. PMID 11102266.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Herries, A.I.R. (2011). "A chronological perspective on the Acheulian and its transition to the Middle Stone Age in southern Africa: the question of the Fauresmith". International Journal of Evolutionary Biology. 2011: 1–25. doi:10.4061/2011/961401.
  3. D'Errico, Francesco; Banks, William E. (2013). "Identifying Mechanisms behind Middle Paleolithic and Middle Stone Age Cultural Trajectories". Current Anthropology. 54 (8): 371–387. doi:10.1086/673388.
  4. "Mesolithic period", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (ภูมิศาสตร์) ยุคหินกลาง
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Lombard, Marlize (2012). "Thinking through the Middle Stone Age of sub-Saharan Africa". Quaternary International. 270: 140–155. doi:10.1016/j.quaint.2012.02.033.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 Marean, Curtis W; Assefa, Zelalem (2004). The Middle and Upper Pleistocene African Record for the Biological and Behavioral Origins of Modern Humans. African Archaeology: A Critical Introduction. New Jersey: Wiley-Blackwell. pp. 93–129. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Ambrose, Stanley H (2001). "Paleolithic Technology and Human Evolution". Science. 291: 1748–1753. doi:10.1126/science.1059487. PMID 11249821.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Tryon, Christopher A.; Faith, Tyler (2013). "Variability in the Middle Stone Age of Eastern Africa". Current Anthropology. 54 (8): 234–254. doi:10.1086/673752.
  9. Brooks, A. S. (2006). Recent perspectives on the Middle Stone Age of Africa. African Genesis Symposium on Hominid Evolution in Africa. Johannesburg.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Barham, Lawrence (2002). "Backed tools in Middle Pleistocene central Africa and their evolutionary significance". Journal of Human Evolution. 43: 585–603. doi:10.1006/jhev.2002.0597.
  11. Deino, Alan L.; McBrearty, Sally (2002). "40Ar/(39)Ar dating of the Kapthurin Formation, Baringo, Kenya". Journal of Human Evolution. 42 (1–2): 185–210. doi:10.1006/jhev.2001.0517. PMID 11795974.
  12. Shea, John (2011). "Homo sapiens is as Homo sapiens was". Current Anthropology. 52: 1–35. doi:10.1086/658067.
  13. Porat, Naomi; Chazan, Michael; Grün, Rainer; Aubert, Maxime; Eisenman, Vera; Kolska Horwitz, Liora (2010). "New radiometric ages for the Fauresmith industry from Kathu Pan, southern Africa: Implications for the Earlier to Middle Stone Age transition". Journal of Archaeological Science. 37: 269–283. doi:10.1016/j.jas.2009.09.038.
  14. Rigaud, Jean-Phillipe; Texier, Pierre-Jean; Parkington, John; Poggenpoel, Cedric (2006). "Le mobilier Stillbay et Howiesons Poort de l'abri Diepkloof: La chronologie du Middle Stone Age sud-africain et ses implications". Comptes Rendus Palevol. 5 (6): 839–849. doi:10.1016/j.crpv.2006.02.003.
  15. 15.0 15.1 Brown, Kyle S.; Marean, Curtis W.; Jacobs, Zenobia; Schoville, Benjamin J.; Oestmo, Simen; Fisher, Erich C.; Bernatchez, Jocelyn; Karkanas, Panagiotis; Matthews, Thalassa (2012). "An early and enduring advanced technology originating 71,000 years ago in South Africa". Nature. 491: 590–593. doi:10.1038/nature11660. PMID 23135405.
  16. D'Errico, Francesco; Vanhaeren, Marian; Wadley, Lyn (2008). "Possible shell beads from the Middle Stone Age layers of Sibudu Cave, South Africa". Journal of Archaeological Science. 35 (10): 2675–2685. doi:10.1016/j.jas.2008.04.023.
  17. 17.0 17.1 17.2 Backwell, L; d'Errico, F; Wadley, L (2008). "Middle Stone Age bone tools from the Howiesons Poort layers, Sibudu Cave, South Africa". Journal of Archaeological Science. 35: 1566–1580. doi:10.1016/j.jas.2007.11.006.
  18. 18.0 18.1 18.2 Wadley, L; Hodgskiss, T; Grant, M (2009). "Implications for complex cognition from the hafting of tools with compound adhesives in the Middle Stone Age, South Africa". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106: 9590–9594. doi:10.1073/pnas.0900957106. PMC 2700998. PMID 19433786.
  19. Anton, Susan C.; Potts, Richard; Aeillo, Leslie C. (2014). "Evolution of early Homo: An integrated biological perspective". Science. 345: 45–59. doi:10.1126/science.1236828.
  20. Mellers, Paul (2006). "A new radiocarbon revolution and the dispersal of modern humans in Eurasia". Nature. 439: 931–935. doi:10.1038/nature04521. PMID 16495989.
  21. 21.0 21.1 Manica, Andrea; Amos, William; Balloux, Francois; Hanihara, Tsunehiko (2007). "The effect of ancient population bottlenecks on human phenotypic variation". Nature. 448: 346–348. doi:10.1038/nature05951. PMC 1978547. PMID 17637668.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Henshilwood, Christopher S.; d'Errico, Francesco; Marean, Curtis W.; Milo, Richard G.; Yates, Royden (2001). "An early bone tool industry from the Middle Stone Age at Blombos Cave, South Africa: implications for the origins of modern human behaviour, symbolism and language". Journal of Human Evolution. 41: 631–678. doi:10.1006/jhev.2001.0515. PMID 11782112.
  23. Klein, R. G. (2000). "Archaeology and the evolution of human behavior". Evolutionary Anthropology. 9: 17–36. doi:10.1002/(sici)1520-6505(2000)9:1<17::aid-evan3>3.0.co;2-a.
  24. ในงานปี 2560 การหาอายุของเครื่องมือหินในชั้นตะกอนเดียวกับซากดึกดำบรรพ์มนุษย์ Homo sapiens ที่เก่าแก่ที่สุด ณ โบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก ได้ใช้เทคนิค thermoluminescence ซึ่งสามารถหาเวลาที่ผ่านไปหลังจากเผาแร่ผลึกในเครื่องมือหินเป็นครั้งสุดท้าย โดยได้อายุต่าง ๆ 14 รายการ (ดู "World's oldest Homo sapiens fossils found in Morocco". Science Magazine. 2017-06-07.) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ 315,000 ± 34,000 ปี (ดู doi:10.1038/nature22335
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Abstract) เทียบกับอายุราว 195,000 ปีของซาก Omo remains โดยเพิ่มอายุเก่าแก่ที่สุดของซากมนุษย์ที่เคยขุดพบราว 100,000 ปี จาก 200,000 ปี เป็น 300,000 ปี ดู
  25. Hogsberg, Anders; Larsson, Lars (2011). "Lithic technology and behavioural modernity: New results from the Still Bay site, Hollow Rock Shelter, Western Cape Province, South Africa". Journal of Human Evolution. 61: 133–155. doi:10.1016/j.jhevol.2011.02.006. PMID 21470660.
  26. Lombard, Marlize (2012). "Thinking through the Middle Stone Age of sub-Saharan Africa". Quaternary International. 270: 140–155. doi:10.1016/j.quaint.2012.02.033.
  27. Marean, Curtis W.; Bar-Matthews, Miryam; Bernatchez, Jocelyn; Fisher, Erich; Goldberg, Paul; Herries, Andy I. R.; Jacobs, Zenobia; Jerardino, Antonieta; Karkanas, Panagiotis; Minichillo, Tom; Nilssen, Peter J.; Thompson, Erin; Watts, Ian; Williams, Hope M. (2007). "Early human use of marine resources and pigment in South Africa during the Middle Pleistocene". Nature. 449: 905–908. doi:10.1038/nature06204. PMID 17943129.
  28. Milo, R. G. (1998). "Evidence for hominid predation at Klasies River Mouth, South Africa, and its implications for the behavior of early modern humans". Journal of Archaeological Science. 25: 99–133. doi:10.1006/jasc.1997.0233.
