โครงการหลวง
โครงการหลวง (อังกฤษ: Royal project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยในระยะแรกมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง
ประเภท | องค์การนอกภาครัฐ |
---|---|
อุตสาหกรรม | การส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2512, ประเทศไทย |
สำนักงานใหญ่ | 910 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
บุคลากรหลัก | จรัลธาดา กรรณสูต, ประธานกรรมการมูลนิธิ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์มูลนิธิโครงการหลวง |
มูลนิธิโครงการหลวง เป็นมูลนิธิที่รวบรวมข้อริเริ่มและงานวิจัยเพื่อการกุศล[1] ความสนใจของมูลนิธิคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวเขา[1][2][3] เป้าหมายตามกันคือลดการปลูกฝิ่นและการฟื้นฟูป่าและทรัพยากรน้ำ ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอันดับต้น ๆ ในการกำจัดการปลูกฝิ่น และได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ด้านความเข้าใจระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2531[4]
ในระยะแรก เป็นโครงการอาสาสมัคร โดยมีอาสาสมัคร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกองทัพอากาศ เข้ามาปฏิบัติงาน
ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน และตาก มีสถานีวิจัยหลัก 4 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 35 ศูนย์ โดยศูนย์พัฒนาโครงการหลวงล่าสุด คือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก
ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผลิตผลจากผัก ผลไม้ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง ไข่ปลาคาเวียร์ และผลิตภัณฑ์แปรรูป รวมทั้งกาแฟ ในชื่อการค้า "โครงการหลวง"
ปัจจุบันมี จรัลธาดา กรรณสูต เป็นประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[5] และพลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ เป็นเลขาธิการมูลนิธิ และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง
วัตถุประสงค์มูลนิธิโครงการหลวง
แก้- เพื่อช่วยชาวไทยภูเขาในด้าน ต่างๆ จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า
เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้นมีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง จุดประสงค์อย่างหนึ่งคือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถมีความรู้พยุงตัวให้มีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่า ควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่นและค้าฝิ่นได้ผลดี อันเป็นผลอย่างหนึ่ง
อีกอย่างคือชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราสู่หายนะได้ ที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี อยู่ดีกินดีและปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ ถ้าสามารถทำโครงการนี้สำเร็จให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง และสนับสนุนนโยบายจะรักษาป่า รักษาป่าให้เป็นประโยชน์ต่อไปและยั่งยืนมาก
สถานีวิจัยโครงการหลวง
แก้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "The Royal Project Foundation" เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Thailand Sustainable Development Foundation (2016), Retrieved 2017-10-15.
- ↑ "The Royal Project Foundation's Purposes", Retrieved 2017-10-15.
- ↑ "Vegetable Supply Chain Management: The Royal Project Foundation in Thailand", N. Jayamangkala, Retrieved 2017-10-15.
- ↑ "The Ramon Magsaysay Award Foundation" เก็บถาวร 2023-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved 2017-11-13.
- ↑ พระราชโองการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๘๑ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์มูลนิธิโครงการหลวง เก็บถาวร 2019-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ผลผลิตมูลนิธิโครงการหลวง
- โครงการหลวง เก็บถาวร 2006-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน