ยงยุทธ เทพจำนงค์
พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2484) อดีตหัวหน้าพรรคประชานิยม[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ยงยุทธ เทพจำนงค์ | |
---|---|
หัวหน้าพรรคประชานิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2484 |
พรรคการเมือง | ประชานิยม (2561–2563) พลังประชารัฐ (2563–2565, 2565–ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทย (2565) |
ประวัติ
แก้ยงยุทธ เทพจำนงค์ เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2484 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต) รุ่นที่ 16[2] พล.ต.อ.ยงยุทธ เป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมกับ เสนาะ เทียนทอง[3] พลตำรวจเอกยงยุทธมีบุตรชายคือ พลตำรวจตรียิ่งยศ เทพจำนงค์ อดีตโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การทำงาน
แก้ยงยุทธ เทพจำนงค์ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจและเข้ารับราชการในสังกัดกรมตำรวจได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2506 รุ่นเดียวกับพลตำรวจโทสมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและมือปราบตี๋ใหญ่[4] จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดก่อนเกษียณอายุราชการ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อมาในปี 2561 ได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "พรรคประชานิยม"[5][6][7] โดยพรรคประชานิยมได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวพรรคอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ซึ่งในระยะแรกถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่เป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย และ พล.ต.อ.ยงยุทธ รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พล.ต.อ.ยงยุทธ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 รวมทั้งได้รับการเสนอในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในปี 2563 เขาจึงประกาศยุบพรรคประชานิยมและย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ [8] ต่อมาถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ และย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย ร่วมกับร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า แต่ในที่สุดก็ย้ายกลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐตามเดิม[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชานิยม
- ↑ เช็กชื่อ บิ๊กเนม-โนเนมสีกากี ลงชิงเก้าอี้ ส.ส.เลือกตั้ง 2562
- ↑ เปิดตัวหัวหน้าชุดสลายกองทัพธรรม สายตรง “วังน้ำเย็น”-“ประชา พรหมนอก”
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 35)
- ↑ ‘พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์’ ชูพรรคประชานิยมสู้เลือกตั้ง
- ↑ จดพรรคใหม่คึก มารอเช้ามืด
- ↑ กกต.รับรอง'พลังประชารัฐ'เป็นพรรคการเมืองแล้ว
- ↑ พปชร.ถกโผครม. พร้อมเปิดตัว'พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์'
- ↑ “บุญสิงห์-ยงยุทธ์” หวนซบ พปชร. จ่อเปิดตัวเข้าพรรคพร้อม “อันวาร์” 20 ธ.ค.นี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๔๗, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