  29. Deacon, H. J. (2001). Modern human emergence: an African archaeological perspective. Humanity from African Naissance to Coming Millennia: Colloquia in Human Biology and Palaeoanthropology. Florence: Florence University Press. pp. 217–226. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. Wynn, Thomas (2009). "Hafted spears and the archaeology of mind". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106 (24): 9544–9545. doi:10.1073/pnas.0904369106. PMC 2701010. PMID 19506246.
  31. Watts, I (2002). "Ochre in the Middle Stone Age of southern Africa: ritualized display or hide preservative?". South African Archaeological Bulletin. 57: 64–74.
  32. Barham, L. S. (2002). "Systematic pigment use in the Middle Pleistocene of south central Africa". Current Anthropology. 43 (1): 181–190. doi:10.1086/338292.
  33. 33.0 33.1 Henshilwood, C. S.; d'Errico, F.; Marean, C.; Milo, R.; Yates, R. (2001). "An early bone tool industry from the Middle Stone Age at Blombos Cave, South Africa: implications for the origins of modern human behaviour, symbolism and language". Journal of Human Evolution. 41: 631–678. doi:10.1006/jhev.2001.0515. PMID 11782112.
  34. Yellen, J.E.; Brooks, A.S.; Cornelissen, E.; Mehlman, M.J.; Stewart, K. (1995). "A Middle Stone Age worked bone industry from Katanda, Upper Semliki Valley, Zaire". Science. 268: 553–556. doi:10.1126/science.7725100. PMID 7725100.
  35. Brooks, A.S.; Helgren, D.M.; Cramer, J.S.; Franklin, A.; Hornyak, W.; Keating, J.M.; Klein, R.G.; Rink, W.J.; Schwarcz, H.; Smith, J.N.L.; Stewart, K.; Todd, N.E.; Verniers, J.; Yellen, J.E. (1995). "Dating and Context of Three Middle Stone Age Sites with Bone Points in the Upper Semliki Valley, Zaire". Science. 268: 548–553. doi:10.1126/science.7725099.
  36. 36.0 36.1 Marwick, Ben (2003). "Pleistocene Exchange Networks as Evidence for the Evolution of Language". Cambridge Archaeological Journal. 13 (1): 67–81. doi:10.1017/s0959774303000040.
  37. Barham, Lawrence (2001). Central Africa and the emergence of regional identity in the Middle Pleistocene. Human Roots: Africa and Asia in the Middle Pleistocene. Bristol: Western Academic and Specialist Press. pp. 65–80. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Richerson, P.; Boyd, R. (1998). The Pleistocene and the origins of human culture: built for speed. 5th Biannual Symposium on the Science of Behaviour: Behaviour, Evolution and Culture. University of Guadalajara, Mexico.{{cite conference}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. Rappaport, R. A. (1999). Ritual and Religion in the Making of Humanity. Cambridge: Cambridge University Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. Bickerton, D (2003). Symbol and structure: A comprehensive framework for language evolution. Language Evolution. Oxford: Oxford University Press. pp. 77–93. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  41. Holloway, R.L. (1996). Evolution of the human brain. Handbook of Human Symbolic Evolution. New York: Oxford University Press. pp. 74–116. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. Gabora, L (2001). Cognitive mechanisms underlying the origin and evolution of culture (PHD). Brussels, Belgium: Center Leo Apostel For interdisciplinary Studies, Vrije Universiteit Brussels.{{cite thesis}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  43. Skoyles, JR; Sagan, D (2002). Up from Dragons: The evolution of intelligence. McGraw-Hill.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. "Moroccan fossil find rearranges Homo sapiens family tree". phys.org. 2017-06-08.
  45. Henshilwood, Christopher S.; Dubreuil, Benoit (2011). "The Still Bay and Howiesons Poort, 77-59 ka: Symbolic Material Culture and the Evolution of the Mind during the African Middle Stone Age". Current Anthropology. 52: 361–400. doi:10.1086/660022.